โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาสร้อยนกเขาไฟ

ดัชนี ปลาสร้อยนกเขาไฟ

ปลาสร้อยนกเขาไฟ หรือ ปลาสร้อยนกเขาแดง หรือ ปลาสร้อยนกเขาสีเพลิง (Two-striped sweetlips, Giant sweetlips, Indian grun) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาสร้อยนกเขา ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน มีความสวยงามและมีลวดลายสีสันเหมือนกับปลาสร้อยนกเขาชนิดอื่น ๆ ด้วยมีแถบสีเหลืองตัดกับสีดำชัดเจน เมื่อโตเต็มที่แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำผึ้งและค่อย ๆ ซีดจางลงกลายเป็นสีเทาเสมอกันทั้งตัว ขอบครีบท้ายกลายเป็นสีดำสนิท มีความยาวได้ถึง 100 เซนติเมตร (39 นิ้ว) นับเป็นปลาสร้อยนกเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แถบชายฝั่ง, แนวปะการัง รวมถึงแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชะวากทะเล มีเลี้ยงเป็นปลาสวยงามรวมถึงจัดแสดงตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่คล้ายปลาเศรษฐกิจมากกว่า และสีสันไม่สวย ทั้งที่เป็นปลาที่มีอุปนิสัยกินง่าย แต่มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น จนถึงขนาดไล่กัดปลาตัวอื่นร่วมตู้ถึงกับตายได้ ด้วยในธรรมชาติเป็นปลาที่ออกหากินตามลำพังหรือเป็นคู่ก็มีพบไม่มาก.

6 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากะพงแสมสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงปลาสร้อยนกเขาทะเลปลาที่มีก้านครีบ

วงศ์ปลากะพงแสม

ำหรับปลาข้างตะเภาอีกวงศ์หนึ่ง ดูที่: วงศ์ปลาข้างตะเภา วงศ์ปลากะพงแสม หรือ วงศ์ปลาครืดคราด หรือ วงศ์ปลาข้างตะเภา (Grunt, Sweetlips) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haemulidae มีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง มีเกล็ดแบบสาก ส่วนหัวและพรีออร์บิตอลมีเกล็ด ปากค่อนข้างเล็กเป็นแบบเทอร์มินัลเฉียง ริมฝีปากหนา ไม่มีซับออร์คิวลาร์เชลฟ์ กระดูกพรีโอเพอร์เคิลเป็นหยัก ครีบหลังติดกันเป็นครีบเดียว และมีก้านครีบแข็ง 9-15 ก้าน ก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบก้นใหญ่และแข็งแรง ก้านครีบแข็งก้านที่สองของครีบก้นยาวที่สุด ครีบหางกลม ตัดตรงหรือเว้าเล็กน้อยแบบอีมาร์จิเน็ท เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 19 สกุล.

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและวงศ์ปลากะพงแสม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาทะเล

ปลาสร้อยนกเขาทะเล หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Plectorhinchus มีลำตัวป้อม แบนด้านข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ๆ ใต้คางมีรู 1-3 คู่ เกล็ดมีขนาดเล็กและเป็นแบบสาก พื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลาขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง ในแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร ปลาสร้อยนกเขาลายขวางเมื่อเป็นปลาวัยโต เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีพฤติกรรมการว่ายน้ำที่ไม่เหมือนปลาขนาดใหญ่ จะว่ายดีดดิ้น พริ้วไปมา เหมือนหนอนตัวแบน เชื่อว่าเป็นการเลียนแบบเพื่อเอาตัวรอดจากสัตว์นักล่าขนาดใหญ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและปลาสร้อยนกเขาทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยนกเขาไฟและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Plectorhinchus albovittatusปลาสร้อยนกเขาสีเพลิงปลาสร้อยนกเขาแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »