เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พันธุ์ป่า

ดัชนี พันธุ์ป่า

ันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน.

สารบัญ

  1. 41 ความสัมพันธ์: พันธุศาสตร์กระต่ายกระต่ายยุโรปการผลิตยาปฏิชีวนะวงศ์กระต่ายหมาป่าดิงโกหมูป่าหมีกริซลีหมีขาวอูฐสองหนอกป่าจามรีงูหลามบอลปลากระดี่หม้อปลากระดี่แคระปลากัดปลาสร้อยน้ำผึ้งปลาสวยงามปลาสอดหางดาบเขียวปลาหมอเซวารุ่มปลาหางนกยูงปลาออสการ์ (สกุล)ปลาอัลลิเกเตอร์ปลาทองปลาทิลาเพียปลาดุกด้านปลาปอมปาดัวร์ปลาปอมปาดัวร์น้ำตาลปลาปอมปาดัวร์เฮคเคลปลานิลปลาแรดปลาไนปลาเอนด์เลอร์ปลาเทวดาปลาเทวดาสกาแลร์นกหงส์หยกนกคอกคาทีลแฮมสเตอร์จีนแฮมสเตอร์โรโบรอฟสกีไก่ป่าเป็ดเป็ดแมลลาร์ด

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ดู พันธุ์ป่าและพันธุศาสตร์

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ดู พันธุ์ป่าและกระต่าย

กระต่ายยุโรป

กระต่ายยุโรป หรือ กระต่ายบ้าน (European rabbit, Common rabbit; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus) เป็นกระต่ายพื้นเมืองของแถบยุโรป (สเปน และ โปรตุเกส) และตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา (โมรอคโค และ แอลจีเรีย) เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Oryctolagus แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 6 ชนิด (ดูในตาราง).

ดู พันธุ์ป่าและกระต่ายยุโรป

การผลิตยาปฏิชีวนะ

การผลิตยาปฏิชีวนะ (production of antibiotics) เป็นเรื่องที่ทำอย่างแพร่หลาย เริ่มตั้งแต่มีการค้นพบเบื้องต้นโดย ดร.

ดู พันธุ์ป่าและการผลิตยาปฏิชีวนะ

วงศ์กระต่าย

วงศ์กระต่าย (Hare, Rabbit) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้แม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac,C\tfrac,P\tfrac,M\tfrac) X 2.

ดู พันธุ์ป่าและวงศ์กระต่าย

หมาป่าดิงโก

หมาป่าดิงโก (อังกฤษ: Dingo) สุนัขป่าชนิดหนึ่ง พบได้เฉพาะที่ออสเตรเลียเท่านั้น หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสุนัขบ้านมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของหมาป่าดิงโก สืบเชื้อสายมาจากสุนัขบ้านจากเอเชียอาคเนย์ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) โดยเข้ามาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อราว 3,000-4,000 ปีก่อน หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์สุนัข (Canidae) ที่พบในออสเตรเลีย แผนที่แสดงความเป็นไปได้ในการอพยพของหมาป่าดิงโก หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าขนสั้น หางเป็นพวง สีขนมีหลากหลายมาก ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ในบางตัวอาจมีสีเทาหรือแดง แม้กระทั่งขาวล้วนหรือดำล้วนก็มี มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีนิสัยดุร้ายและปราดเปรียวมาก แม้พื้นที่ ๆ อาศัยอยู่จะเป็นทะเลทรายหรือที่ราบกว้างใหญ่ แต่หมาป่าดิงโกก็สามารถป่ายปีนก้อนหินหรือหน้าผาได้อย่างคล่องแคล่ว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ สูงประมาณ 52-60 เซนติเมตร ความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกจรดหาง 117-124 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 13-24 กิโลกรัม หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์อันตรายชนิดหนึ่งในออสเตรเลีย โดยจะโจมตีใส่สัตว์เลี้ยงของมนุษย์เช่น แกะ หรือ ม้า ได้ แม้กระทั่งโจมตีใส่มนุษย์และทำร้ายจนถึงแก่ความตายได้ด้วย หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขที่ไม่เชื่อง ดังนั้น จึงตกเป็นสัตว์ที่ถูกล่าในศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน หมาป่าดิงโก มีสถานะที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ ในทางตอนใต้และตะวันออกของออสเตรเลีย มีการแบ่งเขตเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หมาป่าดิงโก เพื่อไม่ให้หมาป่าดิงโกเข้ามาปะปนกับมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่น โดยกั้นเป็นรั้วยาวกว่าครึ่งของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจัดเป็นแนวรั้วที่ยาวที่สุดในโลก ในปี ค.ศ.

