โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ดัชนี ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

33 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญพ.ศ. 2403กลุ่มเกาะมอริส ก็อตลาวงศ์ย่อยปลาซิววงศ์ปลาตะเพียนสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีขาวสปีชีส์อันดับปลาคาราซินอันดับปลาตะเพียนอนุทวีปอินเดียฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธจุดทวีปอเมริกาใต้คาบสมุทรมลายูประเทศอินโดนีเซียประเทศไทยปลาหัวงอนปลาหัวตะกั่วปลาที่มีก้านครีบปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาซิวปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัยปลาซิวหัวตะกั่วอินเดียปลาน้ำจืดปลาแปบปีเตอร์ เบลเกอร์แมลงโรคอ้วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2403

ทธศักราช 2403 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1860.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและพ.ศ. 2403 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและกลุ่มเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

มอริส ก็อตลา

มอริส ก็อตลา (Maurice Kottelat) เป็นนักมีนวิทยาชาวสวิส เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957 ที่เมืองเดอเลมง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นประธานสมาคมมีนวิทยาแห่งทวีปยุโรป ก็อตลาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนอชาแตลในปี ค.ศ. 1987 ในปี ค.ศ. 1980 ได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อศึกษาภาคสนามปลาน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศึกษาร่วมกับนักมีนวิทยาหลายชาติในภูมิภาคนี้ อาทิ ชวลิต วิทยานนท์ นักมีนวิทยาชาวไทย, ตาน ฮอก ฮุย นักชีววิทยาชาวสิงคโปร์ มีผลงานมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อสกุลในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) จากสกุล Botia เป็น Chromobotia และ Yasuhikotakia; การอนุกรมวิธานปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi), ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus), ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher) เป็นต้น ที่เกาะสุมาตรา ก็อตลาได้ค้นพบปลาสกุล Paedocypris ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย ปัจจุบันได้พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีปลาที่ได้รับการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ไปแล้วกว่า 440 ชนิด ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ก็อตลาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์เนื่องในการฉลองของมหาวิทยาลัยเนอชาแตล.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและมอริส ก็อตลา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและอันดับปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวงอน

ปลาหัวงอน หรือ ปลาหัวตะกั่ว (Panchax) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aplocheilus (/แอ็พ-โล-โคล-อัส/; มาจากภาษากรีก "Aploe" หมายถึง "เดี่ยว" และ "cheilos" หมายถึง "ริมฝีปาก") จัดอยู่ในวงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีลักษณะสำคัญคือ ปากยืดหดได้ มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลาง ฐานของครีบอกอยู่ต่ำกว่าระดับกึ่งกลางลำตัว ครีบหางมนกลม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วในทุกแหล่งน้ำอย่างกว้างขวางในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซุนดา มีขนาดทั่วไปไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าและสีสันสวยงามและหลากหลายกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ไว้กับไม้น้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-14 วัน การที่มีถิ่นการแพร่ขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีการสันนิษฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นด้วยมนุษย์ซึ่งได้เลี้ยงปลาสกุลนี้เป็นปลาสวยงามอยู่แล้ว อีกทั้งไข่ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทนร้อน และทนแห้งได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาคิลลี่ฟิช (สามารถส่งไปในซองจดหมายได้ด้วย) จึงประมาณกันว่าการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนั้นเกิดจากการ่มีไข่ปลาติดไปกับการขนส่งต้นข้าว หรือพืชน้ำต่าง ๆ แต่ตัวผู้มีอุปนิสัยก้าวร้าว มักชอบกัดกันเองคล้ายกับปลากัดหรือปลาเข็ม ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน ซึ่งคนไทยในสมัยโบราณมักจะจับมากัดกันเพื่อการพนัน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาหัวงอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย หรือ ปลาท้องพลุ หรือ ปลาข้าวเม่า (Flying minnow, Flying barb, Leaping barb, Siamese hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างค่อนข้างกว้าง ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสัน เส้นข้างลำตัวโค้งลงเห็นชัดเจน และขนานกับริมท้อง ครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว ที่หัวและบนหลังตอนหน้าครีบหลังมีจุดสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวหลังช่องเหงือกมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด และเหนือครีบอกมีจุดสีดำ 4-9 จุด สีของลำตัวทั่วไปเป็นสีขาวอมเขียวแวววาว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ย 4-5 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวหัวตะกั่ว 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนและแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่น กินอาหารบริเวณผิวน้ำ เช่น แมลง, ลูกน้ำ, ลูกไร เป็นอาหาร เป็นปลาที่เมื่อตกใจแล้วสามารถกระโดดพ้นน้ำได้สูง มีสถานะพบในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะรวบรวมจากแหล่งธรรมชาติจำหน่ายยังต่างประเทศ และในปัจจุบัน ก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ในบ่อเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย (Indian glass barb, Indian hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวรูปร่างกว้าง แบนข้างจนริมท้องเป็นสัน ช่วงท้องลึก มีครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ลำตัวมีลักษณะโปร่งแสงเป็นสีเงินแกมเขียวแววาวสะท้อนแสง มีจุดเด่นคือมีลายเส้นจุดสีน้ำเงินเข้มยาวตั้งแต่ฐานครีบอกไปจนถึงฐานของครีบหาง ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเข้ม ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนหรือสีส้มปนน้ำตาล มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยจะพบได้ที่ แหล่งน้ำทางภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นครึ้ม กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก เมื่อตกใจสามารถที่จะกระโดดเหินขนานไปกับผิวน้ำได้เป็นระยะทางสั้น ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาแปบ" หรือ "ปลาท้องพลุ".

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae).

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LaubucaLaubukaสกุลปลาท้องพลุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »