เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาปอดออสเตรเลีย

ดัชนี ปลาปอดออสเตรเลีย

ปลาปอดออสเตรเลีย หรือ ปลาปอดควีนส์แลนด์ (Australian lungfish, Queensland lungfish) เป็นปลากระดูกแข็งในชั้นปลาปอด (Dipnoi) ที่อยู่ในวงศ์ Ceratodontidae และในอันดับ Ceratodontiformes เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงสืบสายพันธุ์มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้และอันดับนี้ มีความแตกต่างไปจากปลาปอดชนิดที่พบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ที่อยู่ในอันดับ Lepidosireniformes พอสมควร เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาปอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 100 ล้านปีก่อน มากกว่า ซึ่งในอดีตมีปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้มากถึง 7 ชนิด แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปลาปอดออสเตรเลียมีความแตกต่างจากปลาปอดในอันดับ Lepidosireniformes กล่าวคือ มีครีบอกและครีบบริเวณท้อง มีรูปทรงคล้ายใบพาย มีถุงลมที่ใช้ช่วยในว่ายน้ำและพยุงตัว 1 ถุง ซึ่งถุงลมนี้มีความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนได้ แต่ไม่มีความสามารถที่จะสร้างเมือกมาปกคลุมลำตัวเพื่อช่วยในการจำศีลในฤดูแล้งได้ และอวัยวะที่ช่วยในการหายใจที่ทำหน้าที่คล้ายกับปอดของสัตว์บกก็มีเพียงชิ้นเดียว อีกทั้งยังมีรูปร่างที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ มีดวงตาที่กลมโตเห็นได้ชัดเจน เกล็ดมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน เป็นแบบ Cosmoid คือ เกล็ดลื่น ลักษณะเรียบ และมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ปรากฏแล้วในปลาชนิดอื่นในปัจจุบัน ปลาปอดออสเตรเลีย ไม่สามารถที่อาศัยอยู่ใต้น้ำได้เป็นระยะเวลานานเท่าปลาปอดจำพวกอื่น โดยจะขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเป็นระยะ ๆ ในช่วงฤดูแล้งที่แหล่งน้ำที่อาศัยแห้งขอด ปลาปอดออสเตรเลียจะอยู่นิ่ง ๆ ขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเพียงครั้งละ 1-2 ครั้งต่อชั่วโมงเท่านั้น พบกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นที่ ๆ มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดี มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง สภาพกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ พบในรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ในประเทศออสเตรเลียเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น กินอาหารจำพวกกบ, ลูกอ๊อด, ปลา, กุ้ง, ไส้เดือน, หอย, พืชน้ำ รวมถึงผลไม้ที่ตกลงมาจากต้นด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อค้นหาอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ตามซอกหินได้อีกด้วย ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่ยาวได้มากกว่า 1.2 เมตร น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม และเชื่อว่ามีอายุได้มากกว่า 70 ปี สถานะปัจจุบันของปลาปอดออสเตรเลีย นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติมากแล้ว ได้รับการอนุรักษ์ตามกฎหมายของออสเตรเลีย อีกทั้งยังบมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ที่จะมีการค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับการอนุญาตจากทางการเสียก่อน โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.

สารบัญ

  1. 29 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2413พ.ศ. 2518พื้นที่ชุ่มน้ำกฎหมายกระแสไฟฟ้าการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาวะผิวเผือกยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคครีเทเชียสรัฐควีนส์แลนด์รัฐนิวเซาท์เวลส์วงจรรวมสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์ออกซิเจนอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอฟริกาคาร์บอนไดออกไซด์ตาประเทศออสเตรเลียปลาสวยงามปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาปอดปอด1 กรกฎาคม

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและชั้นปลากระดูกแข็ง

พ.ศ. 2413

ทธศักราช 2413 ตรงกั.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและพ.ศ. 2413

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและพ.ศ. 2518

พื้นที่ชุ่มน้ำ

ื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน -ป่าพรุศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและพื้นที่ชุ่มน้ำ

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและกฎหมาย

กระแสไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและกระแสไฟฟ้า

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและการสูญพันธุ์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและภาวะผิวเผือก

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและยุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและยุคครีเทเชียส

รัฐควีนส์แลนด์

รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินทวีป ติดกับนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทางตะวันตก ติดกับรัฐเซาท์ออสเตรเลียทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางทิศใต้ ทางตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นทะเลปะการังและมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐควีนส์แลนด์มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและเป็นรัฐที่มีประชากรมาที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย พื้นที่แต่เดิมมีคนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะทอร์เรสสเตรทอาศัยอยู่ ที่มาอยู่ราว 40,000 ถึง 65,000 ปีก่อน ต่อมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษและแยกจากนิวเซาท์เวลส์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและรัฐควีนส์แลนด์

รัฐนิวเซาท์เวลส์

นิวเซาท์เวลส์ (อังกฤษ: New South Wales) เป็นหนึ่งในหกรัฐของเครือรัฐออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ นิวเซาท์เวลส์เป็นอาณานิคมบริเตนแห่งแรกในออสเตรเลีย แรกเริ่มกินดินแดนกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ก่อนที่จะแยกไปเป็นรัฐอื่นๆภายหลัง เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือซิดนี.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและรัฐนิวเซาท์เวลส์

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและวงจรรวม

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและสัตว์มีแกนสันหลัง

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและสปีชีส์

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและออกซิเจน

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและทวีปอเมริกาใต้

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและทวีปแอฟริกา

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและคาร์บอนไดออกไซด์

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและตา

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและประเทศออสเตรเลีย

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและปลาสวยงาม

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาปอด

ปลาปอดในสวนสัตว์พาต้า ปลาปอด (Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ ปลาปอดได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างมากนักจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปลาปอดจัดอยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ มีพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อเป็นครีบ มีครีบหางเดี่ยว มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ Cosmoid ซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในโลก ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและปลาปอด

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและปอด

1 กรกฎาคม

วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันที่ 182 ของปี (วันที่ 183 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 183 วันในปีนั้น.

ดู ปลาปอดออสเตรเลียและ1 กรกฎาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Australian lungfishCeratodontidaeCeratodontiformesNeoceratodusNeoceratodus forsteriQueensland lungfishปลาปอดควีนส์แลนด์