ดู พันธุ์ป่าและหมาป่าดิงโก

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ดู พันธุ์ป่าและหมูป่า

หมีกริซลี

หมีกริซลี (grizzly bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นชนิดย่อยของหมีสีน้ำตาล (U.

ดู พันธุ์ป่าและหมีกริซลี

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ดู พันธุ์ป่าและหมีขาว

อูฐสองหนอกป่า

อูฐสองหนอกป่า หรือ อูฐแบคเตรียป่า (Wild bactrian camel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงกับอูฐสองหนอก (C.

ดู พันธุ์ป่าและอูฐสองหนอกป่า

จามรี

มรี (Yak, Grunting ox; як; 犛牛; พินอิน: Máoniú; มองโกล: Сарлаг; ฮินดี: याक) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์วัวและควาย (Bovidae).

ดู พันธุ์ป่าและจามรี

งูหลามบอล

งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (Ball python) เป็นงูในวงศ์งูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python regius โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ดู พันธุ์ป่าและงูหลามบอล

ปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T.

ดู พันธุ์ป่าและปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่แคระ

ปลากระดี่แคระ (Dwarf gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในสกุล Trichogaster อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย มีรูปร่างแบนข้างมาก ตามลำตัวมีแถบสีเขียวหรือสีน้ำเงินอ่อนสลับกับสีแดงทั่วไปตามครีบต่าง ๆ ด้วย และอาจมีสีสันที่หลากหลายกว่านี้ โดยในบางตัวอาจจะไม่มีลวดลายเลยก็ได้ ตัวผู้มีความแตกต่างจากตัวเมียอย่างชัดเจน กล่าวคือ มีสีที่สดสวยกว่ามาก มีขนาดความยาวตำตัวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีอุปนิสัยไม่ก้าวร้าวเท่าปลากระดี่ในสกุล Trichopodus ชอบอยู่กันเป็นฝูงตามแหล่งน้ำที่พืชไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ตามกอพืช แต่เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอด และเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว ตัวผู้จะดุร้ายกับตัวเมียทันที และอาจทำร้ายตัวเมียจนตายได้ และเมื่อหลังวางไข่เสร็จแล้วตัวเมียมักจะตาย มีอายุเต็มที่ประมาณ 4 ปี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งได้มีการเพาะขยายพันธุ์ออกมาเป็นสีสันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในปลาตัวที่สีสีแดงทั้งตัวหรือสีส้ม มักจะเรียกว่า "กระดี่นีออน".

ดู พันธุ์ป่าและปลากระดี่แคระ

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ดู พันธุ์ป่าและปลากัด

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Chinese algae eater, Honey sucker, Sucking loach) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ในวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก มีสีพื้นลำตัวสีน้ำตาลเขียวมีลายแถบสีคล้ำพาดยาวตามลำตัวและมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่ว ตัวผู้เมื่อเจริญวัยขึ้นจะมีปุ่มคล้ายเม็ดสิวขึ้นตามหน้าและริมฝีปากบน มีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก ๆ อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่ว ๆ ไป หากินอยู่ตามท้องน้ำ พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งแหล่งน้ำหลากและที่ราบลุ่ม ขนาดความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กินอาหารจำพวกตะไคร่น้ำ, ซากพืช, ซากสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป พบตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคและพบไปจนถึงมาเลเซีย ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ในอดีตขึ้นชื่อมากในแง่ของการนำไปทำเป็นน้ำปลาที่มีรสชาติดี เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดราชบุรีในชื่อ "น้ำปลาปลาสร้อยน้ำผึ้ง" และใช้เนื้อบริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้ เพื่อใช้ทำความสะอาดตู้ด้วยการกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำ ปัจจุบัน นิยมเพาะพันธุ์เป็นปลาเผือกหรือปลาที่มีร่างกายสั้นกว่าปกติอีกด้วย รวมถึงยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินได้อีกด้วย ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า "ปลาน้ำผึ้ง" หรือ "ปลาผึ้ง" หรือ "ปลาลูกผึ้ง" หรือ "ปลามูด", "ปลาอีดูด", "ปลายาลู่" หรือ "ปลาปากใต้".

ดู พันธุ์ป่าและปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ดู พันธุ์ป่าและปลาสวยงาม

ปลาสอดหางดาบเขียว

ปลาสอดหางดาบเขียว (Swordtail fish, Green swordtail) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) มีลำตัวยาวเรียว และหัวแหลม มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับปลาวงศ์นี้ คือ มีความแตกต่างระหว่างเพศสูง ตัวผู้มีขนาดเล็กและผอมเพรียวกว่าตัวเมีย แต่มีครีบและสีสันต่าง ๆ สวยงามกว่า มีลักษณะที่เด่น คือ ในตัวผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลยขอบหาง มีลักษณะเรียวแหลมคล้ายดาบ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่เป็นชื่อชนิดถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่นักพฤกษศาสตร์ เวียนเนียส เฮลเลอร์ มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุมหนาแน่น ในสภาพแหล่งน้ำที่หลากหลาย ในเม็กซิโก, เบลิซ และฮอนดูรัส กินอาหารจำพวกพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงตัวอ่อนของแมลง มีความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร และส่วนปลายหางที่คล้ายดาบมีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร ทำให้ตัวผู้มีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ขณะที่ตัวเมียมีความยาวประมาณ 16 เซนติเมตร แต่บางตัวอาจมีความยาวแค่ 5-6 เซนติเมตร บวกความยาวของดาบประมาณ 3 เซนติเมตร ทำให้มีบางตัวยาว 8-10 เซนติเมตร ขณะที่สีตามลำตัวมีความหลากหลายมากตามสภาพของแหล่งที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวและมีแถบตรงกลางลำตัวสีแดงเข้มหรือสีน้ำตาลพาดตามลำตัว และบางทีอาจพบแถบสีเพิ่มอีก 4 แถบ เป็นด้านบน 2 แถบ และด้านล่างแถบกลางลำตัวอีก 2 แถบ ช่วงท้องจะมีสีขาว และที่ครีบหลังจะมีจุดแดง ตัวผู้ที่ขอบครีบหางตอนล่างมีลักษณะคล้ายดาบจะมีสีเหลืองและดำ บางครั้งอาจพบจุดสีดำบนลำตัว เป็นต้น เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์จนกลายเป็นสีแดงสดทั้งลำตัว จึงได้ชื่อเรียกชื่อหนึ่งว่า "ปลาสอดแดง".

