โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลาโรนัน

ดัชนี อันดับปลาโรนัน

อันดับปลาโรนัน (อันดับ: Rajiformes, Skate, guitarfish) เป็นอันดับย่อยของอันดับ Batoidea ซึ่งจัดอยู่ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณะโดยรวมที่แตกต่างไปจากปลาในอันดับ Batoidea อันดับอื่น คือ มีครีบอกที่ใหญ่กว่า แผ่ขยายมากกว่า และอยู่ใกล้กับส่วนหัวซึ่งแบนราบอย่างเห็นได้ชัด มีตาอยู่บนด้านบนของหัว และซี่เหงือกอยู่ด้านล่างเหมือนปลากระเบนทั่วไป มีฟันใช้สำหรับบดอาหาร จำพวก ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เมื่อให้กำเนิดลูก ตัวอ่อนจะพัฒนาในแคปซูลที่มีรูปร่างเหมือนเขาสัตว์ ที่ถูกเรียก "กระเป๋านางเงือก" (Mermaid's purse) ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ที่เป็นรู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาโรนัน และ ปลาโรนิน รวมถึงปลากระบาง ซึ่งอันดับนี้เคยรวมเป็นอันดับเดียวกับ อันดับปลากระเบน คือ ปลากระเบนทั่วไป และ Pristiformes หรือปลาฉนากมาก่อนด้วย โดยคำว่า Rajiformes นั้น มาจากภาษาลาตินคำว่า "raja" ที่หมายถึง ปลากระเบน กับคำว่า "forma" ที่หมายถึง แหลมคม.

22 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคฟันพ.ศ. 2359การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาละตินมอลลัสกาวงศ์ปลาโรนันสมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลากระเบนอาหารตาปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลาสเกตปลาฉนากปลาโรนันยักษ์ปลาโรนันจุดขาวปลาโรนิน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2359

ทธศักราช 2359 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและพ.ศ. 2359 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาโรนัน

ปลาโรนัน (Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและวงศ์ปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและตา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเกต

ปลาสเกต (Skate) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rajidae จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่มีความแตกต่างไปจากปลากระเบนรวมถึงปลากระดูกอ่อนจำพวกอื่น ๆ ปัจจุบันพบมากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Rajinae และ Arhynchobatinae ปลาสเกตนับว่าเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศทางตะวันตก เพราะมีขนาดเล็กและเนื้อไม่มีกลิ่นแอมโมเนียฉุนเหมือนกับปลากระเบนจำพวกอื่น.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลาสเกต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนาก

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย").

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลาฉนาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันยักษ์

ปลาโรนันยักษ์ (Wedgefishes) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rhynchobatidae และสกุล Rhynchobatus โดยแยกออกจากปลาโรนันซึ่งอยู่ในวงศ์ Rhinobatidae อีกที (โดยในบางแหล่งข้อมูลยังคงจัดให้อยู่รวมกัน) พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของอินโด-แปซิฟิก โดยมีเป็นบางชนิดที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติกแถบตะวันออก โดยเป็นปลาที่ถูกประเมินไว้จากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) แล้วว่าทุกชนิดตกอยู่ในสภานะของการเสี่ยงหรือล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ เป็นปลาขนาดใหญ่ ความยาวที่สุดที่พบคือ 3 เมตร (9.8 ฟุต) จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ขนาดเล็กที่สุดมีความยาวเพียงครึ่งเดียว ทุกชนิดมีความคล้ายคลึงกันโดยมองอย่างผิวเผิน โดยสามารถจำแนกออกจากกันด้วยการพิจารณาลักษณะโดยรวมของส่วนปลายจมูก, การนับกระดูกสันหลัง ตลอดจนสีตามลำตัว (การกระจายตัวของจุดสีขาว และการมีหรือไม่มีฐานสีดำที่ใต้ครีบอก).

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลาโรนันยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุดขาว

ปลาโรนันจุดขาว (Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกปลาโรนันยักษ์ (Rhynchobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60–180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค, ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลาโรนันจุดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนิน

ปลาโรนิน (Bowmouth guitarfish, Mud skate, Shark ray) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhina ancylostoma อยู่ในวงศ์ Rhinidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Rhina มีรูปร่างแตกต่างไปคล้ายกับปลาโรนัน (Rhinobatidae) แต่มีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อป้องกันตัว โดยมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม ตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน พื้นผิวลำตัวด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาตัวโต ขนาดโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมากในปัจจุบัน พบได้ในทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่นตอนใต้, ปาปัวนิวกินี, ในน่านน้ำไทยพบที่ฝั่งอันดามัน โดยมีชื่อที่ชาวประมงเรียกว่า "ปลากระเบนพื้นน้ำ" และมีความเชื่อว่าหนามบนหลังนั้นใช้เป็นเครื่องรางของขลังในทางไสยศาสตร์ได้ โดยนิยมนำมาทำเป็นหัวแหวน หรือนำมาห้อยคอ ซ้ำยังมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ที่อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ พัทยา จังหวัดชลบุรี และ SEA LIFE Bangkok Ocean World ที่ห้าง Siam Paragon โดยมีราคาซื้อขายที่แพงมากนับล้านบาท ซึ่งปลาในที่เลี้ยงมีพฤติกรรมที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงและกินเก่งมาก ในวันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: อันดับปลาโรนันและปลาโรนิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rajiformes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »