โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปากนรกภูมิ

ดัชนี ปากนรกภูมิ

ปากนรกภูมิ (Hellmouth หรือ Mouth of Hell) คือทางเข้าสู่ขุมนรกที่เป็นภาพปากที่อ้ากว้างของยักษาตัวใหญ่ ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่เริ่มเขียนกันขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะแองโกล-แซ็กซอน และต่อมาก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรป และเป็นภาพที่นิยมวาดเป็นองค์ประกอบของภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” และ “ลงสู่ขุมนรก” (Harrowing of Hell) จนกระทั่งมาถึงปลายยุคกลาง และบางครั้งก็เลยมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและหลังจากนั้น การเขียน “ปากนรกภูมิ” มาฟื้นฟูกันอีกครั้งในภาพพิมพ์สมัยนิยม (Popular print) หลังการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เมื่อรูปลักษณ์ของผู้ที่เป็นศัตรูจะเป็นผู้ที่กำลังจะถูกกลืนหายเข้าไปในปาก งานชิ้นสำคัญในสมัยหลังเป็นงานเขียนสองชิ้นของเอลเกรโกที่เขียนราวปี ค.ศ. 1578 หรือการ์ตูนล้อการเมืองที่เป็นภาพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นำหน้ากองทัพไปสู่ความหายนะในปากนรก การละครของยุคกลางมักจะใช้ปากนรกภูมิเป็นฉาก หรือ เครื่องชัก เพื่อที่จะสร้างความหวั่นกลัวให้แก่ผู้ชม ในการสร้างภาพพจน์อันสยดสยองของทางเข้าสู่ขุมนรก ลักษณะที่สร้างก็มักจะเป็นทางเข้าปราสาทโบราณที่มีเชิงเทิน โดยเพราะเมื่อต้องการที่จะเปรียบเทียบกับสวรรค์ งานชิ้นโบราณที่สุดของปากนรกภูมิที่เป็นปากสัตว์เท่าที่ทราบโดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกันเมเยอร์ ชาพิโรเป็นงานสลักงาช้างที่สลักขึ้นราว ค.ศ. 800 (พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต, ลอนดอน) ชาพิโรกล่าวว่างานส่วนใหญ่ที่สร้างก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นงานที่ทำในอังกฤษ ชาพิโรสันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ดังกล่าวอาจจะมาจากตำนานปรัมปรา “แครคเดอะดูม” ของเพกัน ที่เป็นปากของหมาป่ายักษ์เฟนเรียร์ ผู้ถูกสังหารโดยวิดาร์ ผู้ใช้สัญลักษณ์ของไครสต์บนกางเขนกอสฟอร์ธ และจากงานศิลปะแองโกล-สแกนดิเนเวียชิ้นอื่นๆ ในการผสานกลืนเข้ากับไวกิงที่ถือคริสต์ศาสนาของประชาชนทางตอนเหนือของอังกฤษ สถาบันศาสนาก็ดูเหมือนพร้อมที่จะยอมรับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในประเพณีนิยมของท้องถิ่นเข้ามาผสานกับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในคริสต์ศาสนาโดยมิได้ทำการขัดขวาง เช่นในการใช้หินสลักสำหรับที่หมายหลุมศพแบบไวกิงเป็นต้น ที่กล่าวถึงในวรรณกรรม “เบวูล์ฟ” ในหนังสือแองโกล-แซ็กซอน “Vercelli Homilies” (4:46-8) กล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างซาตานกับมังกรที่กลืนผู้ที่ชั่วร้าย: “...

32 ความสัมพันธ์: ชาวไวกิงพ.ศ. 1343พ.ศ. 1693พ.ศ. 2018พ.ศ. 2121การพิพากษาครั้งสุดท้ายการผสานกลืนทางวัฒนธรรมการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การ์ตูนล้อการเมืองการเสด็จสู่แดนผู้ตายภาษาฮีบรูมังกรลัทธินอกศาสนาวาฬศาสนาคริสต์ศิลปะสมัยกลางศิลปะแองโกล-แซกซันสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสวรรค์หีบแฟรงค์หนังสือกันดารวิถีจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ซาตานปราสาทนรกแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรีเบวูล์ฟเชิงเทินเลวีอาธานเอลเกรโกเซอร์เบอรัส

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1343

ทธศักราช 1343 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและพ.ศ. 1343 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1693

ทธศักราช 1693 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและพ.ศ. 1693 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2018

ทธศักราช 2018 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและพ.ศ. 2018 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2121

ทธศักราช 2121 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและพ.ศ. 2121 · ดูเพิ่มเติม »

การพิพากษาครั้งสุดท้าย

การพิพากษาครั้งสุดท้าย(Last Judgment) หรือ วันแห่งการพิพากษา (Day of Judgment) หรือ วันโลกาวินาศ (Doomsday) ตามหลักอวสานวิทยาศาสนาคริสต์ (Christian eschatology) หมายถึง วันที่พระเป็นเจ้าทรงพิพากษาบรรดาประชาชาติต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนชีพของบรรดาผู้ตายและการมาครั้งที่สองของพระเยซู หัวข้อนี้เป็นที่นิยมทำในงานศิลปะต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าพระเจ้าทรงกำหนดวันหนึ่งไว้เพื่อจะพิพากษาโลก และวันแห่งการพิพากษานั้นจะยาวนานหนึ่งพันปี พระเจ้าจะทรงทำลายองค์ประกอบต่างๆของสังคมมนุษย์ที่เสื่อมทรามและกำจัดคนชั่ว ผู้รอดชีวิตจากอวสานของยุคนี้คือ "คนเป็น" ที่จะถูกพิพากษา ในช่วงการพิพากษาซึ่งยาวนานหนึ่งพันปีนั้น พระเยซูพร้อมด้วยชายและหญิง 144,000 คนที่ถูกปลุกขึ้นจากตายสู่ชีวิตในสวรรค์จะปกครองแผ่นดินโลก ในวันพิพากษา ซาตานและเหล่าผีปิศาจจะถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจครอบงำกิจการของมนุษ.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและการพิพากษาครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

การผสานกลืนทางวัฒนธรรม

การผสานกลืนทางวัฒนธรรม หรือ การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Cultural assimilation) คือการโต้ตอบทางการเมืองต่อสถานการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับความแตกต่างของชาติพันธุ์ ที่เป็นนโยบายในการส่งเสริมการกลืนชนกลุ่มน้อยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชนหมู่มาก การผสานทางวัฒนธรรมเป็นปรัชญาที่ตรงกันข้ามกับปรัชญาของการยอมรับความแตกต่าง (affirmative philosophy) เช่นในปรัชญาพหุวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism) ที่เป็นปรัชญาที่แสวงหาการดำรงความแตกต่างของชนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม คำว่า “การผสานกลืน” หรือ “assimilation” มักจะเป็นคำที่ใช้กับชนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ เช่นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในในสหรัฐอเมริกา ประเพณีใหม่และทัศนคติก็จะได้รับจากการติดต่อและการสนทนาปราศรัย แต่การรับวัฒนธรรมใหม่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทางเดียว ชนอพยพแต่ละกลุ่มต่างก็มีส่วนในการนำวัฒนธรรมของตนเองเข้ามาผสานกับวัฒนธรรมในสังคมใหม่ด้วย “การผสานกลืน” มักจะเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปและมากน้อยตามแต่สถานการณ์ การการผสานกลืนที่สมบูรณ์เกิดขึ้นเมื่อสังคมไม่อาจจะแยกระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมและผู้ที่เข้ามาใหม่ได้.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและการผสานกลืนทางวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูนล้อการเมือง

กรมรถไฟหลวง ฝีพระหัตถ์โดย รัชกาลที่ 6 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกๆ ของไทย การ์ตูนล้อการเมือง (Political Cartoon) หรือ การ์ตูนบรรณาธิการ (Editorial Cartoon) คือ ภาพการ์ตูนที่วาดและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์, นิตยสาร โดยมีเนื้อหาล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคม, เศรษฐกิจและการเมือง จุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานและความขบขัน ในบางครั้งอาจสอดแทรกถึงวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองนั้น ถือว่า เป็นคอลัมนิสต์หรือบรรณาธิการคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ เรียกว่า นักเขียนการ์ตูน (Cartoonist).

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและการ์ตูนล้อการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย (Descensus Christi ad Inferos, Harrowing of Hell) เป็นหลักความเชื่อหนึ่งในเทววิทยาคริสเตียนตามหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียนที่กล่าวว่า “พระเยซูเสด็จสู่แดนผู้ตาย” ซึ่งเป็นนรกภูมิแบบหนึ่งตามความเชื่อของชาวยิว แต่เพราะความที่ขาดการอ้างอิงที่ชัดแจ้งในบทบันทึกทางศาสนาทำให้ความเชื่อนี้ยังยังคงเป็นที่ถกเถียงและตีความแตกต่างกันอยู.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและการเสด็จสู่แดนผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มังกร

มังกร มังกร (dragon; จากdraco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตร.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยกลาง

ประติมากรรมโรมาเนสก์ ศิลปะยุคกลาง (Medieval art) “ศิลปะยุคกลาง” ในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะของยุโรป, ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเหนือ บริบทของศิลปะยุคกลางรวมขบวนการทางศิลปะและสมัยศิลปะที่สำคัญๆ ทั้งระดับชาติ, ระดับท้องถิ่น, ประเภทงาน, การฟื้นฟู, งานศิลปะ และ ศิลปินเอง นักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามที่จะให้ความหมายและนิยามศิลปะยุคกลางออกเป็นสมัยและ ลักษณะแต่ก็ประสบกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วก็จะรวมคริสเตียนยุคแรก, ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน, ศิลปะไบแซนไทน์, ศิลปะเกาะ, ยุคก่อนโรมาเนสก์ and ศิลปะโรมาเนสก์ และศิลปะกอธิค และยังรวมไปถึงสมัยอื่นๆ อีกหลายสมัยภายในกลุ่มลักษณะนี้ นอกจากการแบ่งแยกลักษณะไปตามภูมิภาคแล้วลักษณะของสังคมโดยทั่วไปในช่วงนี้เป็นสังคมที่อยู่ในระหว่างการสร้างตนเองให้เป็นชาติเป็นวัฒนธรรม และจะมีลักษณะศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่นศิลปะแองโกล-แซ็กซอน หรือ ศิลปะนอร์ส งานศิลปะยุคกลางมีหลายรูปแบบแต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นก็ได้แก่งานประติมากรรม, หนังสือวิจิตร, งานกระจกสี, งานโลหะ และ งานโมเสกซึ่งเป็นงานที่มีความเป็นถาวรภาพมากกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งานไม้ หรือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, รวมทั้งพรมแขวนผนัง ศิลปะยุคกลางในยุโรปวิวัฒนาการมาจากต้นรากของธรรมเนียมนิยมทางศิลปะของจักรวรรดิโรมันรูปสัญลักษณ์คริสเตียนของสมัยคริสเตียนตอนต้น ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทางศิลปะของ “อนารยชน” จากทางตอนเหนือของยุโรปออกมาเป็นศิลปะอันมีคุณค่าที่เป็นงานศิลปะที่วางรากฐานของศิลปะของยุโรปต่อมา และอันที่จริงแล้วศิลปะยุคกลางก็คือประวัติศาสตร์ของปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก, คริสเตียนตอนต้น และอนารยชน นอกไปจากลักษณะที่ออกจะเป็นทางการของศิลปะคลาสสิกแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างงานที่แสดงสัจนิยมของสิ่งที่สร้างที่จะเห็นได้จากงานศิลปะไบแซนไทน์ตลอดยุคนี้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น ขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันตกดูจะผสานหรือบางครั้งก็จะเป็นการแข่งขันกับการแสดงออกที่เกิดขึ้นในศิลปะตะวันตก และ องค์ประกอบของการตกแต่งอันมีชีวิตจิตใจของทางตอนเหนือของยุโรป ศิลปะยุคกลางมาสิ้นสุดลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เป็นสมัยของการหวนกลับมาฟื้นฟูความเชี่ยวชาญและคุณค่าของศิลปะคลาสสิก จากนั้นศิลปะยุคกลางก็หมดความสำคัญลงและได้รับการดูแคลนต่อมาอีกหลายร้อยปี เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะยุคกลางก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเห็นกันว่าเป็นสมัยศิลปะที่มีความรุ่งเรืองเป็นอันมากและเป็นพื้นฐานของการวิวัฒนาการของศิลปะตะวันตกต่อม.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและศิลปะสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะแองโกล-แซกซัน

