โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การผัด

ดัชนี การผัด

การผัด มันฝรั่งผัดเบคอน และหอมใหญ่ Ddeokbokki: เค้กข้าวแบบเกาหลีผัดกับผักและหมู การผัดหอมใหญ่และพริกหยวกในกระทะแบน การผัด (Stir frying) เป็นวิธีการทำอาหารในน้ำมันและไขมัน ซึ่งเป็นเทคนิกการทำอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว การผัดในอาหารไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน.

23 ความสัมพันธ์: ฟักแม้วพริกขี้หนูพริกไทยกระชายกระเทียมกะทิกะปิกะเพรามะกรูดมะเขือพวงวุ้นเส้นหอมใหญ่อาหารจีนผักบุ้งผักกูดข่า (พืช)คะน้าตะไคร้นกกระจอกเทศน้ำมันประกอบอาหารไขมันเบคอนเครื่องเทศ

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว, มะระแม้ว, มะระหวาน, มะเขือเครือ หรือ ชาโยเต้ (Chayote; ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule) เป็นไม้เถาวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ผลและยอดอ่อนรับประทานได้.

ใหม่!!: การผัดและฟักแม้ว · ดูเพิ่มเติม »

พริกขี้หนู

ริกขี้หนู อยู่ในวงศ์ Solanaceae มีลักษณะเป็นไม้ต้น ความสูง 30-120 cm ใบมีลักษณะแบนและเรียบมัน ผลมีขนาดเล็กเรียวยาวประมาณ 2-3 ซ.ม. เมื่อดิบผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ ได้แก่ Chilli Padi, Bird's Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper ผลมีรสเผ็ดร้อน ใช้ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด ผลดองสุราใช้ทาแก้ฟกช้ำดำเขียว ต้นมีรสเผ็ด ใช้ขับลม แก้กษัย รากใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ เป็นยากวาดคอ ใบใช้แก้หวัด ตำใบสดผสมกับดินสอพองพอกขมับแก้ปวดศีรษะได้.

ใหม่!!: การผัดและพริกขี้หนู · ดูเพิ่มเติม »

พริกไทย

ริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli).

ใหม่!!: การผัดและพริกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กระชาย

กระชาย หรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชายมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระชายดำ (กลาง,มหาสารคาม) กะแอน (มหาสารคาม,เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) และ ว่านพระอาทิตย์ (กทม.)ชื่อสามัญ กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง.

ใหม่!!: การผัดและกระชาย · ดูเพิ่มเติม »

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ใหม่!!: การผัดและกระเทียม · ดูเพิ่มเติม »

กะทิ

กะทิ กะทิ เป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม ได้มาจากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าวแก่ สีและรสชาติที่เข้มข้นของกะทิมาจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติมันและหวาน.

ใหม่!!: การผัดและกะทิ · ดูเพิ่มเติม »

กะปิ

กะปิของมาเลเซีย กะปิ (shrimp paste หรือ shrimp sauce) เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน คำว่า กะปิ ใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่าเตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie), มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang), เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko) คำว่า "กะปิ" ในภาษาไทยมาจากคำในภาษาพม่าว่า "ง่าปิ" (ငါးပိ) แปลว่า "ปลาหมัก" ในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลาย ๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล.

ใหม่!!: การผัดและกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

กะเพรา

กะเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 เซนติเมตร นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว.

ใหม่!!: การผัดและกะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี).

ใหม่!!: การผัดและมะกรูด · ดูเพิ่มเติม »

มะเขือพวง

มะเขือพวง (Turkey berry) เป็นพืชตระกูลมะเขือ เป็นไม้ข้ามปี มีถิ่นกำเนิดในแถบรัฐฟลอริดา, หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์, เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นวัชพืชขึ้นกระจัดกระจายเกือบทั่วเขตร้อน มะเขือพวงใช้ตำผสมลงในน้ำพริกหลายชนิดเช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา ใช้ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า แกงอ่อม ซุบ กินดิบเป็นผักจิ้ม หรือกินสุกโดยการเผา ปิ้ง ย่างในภาษาใต้จะเรียกว่า "มะเขือเทศ" หรือ "เขือเทศ".

ใหม่!!: การผัดและมะเขือพวง · ดูเพิ่มเติม »

วุ้นเส้น

วุ้นเส้นอบแห้ง วุ้นเส้นสีเทาของเกาหลี วุ้นเส้น หรือ เส้นแกงร้อน ทำจากถั่วเขียว น้ำ และส่วนผสมอย่างอื่น เช่นแป้งมันฝรั่ง มีลักษณะเป็นเส้นกลมใสและยาว ปกติมักขายในรูปของวุ้นเส้นอบแห้ง เมื่อจะนำไปประกอบอาหารต้องแช่น้ำหรือต้มให้คืนรูปก่อน ตัวอย่างอาหารที่ใช้วุ้นเส้นคือ แกงจืด ผัดวุ้นเส้น กุ้งอบวุ้นเส้น เป็นต้น ในภาษาอังกฤษจะเรียกวุ้นเส้นว่า cellophane noodle เนื่องจากมีความใสคล้ายเซลโลเฟน เมื่อวุ้นเส้นถูกอบให้แห้ง วุ้นเส้นจะใสไม่มีสี หรือใสเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลอมเทา ไม่ควรสับสนระหว่างวุ้นเส้นและเส้นหมี่ (rice vermicelli) ซึ่งผลิตจากข้าวและสามารถเห็นเส้นเป็นสีขาวมากกว่าความใส วุ้นเส้นมักเป็นเส้นกลมและมีความหนาแตกต่างกันออกไป วุ้นเส้นที่แบนและกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรคล้ายเส้นใหญ่ก็ยังมีขายในต่างประเทศ (แต่ไม่มีขายในประเทศไทย).

ใหม่!!: การผัดและวุ้นเส้น · ดูเพิ่มเติม »

หอมใหญ่

หอมใหญ่ เป็นพืชหัว (bulb) ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดีที่ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–24 องศาเซลเซียส และมีความเค็มของดินปานกลาง เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเปลือกนอกบางๆหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต: ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์http://www.adirek.com/stwork/fruitvet/hom.htm.

ใหม่!!: การผัดและหอมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารจีน

ติ่มซำ อาหารจีนที่รู้จักกันดี อาหารจีน หมายถึงอาหารที่ประกอบขึ้นตามวัฒนธรรมของชาวจีน ซึ่งรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและ ฮ่องกง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปนิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อ อาหารที่รู้จักกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ หูฉลาม กระเพาะปลา วัฒนธรรมการกินเป็นการกินร่วมกันโดยอุปกรณ์การกินหลัก คือตะเกียบ อาหารจีนจะมีอุปกรณ์การทำหลักๆเพียงสี่อย่างคือ มีด เขียง กะทะก้นกลม และตะหลิว สมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว ได้เริ่มมีการแบ่งอาหารจีนเป็น 2 ตระกูลใหญ่ คือ อาหารเมืองเหนือ และอาหารเมืองใต้ กระทั่งต้นราชวงศ์ชิง ได้มีการแบ่งอาหารเป็น 4 ตระกูลใหญ่ ได้แก.

ใหม่!!: การผัดและอาหารจีน · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ใหม่!!: การผัดและผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผักกูด

ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์ Athyriaceae ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ มากกว่าในป่าทึบ มักพบบ่อยเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตในฤดูฝน มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน, แก้พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต, แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารบีตา-แคโรทีนและธาตุเหล็กสูง ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด, ผักกูดผัดน้ำมันหอย, แกงกะทิกับปลาย่าง, ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสด ๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน นอกจากนี้แล้ว ผักกูดยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมให้ได้รู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็.

ใหม่!!: การผัดและผักกูด · ดูเพิ่มเติม »

ข่า (พืช)

ป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน).

ใหม่!!: การผัดและข่า (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

คะน้า

น้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica alboglabra) เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยม ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน.

ใหม่!!: การผัดและคะน้า · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ใหม่!!: การผัดและตะไคร้ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: การผัดและนกกระจอกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก น้ำมันประกอบอาหาร (Cooking oil) คือ ส่วนประกอบในการทำอาหาร ซึ่งอาจทำจากไขมันของ พืช, หรือสัตว์ โดยนำมาใช้ ทอด หรือ ผัด หรือ ผสมในน้ำสลั.

ใหม่!!: การผัดและน้ำมันประกอบอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ไขมัน

มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.

ใหม่!!: การผัดและไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

เบคอน

อนแบบสุกแล้ว เบคอน (bacon) หรือ เนื้อรมควัน เป็นเนื้อสัตว์ (โดยมากมักใช้เนื้อหมู) ที่นำมาหมักเค็มด้วยเกลือเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำมาตากแห้งเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ ในอากาศที่เย็นแห้ง, บางแห่งอาจนำเบคอนมาต้ม หรือรมควันด้ว.

ใหม่!!: การผัดและเบคอน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเทศ

รื่องเทศนานาชนิด เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่างๆ ของพืชเช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น กระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริก พริกไทย อบเชย แม้กระทั่ง งา เครื่องเทศมีปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย ขึ้นชื่อว่าเครื่องเทศมีอยู่ 1 ชนิดที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นราชาของเครื่องเทศนั้นก็คือพริกไทยมีรสชาติเผ็ดร้อนนิยมใช้กันเป็นเครื่องปรุงและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในชาติตะวันตก ถือว่าเครื่องเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหาร จึงมีการเดินทางเสาะหาเครื่องเทศจากทั่วโลก ทำให้เกิดการค้าเครื่องเทศขึ้นอย่างจริงจัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเดินทางสำรวจโลกของชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด "เส้นทางสายเครื่องเทศ" ขึ้นอีกด้ว.

ใหม่!!: การผัดและเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ผัด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »