โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

การรุกซาร์ลันด์ vs. พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

การรุกซาร์ลันด์ เป็นปฏิบัติการของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันด์ในพื้นที่ป้องกันของกองทัพที่ 1 ของเยอรมนี ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนโปแลนด์ ซึ่งกำลังถูกเยอรมนีบุกครอง อย่างไรก็ตาม การโจมตีของฝรั่งเศสหยุดลงและต้องถอนตัวออกไป ถึงแม้ว่าการรุกดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี มันได้กลายมาเป็นการโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสเพียงครั้งเดียวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตามข้อตกลงทางทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ กองทัพฝรั่งเศสจะต้องเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งใหญ่ภายในสามวันหลังจากมีการระดมพล กองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดครองดินแดนระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและแนวเยอรมัน ตลอดจนสามารถเจาะผ่านการป้องกันของเยอรมนีได้ เมื่อวันที่ 15 ของการระดมผล (16 กันยายน) กองทัพฝรั่งเศสได้ทำการโจมตตีเต็มกำลังต่อเยอรมนี การระดมพลของฝรั่งเศสมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม และได้มีการประกาศระดมพลเต็มกำลังเมื่อวันที่ 1 กันยายน การโจมตีของฝรั่งเศสในหุบเขาไรน์เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน สี่วันหลังจากการประกาศสงครามของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และทหารฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าทางกำลังพลอย่างมากตลอดแนวชายแดนกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสมิได้ดำเนินการใด ๆ ซึ่งสามารถช่วยเหลือโปแลนด์ได้เลย ทหารฝรั่งเศส 11 กองพลได้รุกคืบตามแนวรบยาว 32 กิโลเมตรใกล้กับซาร์บรืกเคินและเผชิญหน้ากับการต้านทานที่อ่อนแอของเยอรมนี กองทัพฝรั่งเศสโจมตีลึกเข้าไป 8 กิโลเมตรและยึดหมู่บ้านได้ราว 20 หมู่บ้านซึ่งกองทัพเยอรมันอพยพกลับไปโดยปราศจากการสู้รบ อย่างไรก็ตาม การโจมตีอย่างไม่เต็มใจนี้ถูกยับยั้งหลังจากฝรั่งเศสยึดป่าวาร์นดท์ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังทุ่นระเบิดอย่างหนาแน่นสามตารางกิโลเมตรของเยอรมนี การโจมตีมิได้เบี่ยงเบนความสนใจของกองทัพเยอรมันแต่อย่างใด การรุกรานเต็มกำลังดำเนินการโดยทหาร 40 กองพล รวมไปถึง 1 กองพลยานเกราะ 3 กองพลยานยนต์ กรมทหารปืนใหญ่ 78 กรม และกองพันรถถัง 40 กองพัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน สถาสงครามสูงสุดอังกฤษ-ฝรั่งเศสประชุมกันเป็นครั้งแรกที่แอ็บวิลล์ ฝรั่งเศส มีการตัดสินใจว่าปฏิบัติการรุกรานใด ๆ จะต้องถูกยับยั้งในทันที โมไรซ์ เกมลิน สั่งการให้ทหารของเขาหยุด "ไม่เข้าใกล้เกินกว่า 1 กิโลเมตร" จากตำแหน่งของเยอรมนีตามแนวซีกฟรีด โปแลนด์ไม่ทราบถึงการตัดสินใจนี้ เกมลินกลับแจ้งแก่จอมพลเอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังทั้งหมดของเขากำลังรบอยู่กับข้าศึก และการโจมตีของฝรั่งเศสได้ทำให้กองทัพเยอรมันอย่างน้อย 6 กองพลถอนตัวออกจากโปแลดน์ ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทูตทหารฝรั่งเศสประจำโปแลนด์ นายพลหลุยส์ โฟลี รายงานแก่เสนาธิการโปแลนด์ นายพลเวนสเลาส์ สตาชีวิกซ์ ว่าแผนการรุกรานครั้งใหญ่ในแนวรบด้านตะวันตกได้เลื่อนจากวันที่ 17 กันยายนไปเป็นวันที่ 20 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับค่ายทหารของตนเองหลังแนวมากิโนต์ ซึ่งได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามลวง หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง de:Sitzkrieg#Saar-Offensive. นธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ มักจะหมายถึง พันธมิตรทางการทหารระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองกับฝรั่งเศส ซึ่งมีผลอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1921 - ค.ศ. 1940.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบุกครองโปแลนด์ประเทศฝรั่งเศสนาซีเยอรมนี

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

การบุกครองโปแลนด์และการรุกซาร์ลันด์ · การบุกครองโปแลนด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

การรุกซาร์ลันด์และประเทศฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

การรุกซาร์ลันด์และนาซีเยอรมนี · นาซีเยอรมนีและพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

การรุกซาร์ลันด์ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 3 / (11 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การรุกซาร์ลันด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »