โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คะน้า

ดัชนี คะน้า

น้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica alboglabra) เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยม ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน.

4 ความสัมพันธ์: บีตา-แคโรทีนกอยโตรเจนวิตามินซีแคลเซียม

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: คะน้าและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

กอยโตรเจน

กะหล่ำปลี บรอกโคลี กระเทียม กอยโตรเจน (goitrogen) เป็นสารเคมีในพืชชนิดหนึ่งที่พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ และพืชตระกูลหอม มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ หากรับประทานผักผลไม้ที่มีสารชนิดนี้มากเกินไปอาจจะทำให้มีอาการท้องอืดและทำให้ร่างกายได้ขาดสารไอโอดีนจนทำให้เป็นโรคคอพอกได้ พืชที่มีสารกอยโตรเจน ได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาด บรอกโคลี คะน้า หัวหอม กระเทียม ฯลฯ สารกอยโตรเจนในพืชเมื่อโดนความร้อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน นอกจากนั้นยังมีพืชบางชนิดที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ จะมีสารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับกอยโตรเจน กล่าวคือกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้มากขึ้น.

ใหม่!!: คะน้าและกอยโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินซี

วิตามินซี (vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) หรือ แอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นแอนไอออนของกรดแอสคอร์บิก เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์อื่นบางชนิด และเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ วิตามินซีหมายถึงหลายวิตาเมอร์ซึ่งมีกัมมันตภาพวิตามินซีในสัตว์ ซึ่งรวมกรดแอสคอร์บิกและเกลือของมัน บางรูปอ็อกซิไดซ์ของโมเลกุลอย่างกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก แอสคอร์เบตและกรดแอสคอร์บิกมีอยู่ธรรมชาติในร่างกายเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกนำเข้าเซลล์ เนื่องจากรูปแปลงไปมาได้ตาม pH วิตามินซีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาเอ็นไซม์อย่างน้อยแปดปฏิกิริยา ซึ่งรวมหลายปฏิกิริยาของการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งหากทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดกลุ่มอาการรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด ในสัตว์ ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญมากในการสมานแผลและการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย แอสคอร์เบตยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อความเครียดอ็อกซิเดชัน (oxidative stress) ข้อเท็จจริงที่ว่า อีเนนทิโอเมอร์ (enantiomer) ดี-แอสคอร์เบต (D-ascorbate) ซึ่งไม่พบในธรรมชาติมีกัมมันตภาพต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับแอล-แอสคอร์เบตแต่มีกัมมันตภาพวิตามินน้อยกว่ามาก เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการทำหน้าที่วิตามินส่วนใหญ่ของแอล-แอสคอร์บิกนั้นมิได้อาศัยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมัน แต่เป็นปฏิกิริยาเอ็นไซม์ซึ่งสเตอริโอเคมีจาเพาะ (stereospecific) "แอสคอร์บิก" ที่ไม่มีอักษรบอกรูปอีแนนทิโอเมอร์จะสันนิษฐานว่าหมายถึงสารเคมีแอล-แอสคอร์เบตเสมอ แอสคอร์เบตจำเป็นต่อหลายปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมจำเป็นหลายปฏิกิริยาในสัตว์และพืชทุกชนิด มีการสร้างภายในในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ซึ่งทุกชนิดที่ไม่สังเคราะห์จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดแอสคอร์บิกมีการใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันอ็อกซิเดชัน.

ใหม่!!: คะน้าและวิตามินซี · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: คะน้าและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Brassica alboglabraผักคะน้าคาน้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »