โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเทวทัต

ดัชนี พระเทวทัต

ระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต.

24 ความสัมพันธ์: พระกิมพิลเถระพระภัททิยกาฬิโคธาบุตรพระภัคคุเถระพระอรหันต์พระอานนท์พระอุบาลีพระอนุรุทธเถระพระปัจเจกพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าสุปปพุทธะพระเจ้าอชาตศัตรูกบิลพัสดุ์ภิกษุวัดเชตวันมหาวิหารสักกะสาวัตถีอนันตริยกรรมอเวจีจิญจมาณวิกาปิตุฆาตโสดาบันเอหิภิกขุอุปสัมปทาเทวทหะเขาคิชฌกูฏ

พระกิมพิลเถระ

ระกิมพิลเถระ หรือ พระกิมพิลศากยเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระกิมพิลเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านประสูติในเชื้อสายศากยราชสกุล พระราชสกุลของเจ้าชายสิตธัตถะ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ดำรงขันธ์แก่กาลสมควรแก่อายุขัยก็ดับขันธปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระกิมพิลเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

ระภัททิยกาฬิโคธาบุตร หรือ พระภัททิยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระภัททิยเถรศากยราชา เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสักกะก่อนทรงสละราชสมบัติออกผนวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระภัททิยะ ออกผนวชโดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธกุมารผู้เป็นพระสหาย พระองค์ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักอุทานเสมอว่า "สุขหนอ ๆ" พระพุทธเจ้ายกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางผู้เกิดในสกุลสูง.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระภัททิยกาฬิโคธาบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระภัคคุเถระ

ระภัคคุเถระ หรือ พระภัคคุศากยเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระภัคคุเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านประสูติในเชื้อสายศากยราชสกุล พระราชสกุลของเจ้าชายสิตธัตถะ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ดำรงขันธ์แก่กาลสมควรแก่อายุขัยก็ดับขันธปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระภัคคุเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระอรหันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอานนท์

ระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระอานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอุบาลี

ระอุบาลีเถระ หรือ พระอุบาลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอุบาลีเถระเดิมเป็นนายช่างภูษามาลาหลวงประจำราชสำนัก ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 6 พระองค์ ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ ทำให้เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ท่านจึงได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และด้วยการที่ท่านเป็นผู้ทรงจำวินัยอย่างแม่นยำจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้ทรงพระวินัยทรงเป็นผู้ที่ดี.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระอุบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระอนุรุทธเถระ

ระอนุรุทธเถระ หรือ พระอนุรุทธเถรศากยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอนุรุทธเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุอยุ่เสมอ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางทิพยจักษุยาณ (ตาทิพย์).

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระอนุรุทธเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระปัจเจกพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสุปปพุทธะ

ระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเทวทหะ แห่งแคว้นโกลิยะ มีพระมเหสี นามว่า นางอมิตาเทวี แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกเป็นพระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายเทวทัต ซึ่งคิดอิจฉาริษยากับพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ส่วนพระองค์ที่ 2 เป็นพระราชธิดา มีพระนามว่า นางยโสธรา หรือ พิมพา ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระเจ้าสุปปพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรู · ดูเพิ่มเติม »

กบิลพัสดุ์

ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล กบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu กปิลวัตถุ; Kapilavastu กปิลวัสตุ; Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิล.

ใหม่!!: พระเทวทัตและกบิลพัสดุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระเทวทัตและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระเทวทัตและวัดเชตวันมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สักกะ

กยะ (शाक्य ศากฺย) หรือ สักกะ (Sakka, Sakya, Sākiya) เป็นราชสกุลและเชื้อชาติหนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากะ บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระโคตมพุทธเจ้าก็มาจากราชสกุลนี้ และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่าสักกชนบท.

ใหม่!!: พระเทวทัตและสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเทวทัตและสาวัตถี · ดูเพิ่มเติม »

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระเทวทัตและอนันตริยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อเวจี

''อเวจี'' ตามคติญี่ปุ่น อเวจี หรือ อวิจี (บาลี, สันสกฤต อวีจิ; 無間地獄 ตรงกับ むげんじごく และ 阿鼻地獄 ตรงกับ あびじごく) คือ ชื่อของนรกซึ่งเป็นหนึ่งใน มหานรก 8 ขุม มีปรากฏเป็นบันทึกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยอเวจีมหานรกนั้น เป็นนรกขุมลึกที่สุด ตามรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต "อวีจิ" แปลว่า "ปราศจากคลื่น"หรือ"ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก) เป็นนรกขุมที่ต่ำที่สุดที่ผู้กระทำอนันตริยกรรมจะไปเกิด อนันตริยกรรมหรือคุรุกรรมที่ทำให้เกิดในนรกภูมินี้ ได้แก.

ใหม่!!: พระเทวทัตและอเวจี · ดูเพิ่มเติม »

จิญจมาณวิกา

ลปะลาว แสดงภาพจิญจมาณวิกากำลังให้ร้ายพระโคตมพุทธเจ้าท่ามกลางธารกำนัล จิญจมาณวิกา เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ในพุทธกาล โดยในพระไตรปิฎกกล่าวหาว่านางได้ให้ร้ายพระโคตมพุทธเจ้า ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ความคือ จิญจมาณวิกา ฉลาดในมารยาทของหญิง นับถือ ลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่อยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป ๘ - ๙ เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังถูกแผ่นดินสูบ ดังมีในพุทธชัยมงคลปราฏเป็นหลักฐานในบทสวด "พาหุง" บทที่ ๕ ความว่า "กตฺวาน กฎฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา  จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท  ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ" แปลว่า "นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา" ด้วยผลกรรมที่ใส่ร้ายพระศาสดา เมื่อออกจากวัดพระเชตวัน นางจึงถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก สถานที่ที่นางถูกธรณีสูบอยู่ที่สระโบกขรณี ติดกับสถานที่ที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบ ดังคำในจิญจมาณวิกาวัตถุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่ง ผู้มักกล่าวเท็จ ปฏิเสธปรโลก จะไม่ทำบาปไม่มี.

ใหม่!!: พระเทวทัตและจิญจมาณวิกา · ดูเพิ่มเติม »

ปิตุฆาต

ปิตุฆาต (patricide) หมายถึง การฆ่าบิดาของตัวเอง คำว่า "ปิตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ ปิตุ (พ่อ) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ patricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน pater (พ่อ) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำปิตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระเทวทัตและปิตุฆาต · ดูเพิ่มเติม »

โสดาบัน

ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.

ใหม่!!: พระเทวทัตและโสดาบัน · ดูเพิ่มเติม »

เอหิภิกขุอุปสัมปทา

อหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิก... จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญมหาเถระเป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมเถระในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ และทรงเปลี่ยนวิธีใหม่เป็น ติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเทวทัตและเอหิภิกขุอุปสัมปทา · ดูเพิ่มเติม »

เทวทหะ

ทวทหะ (Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ.

ใหม่!!: พระเทวทัตและเทวทหะ · ดูเพิ่มเติม »

เขาคิชฌกูฏ

กูฏ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเทวทัตและเขาคิชฌกูฏ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชูชกพระอัฏฐิสระปัจเจกพุทธเจ้าพระเทวทัตต์เจ้าชายเทวทัตต์เทวทัต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »