โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาข้างเหลือง

ดัชนี ปลาข้างเหลือง

ปลาข้างเหลือง หรือ ปลาสีกุนข้างเหลือง (Yellow-stripe scad, Yellow-stripe trevally, Thinscaled trevally) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Selaroides มีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว ลักษณะคล้ายกับปลาทู แต่ปลาข้างเหลืองจะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากปลาทูอย่างชัดเจนคือ ลำตัวจะมีแถบสีเหลืองเป็นแนวยาวจากหัวจนถึงโคนหาง ลำตัวแบนมีส่วนโค้งทางด้านหลังและด้านท้องเท่ากัน นัยน์ตาโต ปากเล็ก คอดหางเรียว ครีบหูยาวเรียวปลายแหลม ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหลังและครีบก้นยาว เส้นข้างตัวโค้งตามแนวสันหลังและเป็นเส้นตรงบริเวณตอนกลางครีบหลังอันที่สอง และมีจุดดำอยู่เหนือครีบหูตรงขอบแก้มด้านบน ความยาวตลอดลำตัวประมาณ 9-16 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กที่ล่องลอยในน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง พบในทุกระดับของทะเลเขตร้อน แถบอินโด-แปซิฟิก ถึงอ่าวเปอร์เซียจนถึงภาคตะวันตกของวานูอาตูและนิวแคลิโดเนีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ใช้ในการบริโภค ปลาข้างเหลือง นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียก ๆ อื่น เช่น "ปลาข้างลวด" หรือ"ปลากิมซัว".

11 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาหางแข็งสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงอ่าวเปอร์เซียทะเลประเทศวานูอาตูปลาทูปลาที่มีก้านครีบปีเตอร์ เบลเกอร์นิวแคลิโดเนีย

วงศ์ปลาหางแข็ง

วงศ์ปลาหางแข็ง (Jacks, Pompanos, Horse mackerels, Scads, Trevallies, Crevallies, Tunas) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carangidae มีรูปร่างลำตัวสั้นหรือค่อนข้างสั้น คอดหางเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กแบบราบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีเกล็ดแปรรูปขนาดใหญ่ที่บริเวณเส้นข้างลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อหางเสมือนเกราะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียวครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีเงี่ยงไม่แข็ง บริเวณหน้าครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกออกมาจากครีบก้น ซึ่งสามารถพับได้ ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ปลาขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือตามแหล่งน้ำจืดหรือน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25-100 เซนติเมตร ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 2 เมตร แบ่งออกเป็น 30 สกุล ประมาณ 151 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากวงศ์หนึ่ง โดยมีการนำไปบริโภคทั้งสด และแปรรูปเป็น ปลากระป๋อง (โดยเฉพาะใช้แทนปลาในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae), ปลาเค็ม เป็นต้น ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ๆ และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาสำลี (Seriolina nigrofasciata), ปลาหางแข็ง (Megalaspis cordyla), ปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate), ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis), ปลากะมง (Caranx sp.), ปลาโฉมงาม (Alectis sp.) และปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและวงศ์ปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศวานูอาตู

วานูอาตู (บิสลามา, อังกฤษ และVanuatu) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูอาตู (บิสลามา: Ripablik blong Vanuatu; Republic of Vanuatu; République de Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและประเทศวานูอาตู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู

ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและปลาทู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวแคลิโดเนีย

นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลดอนี (Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้ นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า.nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี ตั้งแต..

ใหม่!!: ปลาข้างเหลืองและนิวแคลิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SelaroidesSelaroides leptolepisปลากิมซัวปลาสีกุนข้างเหลืองปลาข้างลวด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »