โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)

ดัชนี ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)

ปาเลสไตน์ เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในตะวันออกกลาง อาจหมายถึง.

12 ความสัมพันธ์: ยัสเซอร์ อาราฟัตรัฐปาเลสไตน์สหสาธารณรัฐอาหรับสันนิบาตอาหรับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ดินแดนปาเลสไตน์ตะวันออกกลางฉนวนกาซาปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)ปาเลสไตน์ในอาณัติเวสต์แบงก์

ยัสเซอร์ อาราฟัต

ัสเซอร์ อาราฟัต (ياسر عرفات ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (ابو عمّار) ชื่อจริงคือ โมฮัมหมัด อับดุล ราห์มาน อัลดุล ราอูฟ อาราฟัต อัล กุดวา (محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และยัสเซอร์ อาราฟัต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปาเลสไตน์

แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ รัฐปาเลสไตน์ (دولة فلسطين‎ Dawlat Filasṭin) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations, an application for the admission of Palestine on the basis of the 4 June 1967 borders, with Al-Kuds Al-Sharif as its capital, as a full member of the United Nations." และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสรเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967 การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์Hillier, 1998, (via Google Books).

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และรัฐปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สหสาธารณรัฐอาหรับ

หสาธารณรัฐอาหรับ (United Arab Republic; UAR; الجمهورية العربية المتحدة) เป็นสหภาพทางการเมืองอายุสั้นระหว่าง อียิปต์ และ ซีเรีย การรวมตัวกันเริ่มต้นเมื่อ..

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และสหสาธารณรัฐอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และสันนิบาตอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การบริหารปาเลสไตน์ (السلطة الوطنية الفلسطينية‎ As-Sulṭah Al-Waṭaniyyah Al-Filasṭīniyyah) เป็นองค์การปกครองที่ตั้งขึ้นเพื่อปกครองเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา เป็นผลของข้อตกลงกรุงออสโลปี 2537 นับแต่สถาปนา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และในปี 2556 รัฐบาลฟาตาห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ หลังการเลือกตั้งในปี 2549 และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามมาระหว่างพรรคฟาตาห์และฮามาส อำนาจขององค์การฯ จึงขยายไปถึงเพียงเวสต์แบงก.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนปาเลสไตน์

นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และดินแดนปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ในอาณัติ

ปาเลสไตน์ในอาณัติ (Mandatory Palestine; فلسطين; פָּלֶשְׂתִּינָה (א"י), where "EY" indicates "Eretz Yisrael") เป็นหน่วยภูมิรัฐศาสตร์ ภายใต้การดูแลของสหราชอาณาจักร ในส่วนที่เป็นเขต จักรวรรดิออตโตมัน และ ซีเรียตอนใต้ ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2463 จนถึง พ.ศ. 2491.

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และปาเลสไตน์ในอาณัติ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)และเวสต์แบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »