เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พยาธิวิทยาคลินิก

ดัชนี พยาธิวิทยาคลินิก

วิทยาคลินิก หรือเวชศาสตร์ชันสูตร (Clinical pathology or Laboratory Medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยการวิเคระห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากสิ่งส่งตรวจเช่นสารน้ำในร่างกาย เลือด หรือปัสสาวะ โดยอาศัยความรู้ทางเคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก โลหิตวิทยา และพยาธิวิทยาโมเลกุล (molecular pathology) ซึ่งแพทย์ด้านนี้จะทำงานร่วมกันกับนักเทคนิคการแพทย์ โลหิตวิทยา: สเมียร์เลือดบนสไลด์แก้ว ย้อมสีเพื่อศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์ โลหิตวิทยา: ภาพจุลทรรศน์ของสเมียร์เลือดปกติ แสดง a:เม็ดเลือดแดง, b:นิวโทรฟิล, c:อีโอสิโนฟิล, d:ลิมโฟไซต์.

สารบัญ

  1. 12 ความสัมพันธ์: พยาธิกายวิภาคพยาธิวิทยาการย้อมสีกรัมการแพทย์เฉพาะทางลิมโฟไซต์ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อีโอซิโนฟิลปัสสาวะนักเทคนิคการแพทย์แบคทีเรียโลหิตวิทยาเลือด

พยาธิกายวิภาค

วิทยากายวิภาค (Anatomical Pathology) เป็นวิชาว่าด้วยการเรียนรู้ร่างกายของมนุษย์โดยละเอียด เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุแห่งความตายว่าเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป อาวุธประเภทใด ภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือบาดแผลตามร่างกายอาจใช้บ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังความตาย สิ่งที่ทำให้เกิดความตาย เช่น ตายก่อนจมน้ำ หรือ จมน้ำตาย โดนวางยาหรือฆ่าตัวตายเอง เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพของศพจะช่วยบอกเริ่มต้นว่าเป็นการตายธรรมดาหรือฆาตกรรม อันนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาผู้กระทำความผิดและนำไปลงโทษโดยตำรวจ นักนิติพยาธิวิทยากายวิภาค (FORENSIC PATHOLOGY) จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพ พยาธิสภาพ ลักษณะโรคและบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือตาย เพราะความเห็นของพวกเขาจะเป็นประโยชน์ต่อตำรวจในการแยกแยะคดีอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพยาธิแพทย์ด้านนิติเวชศาสตร์ซึ่งกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการให้ความเห็นสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายของเหยื่อไว้ ปัจจุบันแพทย์ด้านนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการระบุสาเหตุและพฤติการณ์การตาย จากนั้นจึงนำไปสู่การพิสูจน์ยืนยันความเห็นนั้นด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นได้ นอกจากนั้นศาสตร์ด้านพยาธิวิทยากายวิภาคยังเน้นความรู้ด้านการบ่งชี้ความปกติหรือไม่ปกติของศพ เพศ เนื่องจากบางครั้งศพอาจอยู่ในสภาพเน่าเปื่อย มีแค่โครงกระดูก ยากจะบอกเบื้องต้นได้ว่าคนตายเป็นเพศใด อายุเท่าไร สาเหตุการตายจากโรค สารเคมี บาดแผลในหรือนอกร่างกาย นักพยาธิวิทยากายวิภาคจะเป็นผู้ชี้ชัดได้ว่า ศพเป็นเพศชายหรือหญิง ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ มีการเสริมแต่งส่วนใดในร่างกายที่มิใช่ธรรมชาติ โครงกระดูกบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง โดยอาจดูจากโหนกคิ้ว กระดูกเชิงกราน ก็ได้ ล้วนเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้พนักงานสอบสวนนำไปใช้สืบหาสาเหตุการตายและพยานหลักฐานต่อไปเพื่อนำผู้กระทำความผิดไปลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและพยาธิกายวิภาค

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและพยาธิวิทยา

การย้อมสีกรัม

การย้อมสีกรัม สีม่วงคือ ''Staphylococcus aureus'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมบวก สีแดงคือ ''Escherichia coli'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมลบ การย้อมสีกรัม (Gram staining) เป็นวิธีการหนึ่งในการจำแนกชนิดของแบคทีเรีย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบคทีเรียกรัมบวกและแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อนี้มาจากแฮนส์ เครสตีแยน กรัม นักวิทยาแบคทีเรียชาวเดนมาร์ก ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิกนี้ การย้อมสีกรัมจำแนกชนิดแบคทีเรียได้จากความแตกต่างของคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของผนังเซลล์ โดยเฉพาะการมีเปปติโดไกลแคน ซึ่งจะพบเป็นชั้นหนาในแบคทีเรียกรัมบวก ในการย้อมสีกรัม แบคทีเรียกรัมบวกจะสามารถรักษาสีน้ำเงินของสีย้อมคริสตัลไวโอเลตเอาไว้ได้ ในขณะที่แบคทีเรียกรัมลบจะสูญเสียสีนี้ไปในขั้นตอนการล้าง และจะติดสีแดงเมื่อย้อมด้วยสีเคาน์เตอร์สเตน เช่น ซาฟรานิน หรือฟุคซีน หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของเดนมาร์ก หมวดหมู่:จุลทรรศนศาสตร์ หมวดหมู่:วิทยาแบคทีเรีย.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและการย้อมสีกรัม

การแพทย์เฉพาะทาง

การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษาม.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและการแพทย์เฉพาะทาง

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและลิมโฟไซต์

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสิ่งส่งตรวจ (Specimens) ของผู้เข้ามารับบริการตรวจทางสุขภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย สำหรับประเทศไทย ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาจจะมีชื่อเรียกได้หลายแบบ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิค และห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร เป็นต้น.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

อีโอซิโนฟิล

ลักษณะของอีโอซิโนฟิล อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและอีโอซิโนฟิล

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและปัสสาวะ

นักเทคนิคการแพทย์

ทคนิคการแพทย์ (Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจทางเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร หรือ ณ ตำแหน่งดูแลและให้บริการทางการแพทย์ Point of care ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพท..

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและนักเทคนิคการแพทย์

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและแบคทีเรีย

โลหิตวิทยา

ลหิตวิทยา เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงสาเหตุ, การวินิจฉัย, การรักษา, การติดตามผล และการป้องกันโรคทางเลือด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบของเลือดที่ผิดปกติ เช่น จำนวนเม็ดเลือด โปรตีนในเลือด หรือ กระบวนการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติไป เป็นต้น.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและโลหิตวิทยา

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ดู พยาธิวิทยาคลินิกและเลือด

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Clinical pathologyLaboratory Medicine