สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาคาราซินวงศ์ปลาปิรันยาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาคาราซินปลาที่มีก้านครีบปลาคู้แดง
- ปลาทวีปอเมริกาใต้
- วงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ปลาคาราซิน
วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และวงศ์ปลาคาราซิน
วงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และวงศ์ปลาปิรันยา
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และสัตว์มีแกนสันหลัง
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
อันดับปลาคาราซิน
อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และอันดับปลาคาราซิน
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และปลาที่มีก้านครีบ
ปลาคู้แดง
ปลาคู้แดง หรือ ปลาเปคูแดง (Red bellied pacu) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalminae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม (ขนาดและน้ำหนักโดยเฉลี่ยคือ 45 เซนติเมตร และน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาร์เจนตินา นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพืชเช่นเมล็ดพืชหรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น โดยจะไปรอกินถึงบริเวณผิวน้ำเลยทีเดียว ปลาคู้แดงขณะเมื่อยังเล็ก ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่นิยมทำเป็นอาหารของชนพื้นถิ่น มีชื่อเรียกในภาษาพื้นเมืองว่า Pirapitinga ในประเทศไทยปลาคู้แดงถูกนำเข้ามาครั้งแรกในฐานะปลาสวยงาม เมื่อปี..
ดู ปลาคู้แดง (สกุล)และปลาคู้แดง
ดูเพิ่มเติม
ปลาทวีปอเมริกาใต้
- ปลากดเกราะ
- ปลาคู้แดง (สกุล)
- ปลานีออน (สกุล)
- ปลาปิรันยา
- ปลาปิรันยาดำ
- ปลาราฟิโอดอน
- ปลาลีโปรินัส
- ปลาหมอคิวปิโด
- ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส
- ปลาอินซีเน็ตยักษ์
- วงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน
- วงศ์ปลาปิรันยา
- วงศ์ปลาวูล์ฟฟิช
- วงศ์ปลาแพะ
- อันดับปลาคาราซิน
- เซอราแซลมัส
วงศ์ปลาปิรันยา
- Pygocentrus palometa
- ปลาคู้
- ปลาคู้ดำ
- ปลาคู้แดง
- ปลาคู้แดง (สกุล)
- ปลาปิรันยา
- ปลาปิรันยาดำ
- ปลาปิรันยาแดง
- ปลาเรดฮุก
- ปลาแบล็คบาร์เรดฮุก
- พีโกเซนตรัส
- วงศ์ปลาปิรันยา
- เซอราแซลมัส
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Piaractusสกุลปลาคู้ปลาคู้ (สกุล)ปลาเปคู (สกุล)