ดู พันธุ์ป่าและปลาสอดหางดาบเขียว

ปลาหมอเซวารุ่ม

ปลาหมอเซวารุ่ม หรือ ปลาหมอเซวาลุ่ม (Severum, Banded cichlid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heros severus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างป้อมแบนข้างข้างปานกลาง หน้าผากมีความลาดชั้นมาก ปากอยู่ด้านล่าง มีริมฝีปากที่หนา ปลายครีบหลังและครีบก้นยาวแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเขียวมีสีส้มปน บริเวณใบหน้ามีลายประสีแดงกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวมีสีดำพาดตามขวางประมาณ 6-8 แถบ ซึ่งลายนี้จะจางลงเมื่อปลาโตขึ้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำอเมซอน ในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา โดยจะพบได้ในแหล่งน้ำที่มีความหลากหลายของสภาพ ทั้งน้ำใส น้ำขุ่น หรือน้ำที่มีสีเหมือนสีกาแฟ โดยทั่วไปปลาที่มีขนาดเล็กจะพบมากในบริเวณแหล่งน้ำที่ไหลช้า และมีพื้นเป็นกรวดทราย หรือทรายปนโคลน ส่วนปลาที่โตเต็มวัยจะพบในบริเวณที่น้ำไหลแรงและมีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น อุณหภูมิของน้ำประมาณ 23-29 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) 5.0-6.5 เป็นปลาที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งแมลง ปลาหมอเซลารุ่ม เป็นปลาที่นิยมเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามมาอย่างยาวนานแล้ว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นปลาที่มีนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ อีกทั้งสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้ปลาด้วย ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้มีสีสันที่หลากหลายไปจากปลาสายพันธุ์เดิมในธรรมชาติมาก เช่น สีทองหรือสีแดง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-peba.

ดู พันธุ์ป่าและปลาหมอเซวารุ่ม

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae).

ดู พันธุ์ป่าและปลาหางนกยูง

ปลาออสการ์ (สกุล)

ปลาออสการ์ เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ในวงศ์ย่อยปลาออสการ์ (Astronotinae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Astronotus (/แอส-โตร-โน-ตัส/) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า astra.

ดู พันธุ์ป่าและปลาออสการ์ (สกุล)

ปลาอัลลิเกเตอร์

ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้ (Alligator gar; ชื่อวิทยาศาสตร์: Atractosteus spatula) เป็นปลากินเนื้อน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์ มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนปากยาวคล้ายกับจระเข้หรืออัลลิเกเตอร์ รูปร่างกลมยาว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลา มีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาว บริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก 2 ครีบ ซึ่งโคนหางด้านบนมีขนาดใหญ่กว่าโคนหางด้านล่างอย่างเห็นได้ชัดเจน ครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด เป็นปลาที่กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ เช่น แม่น้ำ หรือทะเลสาบ ของสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้ เช่น รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนา ปลาอัลลิเกเตอร์มีปากเรียวยาวเหมือนอัลลิเกเตอร์ ที่ภายในมีฟันที่แหลมคม 2 แถว ประมาณ 500 ซี่ ใช้สำหรับงับเหยื่อก่อนที่จะกลืนลงไป เกล็ดของปลาอัลลิเกเตอร์มีความหนาและแข็ง ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมือนเพชร มีสารเหมือนกับสารเคลือบฟันเคลือบอยู่ มีความคมเมื่อถูจะถูกบาดทำให้เกิดบาดแผลได้ อินเดียนแดง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของอเมริกาใช้เกล็ดของปลาอัลลิเกเตอร์ทำเป็นหัวลูกศร ปลาอัลลิเกเตอร์สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำ มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ เช่น น้ำที่ขุ่นข้นสภาพพื้นน้ำเป็นโคลน เนื่องจากมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอดช่วยในการหายใจ ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำได้ ปลาอัลลิเกเตอร์ ถือกำเนิดขึ้นมานานกว่า 100 ล้านปีแล้ว ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่และเกล็ดที่แข็งแรงทำให้ปรับตัวและอยู่รอดได้มาจนถึงปัจจุบัน ปลาอัลลิเกเตอร์มีความยาวโดยเฉลี่ยได้ถึง 6–7 ฟุต น้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์ มีอายุขัยได้มากถึง 60 ปี ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ก็มีคำกล่าวอ้างจากนักตกปลาพื้นถิ่นว่าเคยพบเห็นตัวที่ยาวถึง 14 ฟุต ในปี..

ดู พันธุ์ป่าและปลาอัลลิเกเตอร์

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ดู พันธุ์ป่าและปลาทอง

ปลาทิลาเพีย

ปลาทิลาเพีย (Tilapia) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดจำนวนมากนับร้อยชนิด จำพวกปลาหมอสี ในเผ่าปลาทิลาเพีย (โดยสกุลที่สำคัญ ได้แก่ Oreochromis, Sarotherodon และ Tilapia) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริกา โดยเป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เช่น หนอง, บึง, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, เขื่อนกักเก็บน้ำต่าง ๆ มีประโยชน์เป็นปลาเศรษฐกิจสำหรับการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน ปลาทิลาเพียปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณด้วยเป็นตัวอักษรไฮเออโรกลีฟ K1 ตามบัญชีสัญลักษณ์ของการ์ดิเนอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ คำว่า Tilapia เป็นรูปภาษาละตินของคำว่า thiape ในภาษาสวานา แปลว่า "ปลา" และกลายมาเป็นชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นในปี..

ดู พันธุ์ป่าและปลาทิลาเพีย

ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, คาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และพม่า ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือกหรือสีที่แปลกไปจากปกติ ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้น.

ดู พันธุ์ป่าและปลาดุกด้าน

ปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour, Discus) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Symphysodon (/ซิม-ฟี-โซ-ดอน/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาวงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกที่หลากหลายมากกว่า 1,000 ชน.

ดู พันธุ์ป่าและปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์น้ำตาล

ปลาปอมปาดัวร์น้ำตาล หรือ ปลาปอมปาดัวร์น้ำเงิน (Brown discus, Blue discus; หรือ Symphysodon aequifasciata haraldi) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาปอมปาดัวร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในข้อมูลบางแหล่งจัดให้เป็นชนิดย่อยของปลาปอมปาดัวร์เขียว (S.

ดู พันธุ์ป่าและปลาปอมปาดัวร์น้ำตาล

ปลาปอมปาดัวร์เฮคเคล

ปลาปอมปาดัวร์เฮคเคล (Heckel discus, Red discus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาปอมปาดัวร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างจากปลาปอมปาดัวร์ชนิดอื่น ๆ คือ กลางลำตัวมีแถบสีดำในแนวตั้งข้างลำตัว 9 แถบ โดยแถบที่ 5 บริเวณกลางลำตัวจะเป็นแถบหนาใหญ่เห็นชัดเจนที่สุด และแถบแรกที่พาดบริเวณดวงตาและแถบสุดท้าย คือ แถบที่ 9 บริเวณโคนหางจะมีสีดำเข้มเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ปลาปอมปาดัวร์เฮคเคล จะพบในแหล่งน้ำที่น้ำมีสีชา หรือที่เรียกว่า "Black Water" ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 3.8-4.8 ซึ่งนับว่ามีความเป็นกรดสูง และปลาปอมปาดัวร์เฮคเคลเมื่อเทียบกับปลาปอมปาดัวร์ชนิดอื่นอีก 2 ชนิดนั้นจะมีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปพฤติกรรมในธรรมชาติมักรวมกลุ่มเป็นฝูงขนาดใหญ่เฉพาะปลาปอมปาดัวร์เฮคเคลด้วยกัน นอกจากนี้แล้วในวงการปลาสวยงาม ปลาปอมปาดัวร์เฮคเคลยังสามารถแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่งตามสีสรร และแหล่งน้ำที่พบ ได้แก.

ดู พันธุ์ป่าและปลาปอมปาดัวร์เฮคเคล

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ดู พันธุ์ป่าและปลานิล

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ดู พันธุ์ป่าและปลาแรด

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ดู พันธุ์ป่าและปลาไน

ปลาเอนด์เลอร์

ปลาเอนด์เลอร์ หรือ ปลาหางนกยูงเอนด์เลอร์ ที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหางนกยูงป่า (Endler's guppy, Endler's livebearer) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับปลาหางนกยูง (P.

ดู พันธุ์ป่าและปลาเอนด์เลอร์

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา (Angelfish) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum (/เทอ-โร-ฟิล-ลั่ม/; เป็นภาษาละตินแปลว่า "ครีบใบไม้" ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่างลำตัวที่คม) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างหลากหล.

ดู พันธุ์ป่าและปลาเทวดา

ปลาเทวดาสกาแลร์

ปลาเทวดาสกาแลร์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาเทวดา (Angelfish, Freshwater angelfish, Lesser angelfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาเทวดาชนิดที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาเทวดาทั้งหมดที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาเทวดาสกาแลร์มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว ปลาที่พบในบางแหล่งจะมีจุดสีแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่ บริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก เมื่อต้องแสงไฟหรือแสงแดดจะเห็นประกายสีน้ำตาลแดงแวววาว มีโครงสร้างลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนข้างมากโดยส่วนยาวจากปลายปากถึงโคนหางจะยาวกว่าแนวตั้งของลำตัวเล็กน้อย แถวเกล็ดจากขอบเหงือกลากยาวไปจรดครีบหางมีทั้งสิ้น 33-38 เกล็ด ลายบนตัวจะเป็นเส้นคาดแนวตั้งใหญ่จำนวนสี่เส้นเห็นได้ชัดเจน และจะมีเส้นเล็ก ๆ ที่สั้นและจางกว่าคั่นแต่ละเส้นใหญ่นั้นอีกรวม 3 เส้น เส้นทุกเส้นจะเป็นสีดำหรือเทาแก่ เส้นที่ดำและเข้มสุดจะเป็นเส้นคาดเอว (เส้นที่ 5) ที่ลากจากยอดครีบบนลงมาจรดปลายครีบล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 นิ้ว พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูง ตามแหล่งน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ อาทิ แม่น้ำอเมซอน, แม่น้ำโอริโนโค โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตั้งแต่ 6.0-7.5 ซึ่งน้ำจะมีสภาพความเป็นกรดเล็กน้อย ปลาเทวดาสกาแลร์ นับเป็นปลาเทวดาชนิดที่เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายที่สุด ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ไปต่าง ๆ จนมีสีสันและลวดลายผิดแผกไปจากปลาดั้งเดิมในธรรมชาติมากมาย อาท.

ดู พันธุ์ป่าและปลาเทวดาสกาแลร์

นกหงส์หยก

นกหงส์หยก เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บัดจี" (budgie) หรือ "แพระคีต" (parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Melopsittacus โดยทั่วไปแล้วสีตามธรรมชาติ นกหงส์หยกมักมีขนสีเขียว, ฟ้า, เหลือง และขาว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายออกไปจากสีดั้งเดิมตามธรรมชาติในฐานะของการเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะ อาทิ "โอแพล์ลิน", "อัลบิโนส์" และ"ลูติโนส์".

ดู พันธุ์ป่าและนกหงส์หยก

นกคอกคาทีล

นกคอกคาทีล (Cockatiel) นกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Nymphicus และนับเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีเทา ๆ ปีกจะเป็นแถบสีขาว หัวเป็นสีเหลืองอ่อน มีหงอนยาวสูงขึ้นมาที่แก้ม มีหย่อมสีส้มเด่นชัดปากเป็นสีเทา ตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่หัวจะเป็นสีเหลืองอมเทา สีส้มที่แก้มไม่เด่นชัดนัก และหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่ มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศออสเตรเลีย มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเล มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ขณะบินจะเกิดเสียงจนสามารถได้ยิน กินอาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืชล้มลุก ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็ก นกคอกคาทีล ก็เหมือนนกปากขอหรือนกกระตั้วชนิดอื่นทั่วไป ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่านกที่มีอยู่ในธรรมชาติแท้.

ดู พันธุ์ป่าและนกคอกคาทีล

แฮมสเตอร์จีน

แฮมสเตอร์จีน (Chinese hamster; 中國倉鼠; พินอิน: Zhōngguó cāngshǔ) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง จำพวกแฮมสเตอร์ แฮมสเตอร์จีนเป็นแฮมสเตอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะแตกต่างจากแฮมสเตอร์ทั่วไป คือ รูปร่างลักษณะลำตัวยาวป้อม จมูกยาว หางยาวเล็กน้อยซึ่งจะคล้ายกับหนูมากกว่าแฮมสเตอร์ทั่วไป ลำตัวมีสีน้ำตาลและสีเทาขาว มีเส้นสีดำพาดอยู่กลางสันหลังตั้งแต่หน้าผาก จนถึงบั้นท้ายบริเวณโคนหาง ขนาดโตเต็มที่จะมีขนาดความยาว 7.5-9 เซนติเมตร กระจายพันธุ์อยู่ในทุ่งหญ้าและทะเลทรายของจีนทางตอนเหนือและมองโกเลียใน อาศัยอยู่ด้วยการขุดโพรงอยู่ในดิน ออกหากินในเวลากลางคืน มีอุปนิสัยค่อนข้างรักสันโดษ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวกว่าแฮมสเตอร์ทั่วไปจนถึงขั้นทำร้ายตัวเมียจนถึงตายเลยก็มี จัดเป็นแฮมสเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงและเป็นสัตว์ทดลอง โดยเริ่มเลี้ยงกันตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู พันธุ์ป่าและแฮมสเตอร์จีน

แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี

แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี หรือ แฮมสเตอร์ทะเลทราย (Roborovski hamster, Desert hamsters) สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกแฮมสเตอร์ นิยมเป็นสัตว์เลี้ยง มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า โรโบ (Robos) แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี จัดเป็นแฮมสเตอร์แคระชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Phodopus เป็นแฮมสเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่มีความยาวเพียง 2 นิ้วเท่านั้น มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ขนนุ่มสั้น สีขนออกไปทางสีทอง และสีน้ำตาล โดยจะไล่สีกันไประหว่างสีเข้มจนถึงจางลง เส้นหนวดยาว ตากลมโตสีดำ อาศัยอยู่ในธรรมชาติแถบทะเลทรายหรือที่แห้งแล้งที่จีน, มองโกเลีย, รัสเซีย โดยพบได้ในพื้นที่สูงถึง 1,200 เมตร (3,900 ฟุต)–1,450 เมตร (4,760 ฟุต) แม้จะไม่พบหลักฐานถึงการมีอยู่ของซากดึกดำบรรพ์ก็ตาม.

ดู พันธุ์ป่าและแฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ดู พันธุ์ป่าและไก่ป่า

เป็ด

ป็ด เป็นสัตว์ปีกในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐาน.

ดู พันธุ์ป่าและเป็ด

เป็ดแมลลาร์ด

ป็ดแมลลาร์ด หรือ เป็ดหัวเขียว (mallard, wild duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) เป็ดแมลลาร์ดมีลักษณะเหมือนเป็ดทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน กินทั้งได้พืชและสัตว์ มีความยาวเมื่อโตเต็มที่จากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ส่วนในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีผู้นำเข้าไปเผยแพร่จากประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ แต่ไม่พบรายงานการวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 50-60 ตัว ตามแหล่งน้ำทั่วไป และอาจจะรวมฝูงเข้ากับนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะว่ายน้ำพักผ่อนในแหล่งน้ำตื้น อาจกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เข้าไปด้วย มีนิสัยตื่นตกใจง่าย มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง สามารถบินขึ้นจากน้ำได้อย่างรวดเร็ว เป็ดแมลลาร์ด ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของเป็ดที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบันนี้ และมีบางส่วนเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ดู พันธุ์ป่าและเป็ดแมลลาร์ด

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Wild type