โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ผู้บรรยายเรื่อง vs. ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ผู้บรรยายเรื่อง (Narrator) ในงานวรรณกรรม, ภาพยตร์, ละคร, การเล่าเรื่องโดยตรง และอื่นๆ หมายถึงผู้สื่อหรือถ่ายทอดเรื่องราวแก่ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู เมื่อผู้บรรยายเรื่องเป็นทั้งผู้มีบทบาทในเรื่องด้วย ผู้บรรยายก็อาจจะเรียกว่า “viewpoint character” ผู้บรรยายเรื่องคือองค์ประกอบหนึ่งในสามของการบรรยายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดใน องค์ประกอบอีกสองอย่างคือนักเขียน และ “ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู” ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าคำว่า “Narrator” แปลว่า “ผู้เล่าเรื่อง” แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า “Narrator” มีความหมายที่แคบกว่าคำว่า “Storyteller” หรือ “ผู้เล่าเรื่อง” ฉะนั้นคำว่า “Narrator” จึงมาแปลว่า “ผู้บรรยายเรื่อง” ทั้งผู้ประพันธ์และผู้อ่านอยู่ในโลกของความเป็นจริง หน้าที่ของผู้ประพันธ์คือการสร้างจักรวาล ตัวละคร และ เหตุการณ์ภายในเรื่อง หน้าที่ของผู้อ่านคือการทำความเข้าใจและการตีความหมายของเรื่อง ผู้บรรยายเรื่องเท่านั้นที่เป็นผู้เดียวที่อยู่ในโลกที่สร้างขึ้นโดยผู้ประพันธ์ผู้มีหน้าที่เสนอเรื่องที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ผู้บรรยายเรื่องอาจจะบรรยายเรื่องจากมุมมองของตนเอง หรือจากมุมมองของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การบรรยายเรื่องหรือกระบวนการของบรรยายเรื่องเรียกว่า “การบรรยายเรื่อง” (narration) การอรรถาธิบาย (exposition), การโต้แย้ง (argumentation), การบรรยาย (description) และการบรรยายเรื่องเป็นวิธีสี่วจนิพนธ์ (Rhetorical modes) ในความหมายที่แคบลงของ “ผู้บรรยายเรื่อง” ในนวนิยายหมายถึงการบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยผู้บรรยายเรื่องโดยตรงต่อผู้อ่าน ส่วนแนวคิดของ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (unreliable narrator) (ตรงกันข้ามกับผู้ประพันธ์) มามีความสำคัญขึ้นในการเขียนนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งเมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การวิพากษ์วรรณกรรมเกิดขึ้นเฉพาะงานกวีนิพนธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี “ผู้บรรยายเรื่อง” ที่ต่างไปจากผู้ประพันธ์ แต่นวนิยายที่มีโลกที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะเมื่อ “ผู้บรรยายเรื่อง” มีความเห็นที่แตกต่างจากผู้ประพันธ์เป็นอันมาก. ประกอบโดยกุสตาฟว์ ดอเรของบารอนมึนช์เฮาเซน ผู้บรรยายเรื่องที่เกินเลยจากความจริงที่ถือว่าเป็น “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable narrator) ในนวนิยาย (ที่ใช้ในวรรณกรรม, การละคร, ภาพยนตร์ และอื่น ๆ) “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (คำที่คิดขึ้นโดยเวย์น ซี. บูธในหนังสือ “The Rhetoric of Fiction” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1961) หมายถึงผู้บรรยายเรื่องที่ขาดความน่าเชื่อถือโดยผู้อ่านอย่างเห็นได้ชัด"How to Write a Damn Good Novel, II", by James N. Frey (1994) ISBN 0312104782, หรือเป็นผู้ขาดความเป็นกลางด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การใช้ผู้บรรยายเรื่องประเภทที่เรียกว่า “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” อาจจะมาจากเหตุผลหลายประการของผู้ประพันธ์ แต่โดยทั่วไปก็เพื่อสร้างความเคลือบแคลงของเนื้อหาให้แก่ผู้อ่าน โดยการสร้างภาพพจน์ของผู้บรรยายเรื่องในทางที่เป็นผู้ไม่น่าไว้วางใจ ความไม่น่าเชื่อถืออาจจะมามีสาเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตของผู้บรรยายเรื่อง, ความลำเอียงของผู้บรรยายเรื่อง, ความขาดความรู้ของผู้บรรยายเรื่อง หรืออาจจะมาจากความจงใจของผู้ประพันธ์ที่จะหลอกผู้อ่านหรือผู้ดู “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” มักจะเป็นผู้บรรยายเรื่องบุคคลที่หนึ่ง แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นบุคคลที่สามก็ได้ บางครั้งผู้อ่านก็อาจจะทราบทันทีว่าผู้บรรยายเรื่องเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ เช่นเมื่อเรื่องเปิดขึ้นโดยคำบรรยายที่ผิดอย่างชัดแจ้ง หรือ การอ้างอันขาดเหตุผล หรือ การยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญหาทางจิต หรือบางครั้งโครงร่างของเรื่องก็อาจจะมีตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง ที่มีนัยยะว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่การใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ที่เป็นนาฏกรรมที่สุดคือการประวิงเวลาในการเปิดเผยว่าผู้บรรยายเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือจนเมื่อเรื่องเกือบจะลงเอย การจบเรื่องที่ผิดจากที่ผู้อ่านคาดทำให้ผู้อ่านต้องกลับไปพิจารณาทัศนคติและประสบการณ์ของตนเองที่มีต่อเนื้อเรื่องที่อ่านมา ในบางกรณีความไม่น่าเชื่อถือของผู้บรรยายเรื่องอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยแต่เพียงบอกเป็นนัยยะ ที่สร้างความพิศวงให้แก่ผู้อ่านว่าจะเชื่อปากคำของผู้บรรยายเรื่องได้มากน้อยเท่าใด หรือ ควรจะตีความหมายของเรื่องอย่างใด นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, นวนิยายคาดการณ์ (speculative fiction) และการบรรยายเรื่องฝัน ไม่ถือว่าเป็นการใช้การบรรยายเรื่องโดยผู้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่มิได้เกิดขึ้น หรือไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ก็ได้แก่ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ตตัวละครเอกในเรื่อง “โลลิตา” โดยวลาดิเมียร์ นาโบคอฟ ผู้หลงรักลูกเลี้ยงสาวอายุ 12 ปี ที่มักจะบรรยายเรื่องที่เป็นการสนับสนุนการกระทำของตนเองว่าไม่เป็นการผิดจริยธรรมในการเป็นโรคใคร่เด็ก (pedophilia) ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องอย่างลำเอียงเข้าข้างตนเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่อง (Storyteller) อาจจะหมายถึง.

ผู้บรรยายเรื่องและผู้เล่าเรื่อง · ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือและผู้เล่าเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ผู้บรรยายเรื่อง มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 11.11% = 1 / (4 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »