โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฐานานุกรม

ดัชนี ฐานานุกรม

ระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป สามารถตั้งพระฐานานุกรมของตนได้ตามอัธยาศัย (ในพระบรมราชานุญาต) ฐานานุกรม คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย ซึ่งภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เช่น พระสงฆ์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง ฐานานุกรมนั้นมีตำแหน่งที่เป็นหลัก 3 ตำแหน่ง คือ พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา หากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์ตั้งฐานานุกรมเป็นผู้ที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป พระฐานานุกรมที่ท่านเหล่านั้นตั้ง จะเรียก "พระครู" นำหน้าตำแหน่งฐานานุกรมนั้นทุกตำแหน่ง เช่น พระครูปลัด พระครูสังฆรักษ์ เป็นต้น สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด ตำแหน่งเหล่านี้เดิมมีพัดยศของหลวงพระราชทานมาให้ แต่ปัจจุบันนี้ต้องจัดทำเอง โดยพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์แต่งตั้งฐานานุกรมจะแต่งตั้งพระสงฆ์รูปใดในศิษยานุศิษย์ของตน ก็สุดแล้วแต่อัธยาศัย ทางการไม่ได้เกี่ยวข้องในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพียงแต่รับรู้เท่านั้น ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งในลักษณะนี้เรียกว่า พระฐานานุกรม ทุกรูปจัดเป็นพระมีสมณศักดิ์เหมือนพระสมณศักดิ์ที่ทรงแต่งตั้ง พระในตำแหน่งเหล่านี้บางทีเรียกประทวนสัญญาบัตร บ้าง ฐานาประทวน บ้าง และเนื่องจากสมณศักดิ์เหล่านี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้พระราชทานเอง ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่ได้ตั้งฐานานุกรมไว้มรณภาพ ตำแหน่งฐานานุกรมต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย เรียกกันในภาษาปากว่า พระครูม่าย หรือ ฐานาม่าย จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมใหม่ ในอดีต ตำแหน่งฐานานุกรมบางตำแหน่งมีลำดับสมณศักดิ์สูงกว่าพระมหาเปรียญ จึงมีบางครั้งที่พระมหาเปรียญก็อาจได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมบ้าง ซึ่งเรียกกันในภาษาปากว่า ฐานาทรงเครื่อง หรือ พระครูทรงเครื่อง คือมีทั้งตำแหน่งมหาเปรียญและฐานานุกรมในคราวเดียวกัน.

28 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระราชาคณะพระราชาคณะชั้นธรรมพระราชาคณะเจ้าคณะรองพระสาสนโสภณพระสงฆ์พระครูสัญญาบัตรพัดยศภิกษุวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวิปัสสนาสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสมเด็จพระราชาคณะสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)สังฆราชความตาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหา

ระมหากษัตริย์ไทยถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม แก่พระสงฆ์ โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ และเพื่อเป็นการยกย่องพระสงฆ์ผู้อุตสาหะในการศึกษาภาษาบาลี ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พระมหา เป็นคำสมณศักดิ์ใช้นำหน้าชื่อพระภิกษุที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ขึ้นไป โดยคำ "มหา" มาจากศัพท์ในภาษาบาลี (มหนฺต ลดรูปเป็น มหา) ใช้นำหน้าพระเถระผู้มีร่างกายสูงใหญ่ในสมัยพุทธกาลเช่น พระมหากัสสปเถระ พระมหาโมคคัลลานะ และใช้เรียกนำหน้ายกย่องพระเถระผู้เป็นที่น่าเคารพนับถือว่า พระมหาเถระ แปลว่า พระเถระผู้ใหญ่ โดยคำว่า "พระมหา" สันนิษฐานว่ากร่อนมาจากคำว่า "พระมหาชาติ" ที่ชาวพุทธใช้เรียกพระผู้ทรงภูมิบาลีแตกฉาน จนสามารถเทศนาพระมหาชาติเวสสันดรชาดกได้ และต่อมาพระมหากษัตริย์จึงใช้คำนี้แต่งตั้งพระผู้ทรงภูมิบาลีให้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระมหา หรือพระมหาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม (พัดยศมหาเปรียญ) แก่พระสงฆ์โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ ประโยคบาลี เพื่อเป็นการถวายกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้สนใจเล่าเรียนศึกษาและมีความรู้สอบไล่ได้สายเปรียญธรรมบาลีตั้งแต่ชั้นเปรียญตรีขึ้นไปจนถึงปัจจุบันนี้ (โดยในอดีตนั้นพระมหากษัตริย์เคยมีการถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์และสามเณรที่เป็นมหาเปรียญทุกชั้น แต่ปัจจุบันคงมีการถวายนิตยภัตรายเดือนเฉพาะผู้สอบได้ระดับเปรียญธรรม ๙ ประโยค เท่านั้น) ในปัจจุบัน พัดยศมหาเปรียญ นั้นจะแบ่งเป็นสีและระบุเลขลำดับชั้นเปรียญ ซึ่งเปรียบได้กับครุยวิทยฐานะของบัณฑิตผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยพัดยศเปรียญมีฐานะเสมือนหนึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำความชอบในราชการ พระสงฆ์สามเณรผู้ได้รับพระราชทานจะนำพัดยศมหาเปรียญออกใช้ประกอบสมณศักดิ์ได้แต่ในงานพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น จะใช้ทั่วไปมิได้ ในอดีตก่อนมีการเลิกทาส หากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม มีบิดามารดาเป็นทาสเขาอยู่ ก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไถ่ให้พ้นตัวจากความเป็นทาสมีอิสรภาพแก่ตนในทันทีที่บุตรชายของตนได้เป็นพระมหาเปรียญหรือสามเณรเปรียญ ปัจจุบันเรียกพระภิกษุที่สอบได้พระปริยัติธรรมตั้งแต่ เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไปว่า "พระมหาเปรียญ".

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระมหา · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะ

ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็โปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบแทน พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะ หมายถึงพระภิกษุที่ได้รับสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าพระสังฆราชาคณะ หมายความว่าเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ต่อมาในสมักรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็นพระราชาคณะ ความหมายยังคงเดิม มีคำนำหน้าราชทินนามว่าพระ แต่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าคุณหรือท่านเจ้าคุณ ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะเรียกว่าท่านเจ้าประคุณ แยกเป็นลำดับดังนี้ พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระราชาคณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะชั้นธรรม

ระราชาคณะชั้นธรรม เป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และสูงกว่าพระราชาคณะชั้นเท.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระราชาคณะชั้นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

ระราชาคณะเจ้าคณะรองเป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มีศักดิ์สูงกว่าพระราชาคณะชั้นธรรม และรองลงมาจากสมเด็จพระราชาคณะ เดิมจึงเรียกว่ารองสมเด็จพระราชาคณ.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระราชาคณะเจ้าคณะรอง · ดูเพิ่มเติม »

พระสาสนโสภณ

ระสาสนโสภณ หรือ พระศาสนโศภน เป็นราชทินนามสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระสาสนโสภณ · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระครูสัญญาบัตร

ในปัจจุบันการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรจะทรงมอบหมายให้สมเด็จพระสังฆราชหรือเจ้าคณะใหญ่ในหนนั้นๆ เป็นผู้แทนพระองค์มอบตำแหน่งแทน (พัดพุดตาน) พัดยศสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตรจัดเป็นสมณศักดิ์สัญญาบัตรชั้นแรก เป็นพระครูมีราชทินนาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยเรียกว่า"ปู่ครู" ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้เปลี่ยนคำนำหน้าจากปู่ครูเป็นพระครู และโปรดให้มีราชทินนามสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระครูสัญญาบัตรเป็นชื่อประเภทสมณศักดิ์ เครื่องหมายสมณศักดิ์ใช้คำว่าพระครูนำหน้าราชทินนาม แต่ในสัญญาบัตรมิได้กำหนดว่าเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นใดหรือตำแหน่งใด ก็จะมีพัดยศเป็นเครื่องแสดงชั้นหรือตำแหน่งนั้นๆ เมื่อได้เลื่อนตำแหน่ง จะไม่เปลี่ยนสัญญาบัตร คงเปลี่ยนเฉพาะพัดยศ และมีประกาศมหาเถรสมาคมแสดงความเป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งใดและชั้นใด ในปัจจุบันผู้ที่จะได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรต้องเป็นพระสังฆาธิการเท่านั้น เมื่อจะทรงแต่งตั้งครั้งแรกจัดชั้นและตำแหน่งให้เหมาะสมในการปกครอง หรือเหมาะสมกับวิทยฐานะ พระครูสัญญาบัตรจัดโดยชั้นมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพระครูสัญญาบัตร · ดูเพิ่มเติม »

พัดยศ

กหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับประเพณีมีพัดยศสำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และพัดยศเพื่อให้พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและพัดยศ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนา

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน สมถะและวิปัสสนาถือเป็นธรรมที่ควรเจริญ (ตามทสุตตรสูตร) และเป็นธรรมฝ่ายวิชชา (ตามพาลวรรค).

ใหม่!!: ฐานานุกรมและวิปัสสนา · ดูเพิ่มเติม »

สมณศักดิ์

มณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้ว.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์อีกด้วย ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาคณะ

ัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระญาณวโรดม สมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีคำนำหน้าราชทินนามว่า "สมเด็จ" เดิมทีสมเด็จพระราชาคณะเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะใหญ่มาตลอด จนกระทั่งมีการแยกออกมาเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสง..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระราชาคณะ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

มเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม วาสน์ นิลประภา ฉายา วาสโน เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิริพระชันษา 91 ปี.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา เคยเป็นสามเณรนาคหลวง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น สามเณรอัจฉริยะ แห่งกรุงรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม อยู่ ช้างโสภา ฉายา าโณทโย เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี สิ้นพระชนมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 สิริพระชันษา 90 ปีเศษเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 61-70.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม จวน ศิริสม ฉายา อุฎฺฐายี สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 ปี สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ปลด เกตุทัต ฉายา กิตฺติโสภโณ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี 1 เดือน 13 วัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริพระชันษา 73 ปี.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ปุ่น สุขเจริญ ฉายา ปุณฺณสิริ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดำรงพระยศอยู่ 1 ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สิริพระชันษาได้ 77 ปี.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม แพ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) · ดูเพิ่มเติม »

สังฆราช

ังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสง.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและสังฆราช · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ฐานานุกรมและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระฐานานุกรมพระราชาคณะปลัดขวาพระสมุห์พระอธิการพระครูสมุห์พระครูสังฆรักษ์พระครูปลัดพระครูใบฎีกาพระปลัดพระใบฎีกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »