โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาบู่ยาม

ดัชนี ปลาบู่ยาม

ปลาบู่ยาม หรือ ปลาบู่กุ้ง (Watchman goby, Prawn-goby) เป็นปลาทะเลในสกุล Cryptocentrus (/คริป-โต-เซน-ตรัส/) ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) จัดเป็นปลาบู่ทะเลขนาดเล็ก เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาบู่ยาม" หรือ "ปลาบู่กุ้ง" เนื่องจากปลาบู่ในสกุลนี้มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในโพรงที่พื้นทรายใต้ทะเลร่วมกับกุ้งดีดขัน (Alpheaus spp.) ซึ่งเป็นกุ้งขนาดเล็ก โดยเอื้อประโยชน์ต่อกันด้วยการระมัดระวังภัยให้แก่กันและขุดโพรงทำรัง.

12 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันกุ้งดีดขันมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกวงศ์ปลาบู่สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธปลาบู่เหลืองปลาที่มีก้านครีบปีเตอร์ เบลเกอร์

ชาลส์ เทต รีกัน

ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1901 รีกันได้เข้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นนักสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี ค.ศ. 1927-ค.ศ. 1938 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1917 รีกัน เป็นนักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นผู้ศึกษาและอนุกรมวิธานปลาชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae), การบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของปลาในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุกรมวิธานปลากัดไทย หรือ ปลากัดสยาม (Betta splendens) ที่มีชื่อเสียง รีกันได้ร่วมทำงานกับนักมีนวิทยาชาวอังกฤษอีกคนที่มีชื่อเสียง คือ อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้มีปลาจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่รีกัน โดยจะใช้ชื่อว่า regani อาทิ Anadoras regani, Apistogramma regani, Julidochromis regani เป็นต้น ชาลส์ เทต รีกัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและชาลส์ เทต รีกัน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งดีดขัน

กุ้งดีดขัน หรือ กุ้งกระเตาะ (Snapping shrimps) เป็นครัสเตเชียนจำพวกหนึ่งในวงศ์ Alpheidae จัดเป็นกุ้งขนาดเล็ก ลำตัวใส ส่วนหัวมีขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปถึงหาง นัยน์ตาเล็กและมีหนวดยาว มีก้ามใหญ่โต โดยเฉพาะข้างหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง มีความสามารถงับก้ามทำให้เกิดเสียงดัง "แป๋ง ๆ " โดยเฉพาะเมื่อกระทบขันน้ำโลหะเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า "กุ้งดีดขัน" ซึ่งการที่ทำแบบนี้ได้ก็เพื่อทำให้ศัตรูตกใจ จากนั้นจะใช้ก้ามอีกข้างหนึ่งที่เล็กกว่าบีบน้ำใส่หน้าของศัตรูแล้วหนีไป มีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย และในน้ำจืดบางชนิด ซึ่งบางครั้งพบได้ในท้องร่องสวนบางที่ หรือตามลำห้วยที่ไหลมาจากน้ำตกได้อีกด้วย แรงดันของน้ำที่เกิดจากก้ามของกุ้งดีดขันมีมากได้ถึง 80 kPa ในรัศมี 4 เซนติเมตร ซึ่งมีความรุนแรงที่ทำให้ปลาตัวเล็ก ๆ ช็อกตายได้ และเสียงจากการกระทำดังนี้มีความดังถึง 218 dB/µPa/m (เดซิเบล/ไมโครปาสคาล/เมตร) เมื่อเทียบกับเสียงของน้ำตกไนแองการาซึ่งดังเพียง 90 dB เสียงในโรงงานอุตสาหกรรมดังเพียง 80 dB เสียงพูดคุยปกติธรรมดา 30 dB นับว่ากุ้งดีดขันสามารถทำเสียงได้ดังกว่า มีทั้งหมด 45 สกุล ชนิดที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่ Alpheus microrhynchus ซึ่งพบในน้ำจืด และ A. digitalis เป็นต้น เฉพาะสกุล Alpheus นั้นพบในประเทศไทยทั้งหมด 35 ชนิด โดยพบในอ่าวไทย 8 ชนิด ทะเลอันดามัน 5 ชนิด และพบทั้งสองฟากทะเล 22 ชนิด กุ้งดีดขันมีความสำคัญในแง่ของการประมง ที่บังกลาเทศ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียตอนเหนือ นิยมนำมารับประทาน และยังนิยมทำเป็นเหยื่อตกปลาอีกด้วย นอกจากนี้แล้วจากความสามารถที่ทำเสียงดังได้ ทำให้กุ้งดีดขันมักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ซึ่งชนิดที่มักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยง คือ A. cyanoteles ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในน้ำจืดสนิทหน้า 88-91.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและกุ้งดีดขัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เหลือง

ปลาบู่เหลือง (Yellow prawn-goby, Watchman goby) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) เป็นปลาบู่ที่มีพฤติกรรมอยู่ตามโพรงตามพื้นทรายใต้ทะเล โดยอาศัยอยู่ร่วมกับกุ้งดีดขันลายเสือ (Alpheus bellulus) ซึ่งเป็นกุ้งที่มีสายตาที่ไม่ดีนักจึงอาศัยปลาบู่เหลืองทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยให้ โดยทั้งคู่จะหากินอยู่เฉพาะบริเวณปากโพรง เมื่อไหร่ที่ถูกคุกคาม ปลาบู่เหลืองจะใช้หางโบกสะบัดเพื่อเป็นการเตือนกุ้งให้รู้ และทั้งคู่จะมุดลงโพรงพร้อม ๆ กัน และปลาก็ได้รับประโยชน์จากกุ้ง โดยกุ้งจะทำหน้าที่ขุดโพรงและดูแลโพรงให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัย เป็นปลาที่มีสีเหลืองสดใส มีจุดเล็ก ๆ สีฟ้ากระจายทั่วไปบริเวณครีบหลัง ลำตัวส่วนแรกและส่วนหัว เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดความยาวไม่เกิน 7-8 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการกินอาหารด้วยการอมทรายและพ่นออกมา พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยพฤติกรรมการกินอาหารเสมือนทำความสะอาดตู้เลี้ยงให้สะอาดตลอดเวลาด้วย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยไม่สามารถสังเกตเพศได้จากลักษณะภายนอก แต่พฤติกรรมปลาตัวผู้เมื่ออยู่รวมกันหลายตัว จะเป็นฝ่ายไล่ตัวอื่น โดยปลาจะผสมพันธุ์กันในเวลาเย็น แม่ปลาจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นพวงติดกับผนังด้านบนของโพรงที่อยู่อาศัย แล้วปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม จากนั้นปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่เป็นหลัก ลูกปลาใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 4 วัน หลังจากที่ไข่ได้รับการผสม อัตราในการฟักอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 ตัว.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและปลาบู่เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาบู่ยามและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CryptocentrusObtortiophagusPrawn-gobyWatchman gobyปลาบู่กุ้ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »