เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาโมลา

ดัชนี ปลาโมลา

ปลาโมลา เป็นสกุลของปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่สกุล Mola จัดอยู่ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) โดยคำว่า Mola มาจากภาษาละติน แปลว่า "หินโม่" ปลาโมลา เป็นปลารูปร่างลักษณะประหลาด เนื่องจากมีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่จนดูคล้ายมีแต่เพียงหัวอย่างเดียว ขณะที่ส่วนครีบต่าง ๆ ถูกหดสั้นลง โดยส่วนครีบหลังมีขนาดใหญ่ตั้งยาวขึ้นไปข้างบน และครีบก้นให้มีขนาดใหญ่ยื่นยาวลงมาด้านล่างลำตัว เมื่อว่ายน้ำจะใช้ครีบทั้ง 2 โบกไปมา ในขณะครีบข้างลำตัวทรงโค้งจะมีขนาดเล็กและบาง ๆ เท่านั้น ขณะที่ครีบหางจะหดสั้นเข้ามาติดตอนท้ายของลำตัวที่หดสั้นจนดูว่าเป็นปลาที่มีแต่ส่วนหัว ปลาโมลา เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ อาจยาวได้ถึง 3.2 เมตรหรือ 4 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 2 ตัน จัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้ามากด้วย มีผิวหนังที่หนาและยืดหยุ่น เป็นปลาที่มีปรสิตเกาะตามลำตัวมากถึง 40 ชนิด ดังนั้น จึงมีพฤติกรรมลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ กลางน้ำเพื่อให้ปลาขนาดเล็กต่าง ๆ มาเกาะกินปรสิตตามตัว รวมถึงกระทั่งลอยไปถึงผิวน้ำเพื่อให้นกนางนวลจิกกินปรสิตด้ว.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: ภาษาละตินวงศ์ปลาแสงอาทิตย์วงศ์นกนางนวลสมัยไมโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาปักเป้าคาโรลัส ลินเนียสปลาที่มีก้านครีบปลาแสงอาทิตย์

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ดู ปลาโมลาและภาษาละติน

วงศ์ปลาแสงอาทิตย์

ปลาแสงอาทิตย์วัยอ่อน ขนาด 1 มิลลิเมตร วงศ์ปลาแสงอาทิตย์ หรือ วงศ์ปลาโมลา (Mola, Sunfish, Headfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Molidae (/โม-ลิ-ดี้/) มีลำตัวกลมรูปไข่ แบนข้างมาก ตามีขนาดเล็ก ช่องเปิดเหงือกที่ขนาดเล็ก ปากอยู่ในตำแหน่งตรงมีขนาดเล็กฟันทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันมีลักษณะคล้ายปากนก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ตรงข้ามกัน ครีบอกมีเล็ก ไม่มีครีบท้อง ในน่านน้ำไทยส่วนใหญ่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนหางของลำตัวตัดตรง ไม่มีครีบหาง ปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเข้ามาในเขตน้ำตื้นโดยบังเอิญหรือติดมากับอวนของชาวประมงที่ออกไปทำการประมงในมหาสมุทร เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้า เนื่องจากรูปร่าง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์, แมงกะพรุน และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ขณะที่ว่ายน้ำจะใช้ครีบก้นและครีบหาง ขณะที่ครีบอกจะใช้ควบคุมทิศทาง มีถุงลมขนาดใหญ่ ปากรวมทั้งเหงือกจะพ่นน้ำออกมาเพื่อเป่าทรายเหมือนเครื่องยนต์เจ็ตเพื่อค้นหาอาหารที่ใต้ทรายอีกด้วย แบ่งออกเป็น 3 สกุล 4 ชนิด โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและพบได้บ่อย คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 2 ตัน ซึ่งนับเป็นปลากระดูกแข็งที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และถือเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้อีกด้ว.

ดู ปลาโมลาและวงศ์ปลาแสงอาทิตย์

วงศ์นกนางนวล

นกนางนวล เป็นนกทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Laridae เป็นนกที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัวหรือปีก มีปากหนายาว และเท้าเป็นผังพืด เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามชายฝั่งทะเล และบางชนิดเข้ามาหากินในแหล่งน้ำจืดบ้าง เป็นนกที่ชาวทะเลหรือนักเดินเรือให้ความนับถือ โดยถือว่า หากได้พบนกนางนวลแล้วก็แสดงว่าอยู่ใกล้แผ่นดินมากเท่านั้น พบทั่วโลก 55 ชนิด ใน 11 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทยทั้งหมด 9 ชนิด โดยทุกชนิดถือเป็นนกอพยพหนีความหนาวจากซีกโลกทางเหนือ จะพบได้บ่อยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว โดยสามารถบินได้เร็วในระยะทาง 170-190 กิโลเมตร/ชั่วโมง และบินตามมากันเป็นฝูง ใช้เวลากกไข่นานราว 24 วัน ลูกนกใช้เวลา 3 เดือน จึงจะบินได้เหมือนพ่อแม่ สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอพยพของนกนางนวลในประเทศไทย คือ บางปู ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งที่ชมนกนางนวลอพยพได้ในทุกปี โดยแต่ละครั้งจะมีจำนวนนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว อนึ่ง นกในวงศ์นกนางนวล เดิมเคยถูกจัดเป็นวงศ์ใหญ่ เคยมีนกในวงศ์อื่นถูกจัดให้อยู่ร่วมวงศ์เดียวกัน ได้แก่ Rynchopidae (นกกรีดน้ำ) และSternidae (นกนางนวลแกลบ) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991).

ดู ปลาโมลาและวงศ์นกนางนวล

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ดู ปลาโมลาและสมัยไมโอซีน

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาโมลาและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาโมลาและสัตว์มีแกนสันหลัง

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาโมลาและสปีชีส์

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ดู ปลาโมลาและอันดับปลาปักเป้า

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู ปลาโมลาและคาโรลัส ลินเนียส

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ดู ปลาโมลาและปลาที่มีก้านครีบ

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ดู ปลาโมลาและปลาแสงอาทิตย์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ MolaMola (genus)