เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปูไฮเกะ

ดัชนี ปูไฮเกะ

ปูไฮเกะ หรือ ปูซะมุไร (Heikegani; 平家蟹, ヘイケガニ) เป็นปูทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในท้องทะเลแถบเมืองชิโมะโนะเซะกิ จังหวัดยะมะงุจิ ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ปูไฮเกะ มีลักษณะเด่น คือ บนกระดองมีลวดลายที่มีลักษณะเหมือนใบหน้ามนุษย์ที่กำลังโกรธเกรี้ยวหรือหน้ากากซะมุไร ซึ่งชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า ปูชนิดนี้เป็นดวงวิญญาณของเหล่านักรบซะมุไรตระกูลไฮเกะ หรือไทระที่กลับชาติมาเกิด หลังจากได้ถูกฆ่าตายล้างตระกูลหรือกระโดดน้ำฆ่าตัวตายในท้องทะเลแถบนี้เมื่อปี ค.ศ.

สารบัญ

  1. 17 ความสัมพันธ์: ชิโมโนเซกิฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์พ.ศ. 1728การคัดเลือกพันธุ์กุ้งรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบสัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์ขาปล้องสงครามเก็มเปอุตะงะวะ คุนิโยะชิฮิโตะดะมะจังหวัดยามางูจิตระกูลมินะโมะโตะตระกูลไทระปูแพริโดเลีย

  2. ปู

ชิโมโนเซกิ

มโนเซกิ เป็นนครในจังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางปลายทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของเกาะฮนชูติดกับช่องแคบสึชิมะ และอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองคิตะกีวชู จังหวัดฟูกูโอกะ โดยมีช่องแคบคันมงกั้นระหว่างกัน มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 716.14 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ดู ปูไฮเกะและชิโมโนเซกิ

ฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์

ฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ (Philipp Franz von Siebold; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1866) เป็นแพทย์ นักพฤกษศาสตร์ นักเดินทาง มีชื่อเสียงจากการศึกษาพฤกษชาติและพรรณสัตว์ประจำถิ่นของญี่ปุ่น ได้แนะนำการแพทย์แบบตะวันตกให้แก่ประเทศญี่ปุ่น เขายังเป็นบิดาของแพทย์หญิงคนแรกของญี่ปุ่น คุซุโมะโตะ อิเนะ หมวดหมู่:นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน.

ดู ปูไฮเกะและฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์

พ.ศ. 1728

ทธศักราช 1728 ใกล้เคียงกั.

ดู ปูไฮเกะและพ.ศ. 1728

การคัดเลือกพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์ หรือ การคัดเลือกโดยมนุษย์ คือกระบวนการที่มนุษย์ผสมพันธุ์สัตว์และพืชเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยง และทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมพันธุ์สัตว์ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวไว้ใน Origin of Species ว่าการคัดเลือกพันธุ์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นข้อมูลสนับสนุนให้ดาร์วินเสนอทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติขึ้นมาได้ หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ.

ดู ปูไฮเกะและการคัดเลือกพันธุ์

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ดู ปูไฮเกะและกุ้ง

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ดู ปูไฮเกะและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปูไฮเกะและสัตว์

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ดู ปูไฮเกะและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ดู ปูไฮเกะและสัตว์ขาปล้อง

สงครามเก็มเป

งครามเก็มเป เป็นสงครามอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ปลายยุคเฮอัง ของญี่ปุ่น จากสงครามครั้งนี้ทำให้ตระกูลไทระพ่ายแพ้และต้องสูญสิ้นอำนาจ ในขณะที่ตระกูลมินะโมะโตะก็เข้าครองอำนาจ และสถาปนารัฐบาลโชกุนคะมะกุระ อาจกล่าวได้ว่า สงครามครั้งนี้เป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคเฮอังและยุคคะมะกุร.

ดู ปูไฮเกะและสงครามเก็มเป

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ (ราว ค.ศ. 1797 - 14 เมษายน ค.ศ. 1861) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของสำนักศิลปินอุตะงะวะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ดู ปูไฮเกะและอุตะงะวะ คุนิโยะชิ

ฮิโตะดะมะ

ตะดะมะ (人魂; หมายถึง "วิญญาณมนุษย์") เป็นคำที่มาจากตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น เป็นความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ.

ดู ปูไฮเกะและฮิโตะดะมะ

จังหวัดยามางูจิ

ังหวัดยามางูจิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นในภูมิภาคชูโกกุบนเกาะฮนชู ยามางูจิเป็นเมืองเอกของจังหวัด แต่เมืองใหญ่ที่สุดคือชิโมโนเซก.

ดู ปูไฮเกะและจังหวัดยามางูจิ

ตระกูลมินะโมะโตะ

ตระกูลมินะโมะโตะ เป็นตระกูลซะมุไรที่ทรงอำนาจและอิทธิพลที่สุดตระกูลหนึ่งในญี่ปุ่นยุคเฮอัง เนื่องจากตระกูลนี้ได้ครองตำแหน่งโชกุน เป็นตระกูลแรกของญี่ปุ่น ตระกูลมินะโมะโตะสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิซะงะ ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี..

ดู ปูไฮเกะและตระกูลมินะโมะโตะ

ตระกูลไทระ

ตราประจำตระกูลไทระ ตระกูลไทระ เป็นตระกูล ซะมุไร ที่ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจอิทธิพลมากที่สุดตระกูลหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ตระกูลไทระสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง พระนามว่า จักรพรรดิคันมู ในปี พ.ศ.

ดู ปูไฮเกะและตระกูลไทระ

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 5 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชน.

ดู ปูไฮเกะและปู

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ดู ปูไฮเกะและแพริโดเลีย

ดูเพิ่มเติม

ปู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ HeikeganiHeikeopsis japonicaSamurai crabปูซะมุไร