สารบัญ
24 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญพ.ศ. 2384พืชวงศ์ปลาปิรันยาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสีดำสีแดงสปีชีส์อันดับปลาคาราซินทวีปอเมริกาใต้ประเทศบราซิลประเทศซูรินามประเทศเวเนซุเอลาประเทศเปรูปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาคู้ปลาปิรันยาปลาน้ำจืดแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโอริโนโกเมตร
- วงศ์ปลาปิรันยา
ชื่อสามัญ
ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและชื่อสามัญ
พ.ศ. 2384
ทธศักราช 2384 ใกล้เคียงกั.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและพ.ศ. 2384
พืช
ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.
วงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและวงศ์ปลาปิรันยา
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและสัตว์มีแกนสันหลัง
สัตว์น้ำ
ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและสัตว์น้ำ
สีดำ
ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.
สีแดง
ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและสปีชีส์
อันดับปลาคาราซิน
อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและอันดับปลาคาราซิน
ทวีปอเมริกาใต้
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและทวีปอเมริกาใต้
ประเทศบราซิล
ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและประเทศบราซิล
ประเทศซูรินาม
ซูรินาม (Suriname, Surinam,; Suriname,, ซือรีนาเมอ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐซูรินาม (Republic of Suriname; Republiek Suriname) เดิมรู้จักกันในชื่อ "ดัตช์เกียนา" เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ระหว่างเฟรนช์เกียนาทางทิศตะวันออกกับกายอานาทางทิศตะวันตก เขตแดนทางทิศใต้ติดต่อกับบราซิล ส่วนทางเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก พื้นที่ทางใต้สุดของประเทศกำลังเป็นกรณีพิพาทกับกายอานาและเฟรนช์เกียน.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและประเทศซูรินาม
ประเทศเวเนซุเอลา
ประเทศเวเนซุเอลา (เบ-เน-ซเว-ลา) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา (Bolivarian Republic of Venezuela, República Bolivariana de Venezuela) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันตก จรดบราซิลทางทิศใต้ และจรดกายอานาทางทิศตะวันออก เวเนซุเอลามีดินแดนราว 916,445 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรโดยประมาณ 29,105,632 คน เวเนซุเอลาถูกพิจารณาว่าเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขาแอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่งแคริบเบียนในตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก เวเนซุเอลาเป็นสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประกอบด้วย 23 รัฐ, แคปิทอลดิสตริกท์ (Capital District) ซึ่งมีกรุงการากัส และเฟเดอรัลดีเพนเดนซี (Federal Dependency) ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะนอกชายฝั่งเวเนซุเอลา เวเนซุเอลาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดของกายอานาที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเอสกวีโบ ซึ่งผืนดิน 159,500 ตารางกิโลเมตรนี้ถูกตั้งฉายาว่า กายอานาเอสกวีบา หรือ "เขตที่ถูกเรียกร้องคืน" เวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่กลายเป็นเมืองที่สุดในละตินอเมริกา ชาวเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นนครใหญ่สุดเช่นกัน นับแต่การค้นพบน้ำมันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวเนเซุเอลากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก และมีน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุด จากเดิมที่เวเนซุเอลาเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งออกโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟและโกโก้ แต่น้ำมันขึ้นมาครองการส่งออกและรายได้ภาครัฐอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำมันที่มากเกินความต้องการในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่วิกฤตหนี้สินภายนอกและวิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนาน ซึ่งเงินเฟ้อแตะ 100% ในปี 2539 และอัตราความยากจนพุ่งแตะ 66% ในปี 2538 โดยที่ในปี 2541 จีดีพีต่อหัวร่วงลงอยู่ระดับเดียวกับปี 2506 หรือลดลงหนึ่งในสามจากจุดสูงสุดในปี 2521 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันหลังปี 2544 กระตุ้นเศรษฐกิจเวเนซูเอลาและอำนวยการบริโภคทางสังคม แม้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จะทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2553 เศรษฐกิจเวเนซูเอลากลับมาเติบโตอีกครั้ง เวเนซุเอลายังได้อ้างว่าตนตั้งอยู่ในตะวันออกกลางและสันนิบาตอาหรั.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและประเทศเวเนซุเอลา
ประเทศเปรู
ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและประเทศเปรู
ปลาสวยงาม
ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและปลาสวยงาม
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและปลาที่มีก้านครีบ
ปลาคู้
ปลาคู้ หรือ ปลาเปคู (Pacu ปากู) หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจะละเม็ดน้ำจืด เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา ปลาคู้มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาคู้นั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาคู้จะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาคู้แม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด ปลาคู้มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น รูปแสดงให้เห็นถึงฟันของปลาคู้ ปลาที่ได้ชื่อว่าเป็น ปลาคู้ จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่ สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาคู้ที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาคู้ แม้จะได้ชื่อว่าไม่เป็นปลาอันตรายต่อมนุษย์เท่ากับปลาปิรันยา แต่ที่ปาปัวนิวกินีและสหรัฐอเมริกา กลับมีปลาคู้ที่มีพฤติกรรมกัดอัณฑะของผู้ที่ตกปลาหรือลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและปลาคู้
ปลาปิรันยา
ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิดFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและปลาปิรันยา
ปลาน้ำจืด
วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและปลาน้ำจืด
แม่น้ำแอมะซอน
แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและแม่น้ำแอมะซอน
แม่น้ำโอริโนโก
right โอริโนโก (Orinoco) มีต้นกำเนินมากจากที่ราบสูงกายอานา ในทิวเขาปาริมา อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเวเนซุเอลากับประเทศบราซิล แม่น้ำมีความยาวกว่า 2,150 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของประเทศเวเนซุเอลา บางช่วงของแม่น้ำโอริโนโกอยู่ในประเทศโคลอมเบีย แม่น้ำไหลลงที่มหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งปากแม่น้ำอยู่ใกล้กับประเทศตรินิแดดและโตเบโก.
ดู ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกและแม่น้ำโอริโนโก
เมตร
มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.
ดูเพิ่มเติม
วงศ์ปลาปิรันยา
- Pygocentrus palometa
- ปลาคู้
- ปลาคู้ดำ
- ปลาคู้แดง
- ปลาคู้แดง (สกุล)
- ปลาปิรันยา
- ปลาปิรันยาดำ
- ปลาปิรันยาแดง
- ปลาเรดฮุก
- ปลาแบล็คบาร์เรดฮุก
- พีโกเซนตรัส
- วงศ์ปลาปิรันยา
- เซอราแซลมัส
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Myleus schomburgkii