เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พันธุ์ป่า

ดัชนี พันธุ์ป่า

ันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: รูปแบบพันธุกรรมรูปแบบปรากฏสิ่งมีชีวิตตัวแบบสปีชีส์อัลลีลแมลงวันทองโลคัส (พันธุศาสตร์)

  2. พันธุศาสตร์คลาสสิก

รูปแบบพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม (genotype.) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ he:גן (ביולוגיה)#מושגים בסיסיים.

ดู พันธุ์ป่าและรูปแบบพันธุกรรม

รูปแบบปรากฏ

patterning in their phenotypes. Here the relation between genotype and phenotype is illustrated, using a Punnett square, for the character of petal color in pea plants. The letters B and b represent genes for color, and the pictures show the resultant flowers. ลักษณะปรากฏ หรือ รูปแบบปรากฏ (phenotype) (φαίνω แปลว่า "เปิดเผย, แสดงออก"; τύπος แปลว่า "รูปแบบ") หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นได้หรือตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องตรวจลงไปถึงระดับพันธุกรรม ลักษณะเหล่านี้ เช่น รูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา คุณสมบัติทางชีวเคมี พฤติกรรม หรือผลที่เกิดจากพฤติกรรม (เช่น รูปร่างใยแมงมุม) ลักษณะปรากฏเหล่านี้เป็นผลจากการแสดงออกของพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า ลักษณะพันธุกรรม (genotype) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีผลจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน.

ดู พันธุ์ป่าและรูปแบบปรากฏ

สิ่งมีชีวิตตัวแบบ

''Escherichia coli'' เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบที่เป็นโพรแคริโอตและแบคทีเรียแกรมลบ แมลงวันทองเป็นสัตว์ทดลองที่ใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ''Saccharomyces cerevisiae'' เป็นโพรแคริโอตตัวแบบที่ใช้ศึกษามากที่สุดในอณูชีววิทยาและชีววิทยาของเซลล์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตแบบจำลอง (model organism) เป็นสปีชีส์สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่ใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ทางชีววิทยาต่าง ๆ โดยคาดหวังว่า สิ่งที่ค้นพบในแบบจำลองจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตแบบจำลองจะเป็นแบบยังมีชีวิตอยู่ และได้ใช้อย่างกว้างขวางในงานวิจัยโรคมนุษย์ที่การทดลองในมนุษย์เป็นไปไม่ได้หรือไม่ถูกจริยธรรม กลยุทธ์นี่ใช้ได้ก็เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหมดสืบเชื้อสายร่วมกันจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยได้อนุรักษ์วิถีเมแทบอลิซึม วิถีพัฒนาการ และกระบวนการอื่น ๆ ทางพันธุกรรมตลอดวิวัฒนาการ แม้การศึกษาสิ่งมีชีวิตตัวแบบจะให้ข้อมูลที่ดี แต่ก็ต้องระวังเมื่อประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในการวิจัยโรคมนุษย์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบจะทำให้เข้าใจกระบวนการของโรคดีขึ้นโดยไม่ต้องเสี่ยงทำอันตรายแก่มนุษย์ สปีชีส์ที่เลือกปกติจะผ่านเกณฑ์ความสมมูลทางอนุกรมวิธาน (taxonomic equivalency) บางอย่างกับมนุษย์ คือสัตว์จะมีปฏิกิริยาทางสรีรภาพต่อโรคหรือต่อการรักษา ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับของมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการทางชีววิทยาที่พบในสัตว์ตัวแบบจะเป็นอย่างเดียวกันในมนุษย์ แต่วิธีการรักษาและยาจำนวนมากที่ใช้ในโรคมนุษย์ ก็ได้พัฒนาอาศัยแนวคิดที่ได้จากสัตว์ตัวแบบเป็นบางส่วน มีแบบจำลองโรค 3 ประเภทหลัก ๆ คือ homologous (กำเนิดเดียวกัน), isomorphic (สมสัณฐาน) และ predictive (พยากรณ์) สัตว์จำลองแบบกำเนิดเดียวกันจะมีเหตุโรค อาการ และการรักษาเหมือนกับของมนุษย์ที่มีโรค สัตว์จำลองแบบสมสัณฐานจะมีอาการและการรักษาเหมือนกัน สัตว์จำลองแบบพยากรณ์จะมีสภาพเพียงแค่บางอย่างที่คล้ายกับมนุษย์ผู้มีโรค แต่ก็มีประโยชน์ในการคาดหมายกลไกต่าง ๆ เกี่ยวกับโร.

ดู พันธุ์ป่าและสิ่งมีชีวิตตัวแบบ

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู พันธุ์ป่าและสปีชีส์

อัลลีล

อัลลีล (allele) คือรูปแบบหนึ่ง ๆ จากหลาย ๆ รูปแบบของยีนหนึ่ง ๆ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดลักษณะแสดงออก เช่น สีตา สีผม ที่แตกต่างกันได้ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจไม่ได้ทำให้มีลักษณะแสดงออกที่แตกต่างกันก็ได้ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ส่วนใหญ่มีโครโมโซมสองชุด เรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์ โครโมโซมเหล่านี้เรียกว่าเป็นโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน สิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์จะมียีนหนึ่ง ๆ หนึ่งยีน (และหมายถึงอัลลีลหนึ่ง ๆ หนึ่งอัลลีล) บนโครโมโซมแต่ละอัน หากทั้งสองอัลลีลเป็นอัลลีลที่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นอัลลีลที่เป็นโฮโมไซกัส ถ้าไม่เหมือนกันเรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกั.

ดู พันธุ์ป่าและอัลลีล

แมลงวันทอง

แมลงวันทอง หรือ แมลงหวี่ เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น ชมพู่ มะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา น้อยหน่า ลำตัวสีน้ำผึ้งใส ดวงตาสีแดง มีลักษณะคล้ายแมลงวันทั่วไป.

ดู พันธุ์ป่าและแมลงวันทอง

โลคัส (พันธุศาสตร์)

ในทางพันธุศาสตร์และการประมวลผลทางวิวัฒนาการ โลคัส (locus, loci) หมายถึงตำแหน่งหนึ่งๆ บนยีนหรือลำดับดีเอ็นเอซึ่งอยู่บนโครโมโซม ลำดับดีเอ็นเอบนโลคัสหนึ่งๆ อาจมีได้หลายแบบแต่ละแบบเรียกว่าอัลลีล รายการลำดับทั้งหมดของโลคัสบนจีโนมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นที่รู้ เรียกว่าแผนที่พันธุกรรม (genetic map), กระบวนการทำแผนที่ยีน (gene mapping) คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆ หมวดหมู่:โครโมโซม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ดู พันธุ์ป่าและโลคัส (พันธุศาสตร์)

ดูเพิ่มเติม

พันธุศาสตร์คลาสสิก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Wild type