หนังสือประทานพรเซนต์เอเธลโวลด์''” ที่ประกอบด้วยภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม หนังสือแคดมอน” เป็นภาพเทวดารักษาประตูสวรรค์ หลังจากที่อาดัมและอีฟถูกขับจากสวรรค์ หินเฮดดาซึ่งเป็นตัวอย่างของงานสลักหินของสมัยแองโกล-แซกซัน พระแม่มารีทองแห่งเอสเซิน ศิลปะแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon art) คือศิลปะที่สร้างขึ้นในสมัยแองโกล-แซกซันในประวัติศาสตร์อังกฤษโดยเฉพาะตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (ค.ศ. 871-ค.ศ. 899) เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมของอังกฤษขึ้น หลังจากการรุกรานของไวกิงยุติลง และมาสิ้นสุดเอาเมื่อนอร์มันพิชิตอังกฤษได้ในปี..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและศิลปะแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หีบแฟรงค์

หีบแฟรงค์ (Franks Casket หรือ Auzon Runic Casket) เป็นหีบที่สลักจากกระดูกวาฬของสมัยแองโกล-แซ็กซอน ที่ในปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติช, ลอนดอน, อังกฤษ หีบแน่นไปด้วยลวดลายสลักด้วยมีดแซะเป็นฉากเรื่องราวแบบงานสลักนูนราบสองมิติ พร้อมด้วยคำจารึกส่วนใหญ่ที่เป็นอักษรรูนส์ การตีความหมายของภาพและอักษรจารึกยังคงเป็นเรื่องที่ศึกษากันอยู่อย่างลึกซึ้ง แต่โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่ามีที่มาจากนอร์ทธัมเบรีย หีบแฟรงค์เป็นงานชิ้นที่มีความสำคัญในการทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมแองโกล-แซ็กซอนตอนต้น หัวข้อและที่มาของภาพสลักบนหีบแตกต่างกันไป ที่รวมทั้งภาพคริสเตียนภาพหนึ่ง “การชื่นชมของแมไจ” และ ภาพที่มาจากประวัติศาสตร์โรมัน (จักรพรรดิไททัส) และ ตำนานเทพโรมัน (รอมิวลุส และรีมุส) และภาพจากตำนานของชนพื้นเมืองเจอร์มานิค: ตำนานเจอร์มานิคเกี่ยวกับเวย์แลนด์ช่างตีเหล็ก, ฉากจากตำนานซิเกิร์ด และตำนานจากตอนที่หายไปของตำนานเกี่วยกับอยิลลัซน้องชายของเวย์แลนด์ช่างตีเหล็ก คำจารึก “แสดงถึงความสามารถทางภาษาและอักขระ แม้ส่วนใหญ่จะเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเก่าและอักษรรูนส์ ขณะที่ยังเขียนเป็นภาษาละติน” บ้างก็เขียนกลับหัวกลับหางหรือจากขวาไปซ้าย จะเห็นได้ชัดว่าเป็นลักษณะของหีบเป็นงานที่เลียนแบบงานหีบสลักงาช้างของยุคโบราณตอนปลายของเบรสเชีย เช่นเดียวกับหีบโวโรลีซึ่งเป็นงานของไบแซนไทน์ที่แผลงมาจากศิลปะคลาสสิกที่สร้างราว..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและหีบแฟรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือกันดารวิถี

หนังสือกันดารวิถี (Book of Numbers; במדבר; Αριθμοί) เป็นหนังสือเล่มที่ 4 ในเบญจบรรณ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวงศ์วานอิสราเอลที่ต่อเนื่องมาจากหนังสืออพยพ หนังสือกันดารวิถีแปลมาจากคัมภีร์ฮีบรู (במדבר ba-midbar) ซึ่งแปลว่า "ในถิ่นทุรกันดาร..." ซึ่งเป็นคำแรกของคัมภีร์ฉบับนี้ แต่ในภาษาอังกฤษ ใช้ชือว่า The Book of Numbers เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการทำสำมะโนประชากรอิสราเอลถึงสองครั้ง ที่ภูเขาซีนาย และที่โมอับ ในขณะที่ภาษาไทยใช้ชื่อว่า "หนังสือกันดารวิถี" เนื่องจากหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพงศาวดารของอิสราเอลช่วงที่ต้องใช้ชีวิตในถิ่นทุรกันดาร (ทะเลทราย) เป็นเวลา 40 ปี ก่อนจะได้เข้าสู่แผ่นดินคานาอัน เนื้อหาในหนังสือกันดารวิถีนี้ จะแบ่งส่วนสำคัญออกได้เป็น ส่วน.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและหนังสือกันดารวิถี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ซาตาน

''Depiction of Satan'' โดย จอห์น มิลตัน ค.ศ. 1866 ซาตานถูกกำราบโดยอัครทูตสวรรค์มีคาเอล ซาตาน (שָּׂטָן satan หมายถึง "ศัตรู หรือ ปฏิปักษ์"; شيطان shaitan หมายถึง "หลงผิด") เป็นตัวตนซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาอับราฮัม ว่าเป็นผู้นำพาความชั่วร้ายและเป็นผู้ชักจูงมวลมนุษย์ไปในทางที่ผิด ในบางศาสนาสอนว่าซาตานคือทูตสวรรค์ที่เคยเปี่ยมด้วยความงดงามและเป็นที่เคารพ ซาตานทำให้เกิดสงครามบนสวรรค์และร่วงหล่นจากสวรรค์เพราะความหยิ่งผยองในตน และได้ล่อลวงมนุษย์ชาติไปสู่การโกหกและบาป จึงกลายเป็นผู้มีอำนาจในโลกมนุษย์ ในคัมภีร์ฮีบรูและพันธสัญญาใหม่ระบุว่าซาตานเป็นศัตรูตัวฉกาจ เป็นตัวแทนแห่งภัยชั่วร้ายอย่างแท้จริง บางครั้งก็เรียกว่าปีศาจ เป็นสัญลักษณ์ของความชิงชัง คำว่า "ซาตาน" มักไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ แต่ใช้คำว่า ὁ δράκων (dragon) ซึ่งโรมันคาทอลิกแปลว่า "มังกร" ส่วนโปรเตสแตนต์แปลว่า "พญานาค" และใช้คำว่า "ศัตรู/ปฏิปักษ์" (adversary) แทน โดยมักปรากฏภาพอัครทูตสวรรค์มีคาเอลกำราบพญานาคอยู่ตามอาสนวิหารต่างๆ โดยในหนังสือวิวรณ์ระบุถึงพญานาคและเหตุการณ์นั้นไว้ว่า "...พญานาคสีแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง มันมีเจ็ดหัวและสิบเขา และบนหัวทั้งเจ็ดมีมงกุฎเจ็ดอัน และหางของพญานาคตวัดดวงดาวหนึ่งส่วนสามในท้องฟ้า แล้วทิ้งลงมาบนแผ่นดินโลก...ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอลกับบรรดาทูตสวรรค์ของท่านต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้ แต่มันพ่ายแพ้และพบว่าไม่มีที่อยู่สำหรับพวกมันในสวรรค์อีกต่อไป พญานาคใหญ่ตัวนั้นคืองูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่ามารและซาตานผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก มันถูกโยนลงมาที่แผ่นดินโลก และเหล่าบริวารของมันถูกโยนลงมากับมันด้วย" ในพระวรสารนักบุญมัทธิว เมื่อครั้งพระเยซูจะเดินทางเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ทรงถูกเปรโตรอัครสาวกหยุดยื้อไว้เพราะไม่ต้องการให้เหตุร้ายเกิดกับพระองค์ พระเยซูได้ตำหนิเปโตรอย่างรุนแรงว่า "จงไปให้พ้น เจ้าซาตาน เจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเรา เพราะเจ้าไม่ได้คิดอย่างพระเจ้า แต่เจ้าคิดอย่างมนุษย์".

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและซาตาน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและนรก · ดูเพิ่มเติม »

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี (Très Riches Heures du Duc de Berry หรือ Très Riches Heures - หอสมุดแห่งพระราชวังชองตีย์, ชองตีย์, ฝรั่งเศส) เป็นชื่อหนังสือกำหนดเทศกาลที่ตกแต่งอย่างงดงาม เนื้อหาของหนังสือรวมบทสวดมนต์สำหรับสวดตามเวลาที่ระบุไว้ในบทบัญญัติทางศาสนา “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” ที่ว่าจ้างให้เขียนโดยฌองดยุกแห่งแบร์รีเมื่อราว ค.ศ. 1410 อาจจะถือกันว่าเป็นหนังสือวิจิตรฉบับที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 -- “le roi des manuscrits enluminés” (ราชาแห่งหนังสือวิจิตร) “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” มีด้วยกัน 416 หน้าที่ 131 เป็นจุลจิตรกรรมขนาดใหญ่ และหน้าที่มีการตกแต่งขอบหรืออักษรตัวต้นประดิษฐ์อย่างงดงามอีกหลายหน้า แม้ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของศิลปะกอธิคนานาชาติ อักษรประดิษฐ์มีด้วยกันทั้งสิ้น 300 ตัว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้เวลาเขียนอยู่เกือบหนึ่งร้อยปี ในสามช่วงสำคัญๆ ที่นำโดยพี่น้องลิมบวร์ก, บาเธเลมี ฟาน เอค และฌอง โคลอมบ์ งานของพี่น้องลิมบวร์กเป็นงานที่มีฝีแปรงอันละเอียด และใช้สีที่มีราคาสูงในการเขียน.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี · ดูเพิ่มเติม »

เบวูล์ฟ

ต้นฉบับเก่าแก่ของบทกวี ''เบวูล์ฟ'' หน้าแรก เบวูล์ฟ (Beowulf) เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958).

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและเบวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เชิงเทิน

วาดของเชิงเทิน ด้านข้างของภาพวาดของเชิงเทินปราสาทปิเยร์ฟงด์ (Château de Pierrefonds) ที่เป็นเชิงเทินสามชั้น เชิงเทิน (Battlement หรือ Crenellation) เป็นสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์เช่นบนกำแพงเมืองหรือปราสาทที่ประกอบด้วยกำแพงบัง (parapet) ที่เป็นกำแพงเตี้ยที่บากออกเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ เพื่อใช้ในการยิงธนูหรือเครื่องยิงอื่นๆ ออกจากกำแพง ส่วนที่บากหรือตัดออกไปเรียกว่า “ช่องกำแพง” (Embrasure) ส่วนที่เป็นกำแพงเรียกว่า “ใบสอ” (Merlon) พื้นเชิงเทินมักจะมีช่องที่เปิดได้ระหว่างคันทวย ที่ใช้ในการหย่อนหินหรือของร้อนลงมายังหรือยิงศัตรูที่อยู่ข้างล่าง ส่วนนี้เรียกว่าช่องเชิงเทิน (machicolation) คำว่า “Battlement” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า “batailler” ที่แปลว่าสร้างเสริมด้วย “batailles” หรือหอเล็ก.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและเชิงเทิน · ดูเพิ่มเติม »

เลวีอาธาน

"การสังหารเลวีอาธาน" ภาพพิมพ์ ค.ศ. 1865 โดย กุสตาฟ โดเร (Gustave Doré) เลวีอาธาน ("ม้วน; ขด", ภาษาฮิบรูมาตรฐาน Livyatan, ภาษาฮิบรูติเบเรียน) เป็นสัตว์ร้ายในทะเล ตามความในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในศาสนาคริสต์ อ้างไว้ในพระพันธสัญญาเดิม (เพลงสดุดี 74:13-14; โยบ 41; และ อิสยาห์ 27:1) จอมปีศาจแห่งริษยาตกเป็นตำแหน่งของงูยักษ์เลวีอาธาน มันถูกกล่าวถึงทั้งในคัมภีร์ยิวและไบเบิ้ล ว่าเป็นสัตว์ทะเลขนาดยักษ์ มีหลายหัว มีฟันแหลมคมเหมือนจระเข้ มีดวงตาดั่งขนตาของตะวัน (หมายถึงมันโผล่ตาขึ้นมาเหนือน้ำเหมือนที่จระเข้ทำเวลาล่าเหยื่อ ตามันจะโผล่พ้นน้ำมาเล็กน้อย เหมือนพระอาทิตย์โผล่พ้นเหลี่ยมเขาในตอนเช้า) บางครั้งมันก็ถูกกล่าวว่าเป็นพลังแห่งความสับสนวุ่นวายเมื่อครั้งสร้างโลก คัมภีร์ปฐมกาลกล่าวว่า "ในปฐมกาลพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดินแผ่นดินก็ว่างเปล่า ความมืดอยู่เหนือน้ำ และพระวิญญาณของพระเจ้าปกอยู่เหนือน้ำนั้น" ผืนน้ำนั่นแหละครับคือความสับสนวุ่นวาย และก็คือเลวีอาธาน คำว่า "เลวีอาธาน" นั้น ยังหมายถึงสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ หรือสัตว์ขนาดใหญ่ใดๆ ก็ได้ ในภาษาฮิบรูใหม่ คำนี้มีความหมายเพียง วาฬ เท่านั้น.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและเลวีอาธาน · ดูเพิ่มเติม »

เอลเกรโก

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1604) โดยเอลเกรโก โดเมนิคอส เทโอโทโคพูลอส (Δομήνικος Θεοτοκόπουλος; Doménicos Theotokópoulos; ค.ศ. 1541 7 เมษายน ค.ศ. 1614) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ เอลเกรโก (El Greco; "ชาวกรีก") เป็นจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกสมัยเรอเนซองซ์คนสำคัญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน เอลเกรโกมักจะลงนามในภาพเขียนด้วยชื่อเต็มเป็นภาษากรีก เอลเกรโกเกิดที่เกาะครีตซึ่งในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเวนิสและเป็นศูนย์กลางของศิลปะไบแซนไทน์ยุคปลาย เอลเกรโกได้รับการฝึกฝนลักษณะศิลปะไบแซนไทน์ก่อนที่เดินทางไปเวนิสเมื่ออายุ 26 ปึเช่นเดียวกับศิลปินชาวกรีกคนอื่น ๆJ.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและเอลเกรโก · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์เบอรัส

ประติมากรรมเทพเจ้าเฮดีสกับเซอร์เบอรัส เซอร์เบอรัส หรือ เคร์เบรอส (Cerberus; Κέρβερος เคร์เบรอส) ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน เป็นหมาหลายหัว (ปกติมีสาม) มีหางอสรพิษ พังพานงู และกรงเล็บสิงโต มันเฝ้าทางเข้าโลกบาดาลเพื่อป้องกันคนตายมิให้หลบหนีและคนเป็นมิให้เข้า เซอร์เบอรัสปรากฏในวรรณกรรมกรีกและโรมันโบราณหลายงาน และในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งโบราณและสมัยใหม่ แม้การพรรณนาเซอร์เบอรัสแตกต่างกันแล้วแต่ตีความ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนหัว แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายหรือบรรยายไว้สามหัว แต่แหล่งอื่นแสดงเซอร์เบอรัสมีสองหัวหรือหัวเดียว มีแหล่งน้อยกว่านั้นที่แสดงจำนวนต่าง ๆ บ้างว่าห้าสิบหรือกระทั่งหนึ่งร้อย เซอร์เบอรัสเป็นลูกของอีคิดนา ครึ่งสตรีครึ่งอสรพิษ กับไทฟอน สัตว์ประหลาดยักษ์ซึ่งแม้แต่เทพเจ้ากรีกยังขยาด พี่น้องมีเลอร์เนียนไฮดรา, ออร์ธรัส (Orthrus) หมานรกสองหัว และคิเมียรา สัตว์ประหลาดสามหัว การพรรณนาสามัญของเซอร์เบอรัสในเทพปกรณัมและศิลปะกรีก คือ มีสามหัว ในงานส่วนใหญ่ สามหัวนั้นมองและเป็นเครื่องหมายของอดีต ปัจจุบันและอนาคต ขณะที่แหล่งอื่นแนะว่า หัวทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด เยาว์วัยและชราวัย กล่าวกันว่า หัวของเซอร์เบอรัสมีความอยากอาหารเฉพาะเนื้อมีชีวิต ฉะนั้นจึงให้วิญญาณผู้วายชนม์เข้าโลกบาดาลได้อย่างเสรี แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดออก เซอร์เบอรัสเป็นหมาเฝ้าที่ซื่อสัตย์ของเฮดีส และเฝ้าประตูเข้าออกโลกบาดาล ไม่มีบันทึกว่าเซอร์เบอรัสเป็นสุนัขพันธุ์ใด ดังนั้นในทางศิลปะจึงพบเห็นเซอร์บีรัสได้หลากหลายสายพันธุ์มาก.

ใหม่!!: ปากนรกภูมิและเซอร์เบอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hellmouthปากนรก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »