โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร

ดัชนี พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร

ทัศนียภาพของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟอึงโกรองโกโร พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร (Ngorongoro Conservation Area) คือพื้นที่แถบหนึ่งในประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา มีสภาพเป็นปล่องภูเขาไฟ จัดเป็นปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ ๆ ด้านก้นปล่องกว้าง 260 ตารางกิโลเมตร จากขอบปล่องถึงก้นปล่องลึก 610 เมตร เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่บริเวณพื้นราบก้นปล่องประมาณ 25,000 ตัว รวมทั้งสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง สิงโต, แรด, ควายป่า, เสือดาว รวมถึงมีทะเลสาบน้ำเค็มบริเวณก้นปล่องที่เป็นแหล่งรวมตัวของนกฟลามิงโกฝูงใหญ่รวมถึงนกน้ำชนิดอื่น ๆ แต่ไม่ปรากฎพบสัตว์กินพืชอย่างอิมพาลา, โทปิ หรือยีราฟ ในส่วนของชนพื้นเมืองมีชาวมาไซอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อปี..

7 ความสัมพันธ์: มาซายทวีปแอฟริกาทะเลสาบน้ำเค็มประเทศแทนซาเนียนกฟลามิงโกแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

มาซาย

มาไซ มาไซ (Maasai) เป็นชาติพันธุ์กึ่งเร่ร่อนมีประชากรประมาณ 800,000 คน อาศัยอยู่ใน ประเทศเคนยา และ แทนซาเนีย ชนเผ่ามาซายเลี้ยงฝูงสัตว์ตามทุ่งหญ้ารอบตีนเขาคิลิมันจาโรมาช้านาน ประมาณ 300 ปี เชื่อว่าชนเผ่ามาซายอพยพจากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนเหนือลงมาทางใต้ตามหุบเขาทรุด เกรตริฟต์แวลลีย์ อาหารหลักของชนเผ่ามาซายคือ นมวัว และ นมคน คนเผ่านี้ฆ่าสัตว์กินในโอกาสที่มีงานฉลอง พิธีฉลองส่วนใหญ่จัดขึ้นเมื่อผู้ชายรุ่นหนึ่งได้เลื่อนฐานะในสังคม ในช่วงเวลาอื่นถือว่าวัวควายมีค่าเกินกว่าจะกินเป็นอาหาร วัวยังใช้เป็นสินสอดแก่ฝ่ายหญิงตามประเพณีอีกด้วย ชนเผ่ามาซายไม่มีบ้านถาวรแต่จะอยู่ในกระท่อมโครงไม้พอกด้วยโคลนและขึ้วัว ล้อมรั้วด้วยไม้พุ่มมีหนาม ทุกสามสี่ปีเมื่อทุ่งหญ้าโกร๋นเกรียนและรั้วหมดสภาพแล้ว ทั้งเผ่าก็จะออกเร่ร่อนต่อไป.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและมาซาย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบน้ำเค็ม

ทะเลสาบน้ำเค็ม (Salt lake)เป็นตัวที่ใช้แยกน้ำเค็มบริเวณตื้น หรือพวกน้ำกร่อย ออกจากพวกทะเลจริงๆ แยกโดยมีแนวหาดทรายกั้น หรือสันดอนทราย หรือ แนวปะการัง เป็นต้น ดังนั้นในส่วนที่โดนโอบล้อมไปด้วยแนวเหล่านี้ หรือที่โดนโอบล้อมด้วยเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง(atoll reef) เรียกว่า ทะเลสาบน้ำเค็ม ในส่วนที่กล่าวถึงเรื่องปะการังนั้น ทะเลสาบน้ำเค็ม (lagoon) นั้น อาจกล่าวได้อีกว่าเป็นแนวหลังปะการัง (backreef) ซึ่งจะเป็นคำที่นักวิทยาศาตร์ด้านปะการัง หมายถึงว่าเป็นบริเวณเดียวกัน ทะเลสาบน้ำเค็ม หมายถึงชายฝั่งทะเลสาบ ซึ่งได้มาจากการเกิดของพวกสันดอนทราย หรือแนวปะการังตามแนวชายฝั่ง บริเวณน้ำตื้น และทะเลสาบน้ำเค็มในเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง (atoll reef) นั้นเกิดจากการโตของปะการัง และบริเวณตรงกลางค่อยๆจมลงอย่างช้าๆ บริเวณที่มีทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำจืดไหลมาเติมอยู่เรื่อยๆ เรียกว่า ชะวากทะเล (Estuaries).

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและทะเลสาบน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นกฟลามิงโก

นกฟลามิงโกในสวนสัตว์พาต้า นกฟลามิงโก (Flamingo; ออกเสียง; 붉은 황새; นกกระสาแดง) เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Phoenicopteridae และอันดับ Phoenicopteriformes มี 4 ชนิดในทวีปอเมริกา และ 2 ชนิดในโลกเก่า นกฟลามิงโก เป็นนกที่มีซากฟอสซิลสามารถนับย้อนไปไกลได้กว่า 30 ล้านปีก่อน นกฟลามิงโกอาศัยอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสถานที่ ๆ พบนกฟลามิงโกได้มากที่สุดในโลก คือ ทะเลสาบนากูรู ในอุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู ทางตอนเหนือของประเทศเคนยา ซึ่งมีจำนวนประชากรนกฟลามิงโกมากได้ถึง 1,500,000 ตัว นกฟลามิงโกเป็นนกที่บินได้เป็นระยะทางที่ไกล และมักบินในเวลากลางคืน ด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และหากมีความจำเป็นต้องบินในเวลากลางวันก็จะบินในระดับสูงเพื่อหลบเลี่ยงสัตว์นักล่า ส่วนในทวีปเอเชียสามารถพบได้ที่ทุ่งหญ้าสเตปป์แถบตอนเหนือของคาซัคสถานในภูมิภาคเอเชียกลางเท่านั้น โดยผสมพันธุ์กันในฤดูใบไม้ผลิ ก่อนอพยพไปที่อื่น นกฟลามิงโก ได้ชื่อว่าเป็นนกที่ไม่มีประสาทรับกลิ่น และเป็นนกที่ส่งเสียงดังตลอดเวลา ซึ่งลูกนกแม้แต่อยู่ในไข่ก็ยังส่งเสียงร้องแล้ว ซึ่งพ่อแม่นกจะจดจำลูกของตัวเองได้จากเสียงร้องอันนี้ นอกจากนี้แล้ว นกฟลามิงโกยังเป็นนกที่ได้ชื่อว่าเป็นนกที่มีขนสีชมพู จนได้รับชื่อว่า "นกฟลามิงโกสีชมพู" ซึ่งขนของนกฟลามิงโกนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดตั้งแต่สีชมพูซีดจนถึงสีแดงเลือดหมูหรือแดงเข้ม ทั้งนี้เป็นเพราะการกินอาหารที่ได้รับสารอาหารจากกุ้งและเห็ดรามีสารประเภทอัลฟาและเบตาแคโรทีน แต่โดยมากแล้วนกที่เลี้ยงตามสวนสัตว์ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเพราะขาดสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งหากให้ในสิ่งที่ทดแทนกันได้เช่น แครอท หรือบีทรูท สีขนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม อีกทั้งยังเป็นนกที่มีพฤติกรรมยืนด้วยขาเดียวอยู่นิ่ง ๆ แช่น้ำได้เป็นเวลานานมากถึง 4 ชั่วโมง นั่นเพราะขาของนกจะได้รับจะได้รับเลือดสูบฉีดต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้มากเท่า ๆ กับที่กล้ามเนื้อหลักได้รับ ซึ่งเลือดจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย การที่นกฟลามิงโกมีขายาวมาก ก็ยิ่งทำให้มีพื้นที่สูญเสียความอบอุ่น อีกทั้งขาข้างที่ไม่ถูกแช่น้ำก็จะไม่เหี่ยวแห้งอีกด้ว.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและนกฟลามิงโก · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดถ่ายจากดาวเทียม แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (Caldera) เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อยๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อยๆ หรือใหญ่ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างภูมิประเทศแบบนี้เห็นได้ชัดที่ หมู่เกาะกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟตาอาล ใกล้เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และที่ภูเขาไฟวิสุเวียส ในประเทศอิตาลี ในประเทศไทยนั้น มีตัวอย่างที่เข้าใจว่าเป็นแอ่งภูเขาไฟเล็กๆ แบบนี้ที่เขาหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย อันเป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด · ดูเพิ่มเติม »

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

รงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด ผ่านสถาบันและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อนำไปสู่ความมีสุขภาพชีวิตที่ดี ด้วยการไม่ผลักภาระด้านสิ่งแวดล้อมให้อนุชนรุ่นหลังต้องเผชิญเคราะห์กรรมที่บรรพชนใดก่อเอาไว้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือตั้งใจทำลายสภาพแวดล้อมให้เสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวล.

ใหม่!!: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NgorongoroNgorongoro Conservation AreaNgorongoro Craterพื้นที่อนุรักษ์โงรองโกโรพื้นที่อนุรักษ์โงรงโงโรปล่องภูเขาไฟโงรงโกโรโงรงโงโร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »