เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระอานนท์

ดัชนี พระอานนท์

ระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก.

สารบัญ

  1. 23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 40พระกิมพิลเถระพระภัททิยกาฬิโคธาบุตรพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีพระอรหันต์พระอุบาลีพระอนุรุทธเถระพระปุณณมันตานีบุตรพระโคตมพุทธเจ้าพระไตรปิฎกพระเจ้าสุทโธทนะพระเจ้าปเสนทิโกศลพระเทวทัตกบิลพัสดุ์กษัตริย์มธุรัตถวิลาสินีราชวงศ์สุยราชคฤห์สักกะขันธ์โสดาบันเอตทัคคะเทวทหะ

พ.ศ. 40

ทธศักราช 40 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 504.

ดู พระอานนท์และพ.ศ. 40

พระกิมพิลเถระ

ระกิมพิลเถระ หรือ พระกิมพิลศากยเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระกิมพิลเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านประสูติในเชื้อสายศากยราชสกุล พระราชสกุลของเจ้าชายสิตธัตถะ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ดำรงขันธ์แก่กาลสมควรแก่อายุขัยก็ดับขันธปรินิพพาน.

ดู พระอานนท์และพระกิมพิลเถระ

พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

ระภัททิยกาฬิโคธาบุตร หรือ พระภัททิยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระภัททิยเถรศากยราชา เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสักกะก่อนทรงสละราชสมบัติออกผนวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระภัททิยะ ออกผนวชโดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธกุมารผู้เป็นพระสหาย พระองค์ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักอุทานเสมอว่า "สุขหนอ ๆ" พระพุทธเจ้ายกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางผู้เกิดในสกุลสูง.

ดู พระอานนท์และพระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

ระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอัญชนาธิปราชแห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐภคินี(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระพุทธมารดา ดังนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมีจึงเป็นพระมาตุจฉาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน) พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าหญิงรูปนันทา ภาพขณะพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี วาดโดยเหม เวชกร พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลีและประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล่านางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือครุธรรม 8 ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้ทรงเรียนกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานและปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน.

ดู พระอานนท์และพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ดู พระอานนท์และพระอรหันต์

พระอุบาลี

ระอุบาลีเถระ หรือ พระอุบาลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอุบาลีเถระเดิมเป็นนายช่างภูษามาลาหลวงประจำราชสำนัก ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 6 พระองค์ ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ ทำให้เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ท่านจึงได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และด้วยการที่ท่านเป็นผู้ทรงจำวินัยอย่างแม่นยำจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้ทรงพระวินัยทรงเป็นผู้ที่ดี.

ดู พระอานนท์และพระอุบาลี

พระอนุรุทธเถระ

ระอนุรุทธเถระ หรือ พระอนุรุทธเถรศากยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอนุรุทธเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุอยุ่เสมอ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางทิพยจักษุยาณ (ตาทิพย์).

ดู พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระ

พระปุณณมันตานีบุตร

ระปุณมันตานีบุตรเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระปุณมันตานีบุตรเถระเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ ออกบวชโดยความชักชวนของพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อออกบวชท่านได้กลับไปบ้านเดิม ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ เป็นผู้ตั้งในคุณธรรม 10 ท่านเคยสนทนากับพระสารีบุตรด้วยอุปมารถ 7 ผลัด ภายหลังได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในด้าน ผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์).

ดู พระอานนท์และพระปุณณมันตานีบุตร

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู พระอานนท์และพระโคตมพุทธเจ้า

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ดู พระอานนท์และพระไตรปิฎก

พระเจ้าสุทโธทนะ

ระเจ้าสุทโธทนะ (สุทฺโธทน; ศุทฺโธทน (शुद्धोदन); Suddhodana) มักเรียกว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์สุทรรศน์ มีพระนามราชสกุลว่าโคตมะ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ (ซึ่งมีนครหลวงคือกรุงกบิลพัสดุ์) เป็นพุทธบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัท ในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระบรมศาสดาเสด็จจากกูฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา 7 วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลและนิพพาน ภาพ:BabyBuddha.JPG|ภาพวาดพุทธประวัติ: พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ (พระราชโอรส) ให้กาฬเทวินดาบสทำนายมหาบุรุษลักษณะของพระราชกุมาร.

ดู พระอานนท์และพระเจ้าสุทโธทนะ

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ดู พระอานนท์และพระเจ้าปเสนทิโกศล

พระเทวทัต

ระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต.

ดู พระอานนท์และพระเทวทัต

กบิลพัสดุ์

ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล กบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu กปิลวัตถุ; Kapilavastu กปิลวัสตุ; Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิล.

ดู พระอานนท์และกบิลพัสดุ์

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ดู พระอานนท์และกษัตริย์

มธุรัตถวิลาสินี

มธุรัตถวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย ผลงานของพระพุทธทัตตะ ซึ่งเป็นพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังพระพุทธโฆสะ เนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้ ก็เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวที่ปรากฏในหมวดพุทธวงศ์ ซึ่งว่าด้วยพุทธประวัติ พระจริยาวัตร และพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง.

ดู พระอานนท์และมธุรัตถวิลาสินี

ราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.

ดู พระอานนท์และราชวงศ์สุย

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ดู พระอานนท์และราชคฤห์

สักกะ

กยะ (शाक्य ศากฺย) หรือ สักกะ (Sakka, Sakya, Sākiya) เป็นราชสกุลและเชื้อชาติหนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากะ บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระโคตมพุทธเจ้าก็มาจากราชสกุลนี้ และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่าสักกชนบท.

ดู พระอานนท์และสักกะ

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ดู พระอานนท์และขันธ์

โสดาบัน

ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.

ดู พระอานนท์และโสดาบัน

เอตทัคคะ

อตทัคคะ หมายถึง ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พระสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่น ๆ ในด้านนั้น ๆ และตำแหน่งเอตทัคคะแต่ละตำแหน่งทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวท่านเดียวเท่านั้น ในแต่ละพุทธบริษัทแต่ละฝ.

ดู พระอานนท์และเอตทัคคะ

เทวทหะ

ทวทหะ (Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ.

ดู พระอานนท์และเทวทหะ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ อานนท์พระอานนท์ พุทธอนุชาพระอานนท์พุทธอนุชาพระพุทธอนุชาเจ้าชายอานันทะ