เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัส

ดัชนี ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัส

ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัส ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาหมอแคระ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดอยู่ในสกุลไดครอสซัส หรือปลาหมอแคระลายตารางหมากรุก มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอแคระลายตารางหมากรุกชนิดอื่น ๆ คือ ลำตัวเรียวยาว ปากแหลมเล็ก พื้นลำตัวมีสีขาวหรือเทา มีจุดสีเข้มรูปสี่เหลี่ยมสองแถวตามแนวยาวลำตัวแลดูคล้ายตารางหมากรุก มีความยาวไม่เกิน 2-4 นิ้ว แต่ปลาหมอฟิลาเมนโตซัสมีรูปร่างที่เล็กและเพรียวกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ร่วมสกุล ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มที่แล้วจะเป็นสีส้มและสีม่วงช่วงกลางลำตัว แผ่นปิดเหงือกและครีบต่าง ๆ มีความแวววาวเป็นมันเลื่อม มีหางเปียยาวยื่นออกมาทั้งขอบบนและขอบล่าง ซึ่งลักษณะหางเช่นนี้จะไม่ปรากฏในปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน จัดเป็นปลาหมอแคระลายตารางหมากรุก ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากที่สุด พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แอมะซอน, เนโกร, ทาปาโฆส หรือโอริโนโค ในการนำเข้าสู่ตลาดปลาสวยงาม มักจะเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติคราวละเป็นจำนวนมาก ทำให้มีราคาซื้อขายที่ไม่แพง และมีเพียงพอต่อความต้องการสม่ำเสมอ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง แต่ก็เป็นไปโดยยากโดยเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ผู้เลี้ยงต้องกระตุ้นให้ปลาเกิดการเพาะขยายพันธุ์เอง เช่น ทำให้น้ำที่ใช้เลี้ยงเกิดเป็นน้ำวนมีออกซิเจนเพิ่ม หรือใช้น้ำที่ีมีความกระด้างต่ำมาก หรือปรับสภาพให้มีความเป็นกรดสูง เป็นต้น เมื่อปลาวางไข่และฟักเป็นตัวแล้ว แม่ปลามักย้ายลูกปลาที่ยังมีถุงไข่แดงติดกับตัวไปไว้ที่อื่น โดยมากจะเป็นขอนไม้หรือใบไม้ที่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ที่เดิมกับที่เป็นที่วางไข่ เมื่อลูกปลาว่ายน้ำได้แล้ว จึงสามารถให้อาหารขนาดเล็ก เช่น ไรทะเลแรกเกิดได้.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์วงศ์ปลาหมอสีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงปลาหมอลายตารางหมากรุกปลาหมอแคระปลาที่มีก้านครีบแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโอริโนโกไรทะเล

  2. วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์ (Eath-eater) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Geophaginae ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีส่วนหัวและปากที่โค้งงอลงด้านล่าง เพื่อใช้ปากสำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นท้องน้ำ และรวมถึงปลาหมอแคระในหลายสกุลด้ว.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและวงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและวงศ์ปลาหมอสี

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและสัตว์มีแกนสันหลัง

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและอันดับปลากะพง

ปลาหมอลายตารางหมากรุก

ปลาหมอลายตารางหมากรุก หรือ ปลาหมอแคระไดครอสซัส เป็นสกุลของปลาจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาขนาดเล็กจำพวกปลาหมอแคระ ใช้ชื่อสกุลว่า Dicrossus (/ได-ครอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีลำตัวเพรียวบาง ปากแหลมเล็ก พื้นลำตัวสีขาวหรือเทา มีลายจุดสี่เหลี่ยมไขว้เรียงกันเป็นระเบียบจนดูคล้ายตารางหมากรุกในแนวนอนอย่างมีระเบียบสองแถว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเฉลี่ยไม่เกิน 4 นิ้ว สำหรับปลาตัวผู้ และ 2 นิ้วสำหรับปลาตัวเมีย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, โอริโนโค, เนโกร, ทาปาโฆส และมาไดรา ในประเทศบราซิลและใกล้เคียง ทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำสีชาและแหล่งน้ำใส มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและปลาหมอลายตารางหมากรุก

ปลาหมอแคระ

ปลาหมอแคระฮองสลอย (''Apistogramma hongsloi'') ในสกุล ''Apistogramma'' พบในทวีปอเมริกาใต้ ชนิดเดียวในสกุล ''Anomalochromis''http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt จาก ITIS.gov พบในทวีปแอฟริกา สำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาหมอแคระ ปลาหมอแคระ (Dwarf cichlid) เป็นชื่อเรียกปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) กลุ่มหนึ่ง ที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่าปลาในวงศ์เดียวกันสกุลอื่น ๆ ทั่วไป โดยจะมีความยาวลำตัวจรดหางเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 12-15 เซนติเมตร โดยมากแล้วนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้กระจก ที่มีการปลูกพืชจำพวกไม้น้ำควบคู่ไปด้วย ซึ่งปลาหมอแคระหลายสกุล หลายชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เป็นปลาที่มีประวัติการเลี้ยงมายาวนาน และจากการเพาะขยายพันธุ์เอง ที่ทำให้มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างไปจากปลาที่พบในธรรมชาติ ปลาหมอแคระสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปลากลุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มักอาศัยในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4-7 (pH) แตกต่างออกไปตามถิ่นที่อยู.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและปลาหมอแคระ

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและปลาที่มีก้านครีบ

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและแม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำโอริโนโก

right โอริโนโก (Orinoco) มีต้นกำเนินมากจากที่ราบสูงกายอานา ในทิวเขาปาริมา อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเวเนซุเอลากับประเทศบราซิล แม่น้ำมีความยาวกว่า 2,150 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของประเทศเวเนซุเอลา บางช่วงของแม่น้ำโอริโนโกอยู่ในประเทศโคลอมเบีย แม่น้ำไหลลงที่มหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งปากแม่น้ำอยู่ใกล้กับประเทศตรินิแดดและโตเบโก.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและแม่น้ำโอริโนโก

ไรทะเล

รทะเล หรือ อาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 10 ชนิด ได้แก.

ดู ปลาหมอแคระฟิลาเมนโตซัสและไรทะเล

ดูเพิ่มเติม

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Crenicara filamentosaDicrossus filamentosaDicrossus filamentosus