โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาโรนันยักษ์

ดัชนี ปลาโรนันยักษ์

ปลาโรนันยักษ์ (Wedgefishes) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rhynchobatidae และสกุล Rhynchobatus โดยแยกออกจากปลาโรนันซึ่งอยู่ในวงศ์ Rhinobatidae อีกที (โดยในบางแหล่งข้อมูลยังคงจัดให้อยู่รวมกัน) พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของอินโด-แปซิฟิก โดยมีเป็นบางชนิดที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติกแถบตะวันออก โดยเป็นปลาที่ถูกประเมินไว้จากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) แล้วว่าทุกชนิดตกอยู่ในสภานะของการเสี่ยงหรือล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ เป็นปลาขนาดใหญ่ ความยาวที่สุดที่พบคือ 3 เมตร (9.8 ฟุต) จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ขนาดเล็กที่สุดมีความยาวเพียงครึ่งเดียว ทุกชนิดมีความคล้ายคลึงกันโดยมองอย่างผิวเผิน โดยสามารถจำแนกออกจากกันด้วยการพิจารณาลักษณะโดยรวมของส่วนปลายจมูก, การนับกระดูกสันหลัง ตลอดจนสีตามลำตัว (การกระจายตัวของจุดสีขาว และการมีหรือไม่มีฐานสีดำที่ใต้ครีบอก).

13 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไครูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวงศ์ปลาโรนันสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลากระเบนอันดับปลาโรนันปลากระดูกอ่อนปลาโรนันจุดปลาโรนันจุดขาวเลินนาร์ด คอมเพจโน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาโรนัน

ปลาโรนัน (Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และวงศ์ปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาโรนัน

อันดับปลาโรนัน (อันดับ: Rajiformes, Skate, guitarfish) เป็นอันดับย่อยของอันดับ Batoidea ซึ่งจัดอยู่ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณะโดยรวมที่แตกต่างไปจากปลาในอันดับ Batoidea อันดับอื่น คือ มีครีบอกที่ใหญ่กว่า แผ่ขยายมากกว่า และอยู่ใกล้กับส่วนหัวซึ่งแบนราบอย่างเห็นได้ชัด มีตาอยู่บนด้านบนของหัว และซี่เหงือกอยู่ด้านล่างเหมือนปลากระเบนทั่วไป มีฟันใช้สำหรับบดอาหาร จำพวก ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เมื่อให้กำเนิดลูก ตัวอ่อนจะพัฒนาในแคปซูลที่มีรูปร่างเหมือนเขาสัตว์ ที่ถูกเรียก "กระเป๋านางเงือก" (Mermaid's purse) ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ที่เป็นรู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาโรนัน และ ปลาโรนิน รวมถึงปลากระบาง ซึ่งอันดับนี้เคยรวมเป็นอันดับเดียวกับ อันดับปลากระเบน คือ ปลากระเบนทั่วไป และ Pristiformes หรือปลาฉนากมาก่อนด้วย โดยคำว่า Rajiformes นั้น มาจากภาษาลาตินคำว่า "raja" ที่หมายถึง ปลากระเบน กับคำว่า "forma" ที่หมายถึง แหลมคม.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และอันดับปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุด

ปลาโรนันจุด (Giant guitarfish, White-spotted guitarfish, Spotted guitarfish) ปลากระดูกอ่อนทะเลขนาดใหญ่ จำพวกปลาโรนัน โดยอยู่ในวงศ์ปลาโรนันยักษ์ (Rhinobatidae) มีจะงอยปากแหลม หัวดูคล้ายหัวเรือ ครีบอกปลายแหลม ครีบหลังเรียวโค้งอยู่ห่างกัน ครีบหางเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว กลางหลังมีสันขรุขระและแคบ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีกากี ลำตัวรวมถึงครีบอกมีจุดสีขาวเป็นดวง ชานครีบอกมีจุดกลมสีดำ ส่วนท้องสีขาว เป็นปลาโรนันขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 250 เซนติเมตร และอาจใหญ่ได้ถึง 3 เมตร อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่กี่ตัว ตามชายฝั่งและแนวปะการังตอนลึก จนถึงไหล่ทวีป กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น ปู, กุ้ง หรือหอย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งสองฟากฝั่งทะเล แต่เป็นปลาที่พบได้น้อย ในอดีตถือว่าเป็นปลาโรนันที่เป็นชนิดซับซ้อนกับปลาโรนันชนิดอื่น ๆ คือ ปลาโรนันจุดขาว (R. djiddensis), ปลาโรนันจมูกกว้าง (R. springeri) และอาจเป็นไปได้ว่ารวมถึงปลาโรนันจมูกเรียบ (R. laevisWhite, W.T. & McAuley, R. 2003.. Downloaded on 3 August 2007.).

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และปลาโรนันจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุดขาว

ปลาโรนันจุดขาว (Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกปลาโรนันยักษ์ (Rhynchobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60–180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค, ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และปลาโรนันจุดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เลินนาร์ด คอมเพจโน

ลินนาร์ด โจเซฟ วิคเตอร์ คอมเพจโน หรือ เลินนาร์ด คอมเพจโน (Leonard Joseph Victor Compagno, Leonard Compagno) นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเรื่องของปลาฉลาม ดร.คอมเพจโนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1979 ด้วยทุนการศึกษาของสถาบัน รวมถึงได้รับการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดด้วย เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตท ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1985 ดร.คอมเพจโน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าของศูนย์การวิจัยปลาฉลาม และภัณฑารักษ์ด้านปลา ของพิพิธภัณฑ์อิซิโกแอฟริกาใต้ ที่เคปทาวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับปลาฉลาม เป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าของโลกเกี่ยวกับระบบร่างกาย การเปลี่ยนรูปร่างวิวัฒนาการซากดึกดำบรรพ์, สัตวภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาฉลาม เป็นรองประธานภูมิภาคกรรมการปลาฉลามของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับกองประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติ มีผลงานตีพิมพ์ยอดนิยมกว่า 200 เอกสารบทความ, รายงาน, เว็บไซต์, หนังสือและบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาฉลามและปลากระดูกอ่อนต่าง ๆ ในด้านการอนุกรมวิธาน เป็นหนึ่งในผู้อนุกรมวิธานปลากระเบนขาว (Himantura signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้ว.

ใหม่!!: ปลาโรนันยักษ์และเลินนาร์ด คอมเพจโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

RhynchbatidaeRhynchobatidaeRhynchobatusWedgefishesวงศ์ปลาโรนันยักษ์สกุลปลาโรนันยักษ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »