โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลามูดหน้านอ

ดัชนี ปลามูดหน้านอ

ปลามูดหน้านอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garra fuliginosa อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 18-20 เซนติเมตร โดยพบขนาดใหญ่สุดถึง 30 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวสั้นทรงกระบอก หัวโตและแบนราบที่ด้านล่าง ด้านหน้าของหัวเว้า และมีโหนกยื่นออกเป็นตุ่มแหลม เหมือนปากที่มีฟันเป็นซี่ ๆ ซึ่งตามจริงแล้วมันมีปากจริงเป็นแบบปากดูดอยู่ด้านล่าง ลำตัวสีคล้ำอมเขียวอ่อน ข้าวแก้มมีสีส้มแดง ท้องสีจางอมส้ม ครีบอกแผ่ออกทางแนวราบ ครีบหางเว้าลึก อาหารของปลามูดหน้านอคือ สาหร่ายและตะไคร่น้ำตามก้อนหินและท่อนไม้ใต้น้ำ โดยมักใช้ปากดูดเกาะติดกับสิ่งที่มีสาหร่ายและตะไคร่น้ำ ปลามูดหน้านอมักอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลแรงและมีพื้นเป็นกรวดหิน บางแหล่งนิยมรับประทานปลามูดหน้านอ ในวัยที่เป็นลูกปลามักนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลามูดหน้านอมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "มูด", "ปากจระเข้", "งาลู่"(กะเหรี่ยง), "มูดพม่า".

14 ความสัมพันธ์: ชวลิต วิทยานนท์ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2477พ.ศ. 2547การตั้งชื่อทวินามภาษากะเหรี่ยงวงศ์ย่อยปลาเลียหินวงศ์ปลาตะเพียนสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาตะเพียนปลาน้ำจืดปลาเลียหิน

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและชวลิต วิทยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2477

ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและพ.ศ. 2477 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากะเหรี่ยง

ษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีผู้พูดภาษากะเหรี่ยงอยู่ในไทยและพม่า แบ่งเป็นภาษาย่อยได้ 8 ภาษา คือ.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและภาษากะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Algae eater, Stone lapping) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Cyprinidae หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ ในอันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labeoninae (/ลา-เบ-โอ-นี-เน/) โดยรวมแล้ว ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวทรงกระบอก ครีบหลังยกสูงและไม่มีก้านครีบแข็ง ลักษณะสำคัญ คือ ปากจะงุ้มลงด้านล่าง มีริมฝีปากบนหนาและแข็ง ในบางสกุลจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวกระจายอยู่บนนั้น ในหลายชนิดมีหนวดอยู่ 1 คู่ โดยเป็นปลาที่ใช้ปากในการดูดกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณพื้นน้ำหรือโขดหิน, ตอไม้ ใต้น้ำ เป็นอาหาร มักพบกระจายพันธุ์ทั้งในลำธารน้ำเชี่ยว และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เพียงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 1 เมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G. fuliginosa, G. notata, G. cambodgiensis, G. fasciacauda เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เพื่อให้ดูดกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือและทำความสะอาดตู้เลี้ยง นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ปลาเลียหินยังนิยมใช้ในธุรกิจสปา แบบที่เรียกว่า "ฟิชสปา" โดยให้ผู้ใช้บริการแช่เท้าและขาลงในอ่างน้ำ และให้ปลาเลียหินมาดูดกินผิวหนังชั้นผิวกำพร้าเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ผิวใหม่อีกด้วย โดยในน้ำลายของปลาเลียหินจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่กระตุ้นในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ซึ่งปลาเลียหินที่นิยมใช้กันคือ ชนิด G. rufa และ G. sp.

ใหม่!!: ปลามูดหน้านอและปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Garra fuliginosa

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »