โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส

ดัชนี พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส

มื่อคนไทยได้มีโอกาสศึกษาวิชาการสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่บนหลักเหตุผลตามแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น ก็เกิดความรู้สึกว่าความเชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ โชคลางของขลังเป็นเรื่องเหลวไหล งมงาย สอดคล้องกับเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเปลี่ยนความเชื่อที่งมงายเข้าสู่แก่นของธรรมะที่แท้จริง การแสดงออกทางด้านศิลปะก็สะท้อนความคิดนี้ได้อย่างมาก เช่น มีการวาดภาพที่สื่อถึงเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ หรือปริศนาธรรม รวมทั้งการวาดภาพเหมือนซึ่งแสดงออกถึงแนวคิดสัจจนิยมตามแบบตะวันตก การเขียนไตรภูมิ โลกสัณฐาน ที่ไม่เป็นความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์เสื่อมความนิยมลง ส่วนการเขียนเวสสันดรชาดกที่วัดราชาธิวาสนั้น ก็ได้ปรับเปลี่ยนการแสดงออกให้เป็นสัจจนิยมเช่นเดียวกัน ความมุ่งหมายที่แท้จริงคงไม่ได้ต้องการแสดงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เหนือธรรมชาติและเกินความเข้าใจของมนุษย์ หากแต่ต้องการนำเสนอธรรมะที่เป็นแก่นของชาดกเรื่องนี้ซึ่งก็คือ ทานบารมี ซึ่งพระเวสสันดรได้สั่งสมไว้ในชาติสุดท้าย จะสังเกตได้ว่า จิตรกรรมเวสสันดรชาดกที่นี่หลีกเลี่ยงการแสดงสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือการแสดงพลังของเทพเจ้า ดังปรากฏในกัณฑ์ทศพร ซึ่งเล่าเรื่องการรับพรสิบประการจากพระอินทร์ของพระนางผุสดี ถูกเขียนซ่อนไว้ในกลีบเมฆอย่างเลือนลางในพื้นที่ของกัณฑ์หิมพานต์ หรือกัณฑ์สักบรรพ ซึ่งในจิตรกรรมไทยประเพณีมักวาดพราหมณ์มาทูลขอพระนางมัทรี แล้วกลับกลายเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นด้านบน แต่ที่วัดราชาธิวาสนี้ แสดงเพียงภาพพระเวสสันดรหลั่งทักษิโณทกให้พราหมณ์เท่านั้น และถ้าหากไม่ทราบเรื่องมาก่อน จะไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าเป็นพระอินทร์แปลง การแสดงกัณฑ์ต่างๆออกเป็นภาพนอกจากการไม่พึงแสดงออกถึงพลังเหนือธรรมชาติแล้ว ยังคงยึดถือแนวประเพณีเป็นเกณฑ์ จุดมุ่งหมายคงจะเพื่อให้ผู้ชมรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นตอนของกัณฑ์ใด แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งท่านผู้วาดได้กระทำไว้ ซึ่งแตกต่างจากแนวประเพณีที่เป็นแบบแผนอยู่บ้าง เช่นการรวมกัณฑ์ชูชก กับจุลพนไว้ด้วยกัน โดยเขียนต่อเนื่องกัน ภาพชูชกหนีสุนัขขึ้นต้นไม้ เป็นตัวแทนของกัณฑ์ชูชก ส่วนภาพพรานเจตบุตรเป็นตัวแทนของกัณฑ์จุลพน หรือการรวมกัณฑ์ทศพรและหิมพานต์ไว้ในฉากใหญ่ฉากเดียว แม้ว่าจะเป็นกัณฑ์ที่ต่อเนื่องกัน แต่เวลาของเหตุการณ์ทั้งสองต่างกันมาก ซึ่งเป็นลักษณะของ narrative continutied ซึ่งถ้าหากเป็นจิตรกรรมไทยประเพณีอาจมีสินเทาหรือภาพทิวทัศน์แบ่ง หรือการวาดภาพเน้นฉากเริ่มต้นและฉากจบของเรื่องไว้ในกรอบใหญ่เป็นพิเศษบนด้านแป สำหรับความสอดคล้องกับประติมากรรม ก็เกิดการแสดงออกซึ่งแตกต่างไปจากอดีตเช่นเดียวกัน ในจิตรกรรมไทยประเพณี เบื้องสะกัดหน้ามักจะเขียนภาพมารผจญ เสมือนว่าองค์พระประธานกำลังทรงพิชิตหมู่มาร แต่ในวัดราชาธิวาส บทบาทของพระประธานกลับกลายเป็นเหตุการณ์เทศนาโปรดเหล่าศากยกษัตริย์ที่กรุงกบิลพัสดุ์ และเกิดฝนโบกขรพรรษ อันเป็นเหตุให้ตรัสเล่าเรื่องเวสสันดรชาดก ความสอดคล้องอีกประการหนึ่งก็คือ พระประธานคือพระสัมพุทธพรรณีและพระนิรันตรายซึ่งอยู่เบื้องหน้าพระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นโดยมีพระราชประสงค์ให้มีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติ ละทิ้งมหาบุรุษลักษณะซึ่งเหนือมนุษย์ไป อาจจะเป็นไปได้ว่าการเขียนภาพแบบสัจจนิยมเช่นนี้ก็เพื่อให้ต้องกับพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสอดคล้องกับฐานะความเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตนิกายซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นเพื่อปฏิรูปพุทธศาสนาให้บริสุท.

5 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัดราชาธิวาสราชวรวิหารอาณาจักรอยุธยาอุโบสถจิตรกรรม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาสและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร หรือ วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ผูกพัทธสีมาเมื่อ..

ใหม่!!: พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาสและวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาสและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

ใหม่!!: พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาสและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาสและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเวสสันดรแนวตะวันตกวัดราชาธิวาส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »