โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

ดัชนี พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

นธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ มักจะหมายถึง พันธมิตรทางการทหารระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองกับฝรั่งเศส ซึ่งมีผลอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1921 - ค.ศ. 1940.

31 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2338พ.ศ. 2464พ.ศ. 2468พ.ศ. 2482พ.ศ. 2483การบุกครองโปแลนด์การรุกซาร์ลันด์การทรยศโดยชาติตะวันตกฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองยุทธการที่เวียนนาวอร์ซอสหภาพโซเวียตสันนิบาตชาติสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2สงครามโปแลนด์–โซเวียตสนธิสัญญาโลคาร์โนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิเยอรมันประเทศฝรั่งเศสประเทศออสเตรียประเทศเชโกสโลวาเกียปรัสเซียปารีสนาซีเยอรมนี16 ตุลาคม19 พฤษภาคม19 กุมภาพันธ์21 กุมภาพันธ์4 กันยายน

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และพ.ศ. 2464 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และพ.ศ. 2468 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การรุกซาร์ลันด์

การรุกซาร์ลันด์ เป็นปฏิบัติการของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันด์ในพื้นที่ป้องกันของกองทัพที่ 1 ของเยอรมนี ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนโปแลนด์ ซึ่งกำลังถูกเยอรมนีบุกครอง อย่างไรก็ตาม การโจมตีของฝรั่งเศสหยุดลงและต้องถอนตัวออกไป ถึงแม้ว่าการรุกดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี มันได้กลายมาเป็นการโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสเพียงครั้งเดียวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตามข้อตกลงทางทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ กองทัพฝรั่งเศสจะต้องเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งใหญ่ภายในสามวันหลังจากมีการระดมพล กองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดครองดินแดนระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและแนวเยอรมัน ตลอดจนสามารถเจาะผ่านการป้องกันของเยอรมนีได้ เมื่อวันที่ 15 ของการระดมผล (16 กันยายน) กองทัพฝรั่งเศสได้ทำการโจมตตีเต็มกำลังต่อเยอรมนี การระดมพลของฝรั่งเศสมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม และได้มีการประกาศระดมพลเต็มกำลังเมื่อวันที่ 1 กันยายน การโจมตีของฝรั่งเศสในหุบเขาไรน์เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน สี่วันหลังจากการประกาศสงครามของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และทหารฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าทางกำลังพลอย่างมากตลอดแนวชายแดนกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสมิได้ดำเนินการใด ๆ ซึ่งสามารถช่วยเหลือโปแลนด์ได้เลย ทหารฝรั่งเศส 11 กองพลได้รุกคืบตามแนวรบยาว 32 กิโลเมตรใกล้กับซาร์บรืกเคินและเผชิญหน้ากับการต้านทานที่อ่อนแอของเยอรมนี กองทัพฝรั่งเศสโจมตีลึกเข้าไป 8 กิโลเมตรและยึดหมู่บ้านได้ราว 20 หมู่บ้านซึ่งกองทัพเยอรมันอพยพกลับไปโดยปราศจากการสู้รบ อย่างไรก็ตาม การโจมตีอย่างไม่เต็มใจนี้ถูกยับยั้งหลังจากฝรั่งเศสยึดป่าวาร์นดท์ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังทุ่นระเบิดอย่างหนาแน่นสามตารางกิโลเมตรของเยอรมนี การโจมตีมิได้เบี่ยงเบนความสนใจของกองทัพเยอรมันแต่อย่างใด การรุกรานเต็มกำลังดำเนินการโดยทหาร 40 กองพล รวมไปถึง 1 กองพลยานเกราะ 3 กองพลยานยนต์ กรมทหารปืนใหญ่ 78 กรม และกองพันรถถัง 40 กองพัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน สถาสงครามสูงสุดอังกฤษ-ฝรั่งเศสประชุมกันเป็นครั้งแรกที่แอ็บวิลล์ ฝรั่งเศส มีการตัดสินใจว่าปฏิบัติการรุกรานใด ๆ จะต้องถูกยับยั้งในทันที โมไรซ์ เกมลิน สั่งการให้ทหารของเขาหยุด "ไม่เข้าใกล้เกินกว่า 1 กิโลเมตร" จากตำแหน่งของเยอรมนีตามแนวซีกฟรีด โปแลนด์ไม่ทราบถึงการตัดสินใจนี้ เกมลินกลับแจ้งแก่จอมพลเอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังทั้งหมดของเขากำลังรบอยู่กับข้าศึก และการโจมตีของฝรั่งเศสได้ทำให้กองทัพเยอรมันอย่างน้อย 6 กองพลถอนตัวออกจากโปแลดน์ ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทูตทหารฝรั่งเศสประจำโปแลนด์ นายพลหลุยส์ โฟลี รายงานแก่เสนาธิการโปแลนด์ นายพลเวนสเลาส์ สตาชีวิกซ์ ว่าแผนการรุกรานครั้งใหญ่ในแนวรบด้านตะวันตกได้เลื่อนจากวันที่ 17 กันยายนไปเป็นวันที่ 20 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับค่ายทหารของตนเองหลังแนวมากิโนต์ ซึ่งได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามลวง หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง de:Sitzkrieg#Saar-Offensive.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และการรุกซาร์ลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

การทรยศโดยชาติตะวันตก

แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน การทรยศโดยชาติตะวันตก (Western betrayal) หรืออาจใช้ว่า การทรยศที่ยัลตา (Yalta betrayal) เป็นคำที่มักจะใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และเช็กเกีย ซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับนับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงสมัยสงครามเย็น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลอกลวงและการทรยศ ในการใช้คำว่า "การทรยศ" นี้ เป็นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะได้สนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยและการวางนโยบายด้วยตนเอง ได้ลงนามในสนธิสัญญาและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กระนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏฺบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญานั้น ยกตัวอย่างเช่น ไม่ช่วยป้องกันนาซีเยอรมนีจากการยึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับยกให้ในข้อตกลงมิวนิก (ค.ศ. 1938) หรือการทอดทิ้งโปแลนด์ในรับมือกับเยอรมนีและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939) และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี ค.ศ. 1944 นอกจากนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยัลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือรัฐเหล่านี้จากการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียต และระหว่างการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลย และทำให้การปฏิวัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุด สถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกีย และยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับมาสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ดังเดิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยัลตา แนวคิดของมันก็ถูกโต้เถียงกัน โดยนักประวัติศาสตร์มองว่าการที่นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมนีผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลตามีแนวคิดว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต กองกำลังโปแลนด์ถือเป็นกองกำลังที่ต่อสู้กับนาซีเยอรมนีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สอง และทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้ง รวมไปถึงในยุทธการที่เบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีจำนวนกว่า 249,000 นาย (กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกมีจำนวนกว่า 4 ล้านนาย) และ 180,000 นายทางตะวันออก (กองทัพโซเวียตมีจำนวนกว่า 6 ล้านนาย) และมีอีกกว่า 300,000 นายที่ทำการรบใต้ดิน หรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000 นาย โดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติhttp://www.ww2.pl/Polish,contribution,to,the,Allied,victory,in,World,War,2,(1939-1945),132.html ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในสงคราม รองมาจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รัฐบาลผลัดถิ่นโปแลนด์เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจได้เมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลหุ่นของโซเวียต โดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแผนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรป แต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตน รูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการรับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนเจรนาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพของทวีปยุโรปนอกเหนือจากอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยาก และแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจเอาไว้ และถึงแม้ว่าจะมีการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม ผลจากกิจการทางทหารนั้นก็ยังคงไม่แน่นอนอยู่มาก.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และการทรยศโดยชาติตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เวียนนา

ทธการเวียนนา (Schlacht am Kahlenberg, İkinci Viyana Kuşatması, Battle of Vienna) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กันยายน ค.ศ. 1683 หลังจากเวียนนาถูกล้อมโดยจักรวรรดิออตโตมันอยู่เป็นเวลาสองเดือน ยุทธการเวียนนาเป็นการต่อสู้ระหว่างสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันและรัฐบริวารไม่ไกลจากเนินเขาคาห์เลนแบร์กในเวียนนา ยุทธการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในยุโรปกลาง กองทัพเวียนนานำโดยเอิร์นสท์ รืดิเกอร์ กราฟ ฟอน สตาร์เฮมแบร์กภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ชัยชนะของยุทธการใหญ่เป็นของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกี ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันและกองทัพของรัฐบริวารที่นำโดยมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา ตามความเห็นบางความเห็นกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของสงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอำนาจต่างๆ ในยุโรปกลางกับจักรวรรดิออตโตมันที่ดำเนินมาร่วมสามร้อยปี อีกความเห็นหนึ่งก็ว่าเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันที่เมื่อถึงจุดนั้นก็เป็นช่วงที่ขยายตัวจนเกินตัวอยู่แล้ว สิบหกปีหลังจากการที่ยุทธการสิ้นสุดลงราชวงศ์ฮับส์บวร์กแห่งออสเตรียก็เริ่มเข้ามามีอำนาจทางตอนใต้ของฮังการี และ ทรานซิลเวเนียที่เดิมอยู่ภายใต้อำนาจของออตโตมัน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และยุทธการที่เวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2548) ตัวเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517.24 ตร.กม.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตชาติ

ันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และสันนิบาตชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

รณรัฐโปแลนด์ที่ 2 หรือเครือจักรภพโปแลนด์ที่สองหรือโปแลนด์ระหว่างสงคราม หมายความถึงประเทศโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง (ค.ศ. 1918–1939) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์หรือเครือจักรภพโปแลนด์ (Rzeczpospolita Polska) รัฐโปแลนด์ถูกสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1918 เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังความขัดแย้งในภูมิภาคหลายครั้ง เขตแดนของรัฐถูกชี้ชัดใน ค.ศ. 1922 ประเทศโปแลนด์มีเพื่อนบ้าน ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย เยอรมนี นครเสรีดันซิก ลิทัวเนีย ลัตเวีย โรมาเนียและสหภาพโซเวียต มีทางเข้าทะเลบอลติกโดยทางชายฝั่งสั้น ๆ ที่อยู่ข้างนครกดือเนีย (Gdynia) ระหว่างเดือนมีนาคมและสงหาคม ค.ศ. 1939 โปแลนด์ยังมีเขตแดนร่วมกับรูธีเนียคาร์พาเธีย (Carpathian Ruthenia) ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดของฮังการี แม้มีแรงกดดันทั้งในและนอกประเทศ ประเทศยังคงอยู่จน ค.ศ. 1939 เมื่อโปแลนด์ถูกนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสโลวักบุกครอง เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป สาธารณรัฐที่สองมีพื้นที่ต่างจากรัฐโปแลนด์ปัจจุบันมาก โดยมีดินแดนทางทิศตะวันออกมากกว่าและทางทิศตะวันตกน้อยกว.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโปแลนด์–โซเวียต

งครามโปแลนด์-โซเวียต (เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 – เดือนมีนาคม ค.ศ. 1921) เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างtitle.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และสงครามโปแลนด์–โซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาโลคาร์โน

นธิสัญญาโลคาร์โน คือ ข้อตกลงเจ็ดประการซึ่งได้เจรจากันที่เมืองโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม - 16 ตุลาคม 1925 และได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกธำรงรักษาเขตแดนของประเทศเหล่านั้น รวมไปถึงการคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี สนธิสัญญาดังกล่าวได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองหมวด ก็คือ ยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และยุโรปตะวันออกได้รับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และสนธิสัญญาโลคาร์โน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

16 ตุลาคม

วันที่ 16 ตุลาคม เป็นวันที่ 289 ของปี (วันที่ 290 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 76 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และ16 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 พฤษภาคม

วันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันที่ 139 ของปี (วันที่ 140 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 226 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และ19 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 กุมภาพันธ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 50 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 315 วันในปีนั้น (316 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และ19 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

21 กุมภาพันธ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และ21 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

4 กันยายน

วันที่ 4 กันยายน เป็นวันที่ 247 ของปี (วันที่ 248 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 118 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์และ4 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์พันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »