โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอลเกรโก

ดัชนี เอลเกรโก

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1604) โดยเอลเกรโก โดเมนิคอส เทโอโทโคพูลอส (Δομήνικος Θεοτοκόπουλος; Doménicos Theotokópoulos; ค.ศ. 1541 7 เมษายน ค.ศ. 1614) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ เอลเกรโก (El Greco; "ชาวกรีก") เป็นจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกสมัยเรอเนซองซ์คนสำคัญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน เอลเกรโกมักจะลงนามในภาพเขียนด้วยชื่อเต็มเป็นภาษากรีก เอลเกรโกเกิดที่เกาะครีตซึ่งในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเวนิสและเป็นศูนย์กลางของศิลปะไบแซนไทน์ยุคปลาย เอลเกรโกได้รับการฝึกฝนลักษณะศิลปะไบแซนไทน์ก่อนที่เดินทางไปเวนิสเมื่ออายุ 26 ปึเช่นเดียวกับศิลปินชาวกรีกคนอื่น ๆJ.

20 ความสัมพันธ์: บาศกนิยมฟรังซิสแห่งอัสซีซีพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนยากอบ บุตรเศเบดีลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ศิลปะไบแซนไทน์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5สาธารณรัฐเวนิสจริตนิยมจิตรกรรมสีน้ำมันครีตประเทศสเปนปีเอตะนักบุญอันดรูว์แม่พระรับสารโรมโตเลโดเวนิส

บาศกนิยม

ผลงานแบบบาศกนิยม บาศกนิยม (cubism) เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: เอลเกรโกและบาศกนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฟรังซิสแห่งอัสซีซี

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 148 (Saint Francis of Assisi) มีนามเดิมว่า ฟรันเชสโก ดี ปีเอโตร ดี แบร์นาร์โดเน เป็นไฟรเออร์และนักเทศน์ในนิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ก่อตั้งคณะฟรันซิสกัน คณะกลาริส และคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส แม้นักบุญฟรังซิสจะไม่ใช่บาทหลวง แต่ถือเป็นศาสนบุคคลที่ไดัรับการเคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์Brady, Ignatius Charles.

ใหม่!!: เอลเกรโกและฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: เอลเกรโกและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: เอลเกรโกและการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรเศเบดี

กอบ บุตรเศเบดี (James, son of Zebedee หรือ Yaakov Ben-Zebedee) หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ (James the Greater) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: เอลเกรโกและยากอบ บุตรเศเบดี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

หอไอน์สไตน์ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแนวสำแดงพลังอารมณ์ที่พอทสดัมในเยอรมนี ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือ เอกซเพรสชันนิซึม (expressionism) คือขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มขึ้นในเยอรมนีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นปฏิกิริยาต่อปฏิฐานนิยม (positivism) และขบวนการศิลปะอื่น ๆ เช่น ธรรมชาตินิยม (naturalism) และลัทธิประทับใจ (impressionism) วัตถุประสงค์ของขบวนการนี้ก็เพื่อการแสวงหาความหมายของ "ความรู้สึกมีชีวิตชีวา" (being alive)Victorino Tejera, 1966, pages 85,140, Art and Human Intelligence, Vision Press Limited, London และประสบการณ์ทางอารมณ์แทนความเป็นจริงทางวัตถุ แนวโน้มของศิลปินกลุ่มนี้จะบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อที่จะแสดงผลที่มีต่ออารมณ์ และเป็นศิลปะอัตวิสัย (subjective art form) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ปรากฏในงานศิลปะหลายรูปหลายแบบซึ่งได้แก่ จิตรกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม และการดนตรี และมักจะเป็นคำที่มีนัยยะถึงอารมณ์รุนแรงภายใน (angst) โดยทั่วไปแล้วจิตรกรเช่น มัททีอัส กรือเนวัลด์ และเอลเกรโก ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจิตรกรแนวสำแดงพลังอารมณ์ แม้ว่าจะเป็นคำที่มักจะใช้กับงานศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ตาม.

ใหม่!!: เอลเกรโกและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: เอลเกรโกและศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: เอลเกรโกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5

มเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 หรือ นักบุญปิอุสที่ 5 (Pius V; Pius V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1566 ถึง ค.ศ. 1572 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสังคายนาแห่งเทรนต์ การปฏิรูปคาทอลิก และปรับปรุงจารีตโรมันในคริสตจักรละตินให้มีมาตรฐาน ในทางการเมือง พระองค์ได้ขับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ออกจากศาสนจักร เพราะพระนางสนับสนุนให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวออกจากสันตะสำนัก และยังเบียดเบียนคริสตชนคาทอลิกจำนวนมากในอังกฤษ พระองค์ยังร่วมก่อตั้งสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1571) เพื่อต่อต้านทัพมุสลิมของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อสันนิบาตได้รับชัยชนะ พระองค์ได้ยกย่องว่าเป็นผลจากการอธิษฐานของพระนางมารีย์พรหมจารี และตั้งวันฉลองแม่พระแห่งชัยชนะขึ้นเป็นครั้งแรก (ปัจจุบันเรียกว่า "แม่พระแห่งลูกประคำ").

ใหม่!!: เอลเกรโกและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเวนิส

รณรัฐอันสงบสุขเป็นที่สุดแห่งเวนิส หรือ สาธารณรัฐเวนิส (Republic of Venice หรือ Venetian Republic, Serenissima Repubblica di Venezia) เป็นรัฐที่เริ่มขึ้นในเมืองเวนิสที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี สาธารณรัฐเวนิสรุ่งเรืองอยู่กว่าหนึ่งพันปีตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: เอลเกรโกและสาธารณรัฐเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

จริตนิยม

ในภาพเขียน “แม่พระพระศอยาว” (Madonna with the Long Neck)-(ค.ศ. 1534-1540) โดยปาร์มีจานีโน แมนเนอริสม์แสดงโดยการทำให้สัดส่วนยาวขึ้นซึ่งทำให้มีผลต่อการวางรูปและบิดเบือนทัศนมิติไม่กระจ่างแจ้ง จริตนิยม (Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี..

ใหม่!!: เอลเกรโกและจริตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: เอลเกรโกและจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: เอลเกรโกและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เอลเกรโกและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอตะ

ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะโดยลุยส์ จิเมเนซ ปีเอตะ (Pietà; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน" ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู.

ใหม่!!: เอลเกรโกและปีเอตะ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: เอลเกรโกและนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: เอลเกรโกและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: เอลเกรโกและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โตเลโด

ตเลโด (Toledo; Toletum (โตเลตุม); طليطلة (ตุไลเตละห์)) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศสเปน ห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โตเลโดเป็นเมืองหลักของจังหวัดโตเลโดและของแคว้นกัสติยา-ลามันชา ในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองนี้เป็นแหล่งมรดกโลก เนื่องจากมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมากมายในฐานะหนึ่งในเมืองหลวงของจักรวรรดิสเปน รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมัวร์อยู่ร่วมกันอีกด้วย บุคคลและศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเกิดและเคยพำนักอยู่ในเมืองนี้ เช่น การ์ซีลาโซ เด ลา เบกา, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 และเอลเกรโก ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เมืองนี้มีประชากร 75,578 คน และมีพื้นที่ 232.1 ตารางกิโลเมตร (89.59 ตารางไมล์) โตเลโดเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอท (ในสเปนโบราณ) ตั้งแต่สมัยพระเจ้าลีอูวีกิลด์ และมีฐานะเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งชาวมัวร์ (ชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ) ได้เข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา โตเลโด (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ตุไลเตละห์" طليطلة) ก็ได้เข้าสู่ยุคทอง ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอันยาวนานนี้รู้จักกันในชื่อ "ลากอนบีเบนเซีย" (La Convivencia) หรือการอยู่ร่วมกัน (ของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม) ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งกัสติยาทรงยึดเมืองโตเลโดคืนจากชาวมุสลิมได้และสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรกัสติยา-เลออนในช่วงของการพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) โตเลโดในอดีตมีชื่อเสียงจากการผลิตเหล็ก (โดยเฉพาะดาบ) และปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตมีดและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงย้ายราชธานีจากโตเลโดไปมาดริดในปี ค.ศ. 1561 (พ.ศ. 2104) นั้น เมืองเก่าแห่งนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมลงและไม่ได้รับการฟื้นฟู ป้อมอัลกาซาร์ (Alcázar) ซึ่งตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเมืองนี้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ในฐานะสถาบันวิชาทหารแห่งหนึ่ง เมื่อสงครามกลางเมืองสเปนระเบิดขึ้นในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) กองทหารในป้อมนี้ถูกล้อมโดยกองกำลังของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ที่ตั้งเมืองโตเลโดในประเทศสเปน.

ใหม่!!: เอลเกรโกและโตเลโด · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: เอลเกรโกและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

El Grecoเอล เกรโกเอล เกรโค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »