สารบัญ
10 ความสัมพันธ์: กุมภาพันธ์วิษุวัตอีสเตอร์ปฏิทินสุริยจันทรคติปฏิทินฮีบรูปฏิทินเกรโกเรียนปีปกติสุรทินปีปฏิทิน21 มีนาคม29 กุมภาพันธ์
- ปฏิทิน
- หน่วยเวลา
กุมภาพันธ์
กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมีน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือน.
วิษุวัต
ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.
อีสเตอร์
นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.
ปฏิทินสุริยจันทรคติ
ปฏิทินสุริยจันทรคติ (lunisolar calendar) เป็นคำใช้เรียกรูปแบบการใช้ปฏิทินรูปแบบหนึ่ง มีใช้กันในหลายวัฒนธรรม โดยใช้ดิถีของดวงจันทร์เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรม บอกเดือน ตามแบบปฏิทินจันทรคติ โดยมากจะใช้บอกวันสำคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณีดั้งเดิม และมีการกำหนดวันตามแบบปฏิทินสุริยคติ เพื่อบอกเดือน และปี ในรูปแบบผสมนี้มักกำหนดปีตามรอบสุริยคติ คือปีหนึ่งมี 365 วัน หรือ 366 วัน.
ดู ปีอธิกสุรทินและปฏิทินสุริยจันทรคติ
ปฏิทินฮีบรู
ปฏิทินยิวระหว่างปีค.ศ. 1927 และ 1948 ปฏิทินฮีบรู หรือ ปฏิทินยิว (Hebrew calendar; הלוח העברי) เป็นปฏิทินประจำปีใช้ในศาสนายูดาห์ ภายในระบุวันหยุดทางศาสนายูดาห์ คำสอนทั่วไปในคัมภีร์โทราห์ ยาร์ทเซียส (Yahrtzeit) ซึ่งเป็นวันระลึกถึงวันตายของญาติสนิท และซาล์ม (เพลงสวด) ตามวัน.
ปฏิทินเกรโกเรียน
ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
ดู ปีอธิกสุรทินและปฏิทินเกรโกเรียน
ปีปกติสุรทิน
ปีปกติสุรทิน (common year) เป็นปีปฏิทินที่มีจำนวนวัน 365 วัน และไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน ใน 365 วันของปีปกติสุรทิน มี 52 สัปดาห์กับอีก 1 วัน ดังนั้นปีปกติสุรทินจึงเริ่มและสิ้นสุดในวันเดียวกันของสัปดาห์ (เช่น ในปี 2553 วันที่ 1 มกราคมและ 31 ธันวาคมเป็นวันศุกร์) หมวดหมู่:ปฏิทิน หมวดหมู่:หน่วยเวลา.
ดู ปีอธิกสุรทินและปีปกติสุรทิน
ปีปฏิทิน
ปีปฏิทิน ในปฏิทินเกรกอเรียนที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เริ่มต้นจากวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ส่วนปีแบบอื่น ๆ ที่ครบรอบใน 12 เดือน ได้แก่ ปีงบประมาณที่ใช้ในการบัญชี โดยปกติ ปีปฏิทินเริ่มต้นจากวันปีใหม่ของระบบปฏิทินใด ๆ และสิ้นสุดในวันสุดท้ายก่อนวันปีใหม่ของปีถัดไป ปีปฏิทินแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ปีปกติสุรทิน (common year) และปีอธิกสุรทิน (leap year).
21 มีนาคม
วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 80 ของปี (วันที่ 81 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 285 วันในปีนั้น.
29 กุมภาพันธ์
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เรียกวันนี้ว่าเป็นวัน อธิกวาร (leap day) ในเกรกอเรียน ปี..
ดู ปีอธิกสุรทินและ29 กุมภาพันธ์
ดูเพิ่มเติม
ปฏิทิน
- การทดปฏิทิน
- ทุติยเพ็ญ
- ปฏิทิน
- ปฏิทินสุริยจันทรคติ
- ปฏิทินเกาหลีเหนือ
- ปฏิทินไทย
- ปัญหาปี ค.ศ. 2000
- ปีปกติสุรทิน
- ปีปฏิทิน
- ปีอธิกสุรทิน
- ภาคการศึกษา
- ฤดูกาล
- วัฏจักรเมตอน
- อายัน
- เดือน
หน่วยเวลา
- กัป
- การทดปฏิทิน
- ชั่วโมง
- ทศวรรษ
- นาที
- ปฏิทิน
- ปักษ์
- ปีปกติสุรทิน
- ปีปฏิทิน
- ปีอธิกสุรทิน
- พันปี
- ยุค
- ฤดูกาล
- ล้านปี
- วัน
- วินาที
- ศตวรรษ
- ศักราช
- สหัสวรรษ
- สัปดาห์
- หมื่นปี
- เดือน
- แซรอส
- แผนภูมิสวรรค์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ อธิกสุรทิน