เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลากระเบนปากแหลม

ดัชนี ปลากระเบนปากแหลม

ปลากระเบนปากแหลม หรือ ปลากระเบนตุ๊กตา (Scaly whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายว่าว ลำตัวแบนลงมาก ส่วนหน้าตาจะยื่นยาวแหลม ขอบจมูกมีขนาดใหญ่เท่ากับความยาว ช่องเปิดเหงือกมี 5 คู่อยู่ด้านท้อง ส่วนหางแยกออกจากส่วนลำตัวอย่างเห็นได้ชัด หางมีลักษณะแบน มีหนามแหลม 2 อัน ขอบหนาหยักเป็นจักร ความยาวของหางใกล้เคียงกับความยาวลำตัว ซึ่งนับว่าไม่ยาวมากเมื่อเทียบกับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุล Himantura ด้วยกัน ด้านบนของลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลม่วงกระจายอยู่ทั่วไป ใต้ท้องมีสีขาว พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลอยู่ตามหน้าดินในชายฝั่งทะเลตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก, มอริเชียส, อินโด-แปซิฟิก, ไปจนถึงอินโดนีเซีย ในบางครั้งเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำได้ จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยมีความกว้างเฉลี่ยของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตรเท่านั้น ในประเทศไทยใช้เนื้อเพื่อการบร.

สารบัญ

  1. 30 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคชายฝั่งพ.ศ. 2344พ.ศ. 2395พ.ศ. 2414การกินวงศ์ปลากระเบนธงสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีม่วงสีขาวสีน้ำตาลสปีชีส์อันดับปลากระเบนทะเลทะเลแดงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำความยาวประเทศมอริเชียสประเทศมัลดีฟส์ประเทศอินโดนีเซียประเทศไทยปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลากระเบนหางแส้ปีเตอร์ เบลเกอร์น้ำกร่อยแอฟริกาตะวันออกเมตร

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและชายฝั่ง

พ.ศ. 2344

ทธศักราช 2344 ตรงกับคริสต์ศักราช 1801 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและพ.ศ. 2344

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและพ.ศ. 2395

พ.ศ. 2414

ทธศักราช 2414 ตรงกั.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและพ.ศ. 2414

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและการกิน

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและวงศ์ปลากระเบนธง

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสกุล (ชีววิทยา)

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสัตว์มีแกนสันหลัง

สีม่วง

อกไม้สีม่วงอ่อน สีม่วง เป็นสีที่ผสมระหว่างสีน้ำเงินและสีแดง โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีม่วงเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น ซึ่งนอกจากสีม่วงแล้วยังมีสีเหลืองอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว จึงสามารถเลือกใช้สีม่วงเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสีม่วง

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสีขาว

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสีน้ำตาล

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลากระเบนปากแหลมและสปีชีส์

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและอันดับปลากระเบน

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและทะเล

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและทะเลแดง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ความยาว

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง แสดงความกว้าง ความยาว และความสูง ความยาว คือ ปริมาณของรูปหนึ่งมิติ หรือ มิติตามแนวยาวของวัตถุใด ๆ ความยาวของของสิ่งหนึ่งคือระยะทาง (หรือการกระจัด) จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการขยายเชิงเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความยาวอาจมีความหมายแยกออกจากความสูง ซึ่งเป็นการขยายตามแนวดิ่ง และความกว้าง ซึ่งเป็นระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เช่นวัดจากมุมข้างซ้ายไปยังมุมข้างขวาผ่านวัตถุเป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรม คำว่า ความยาว นี้มีความหมายเหมือนกับ ระยะทาง และย่อด้วยอักษร l หรือ L (แอล) หรือสัญลักษณ์คล้ายแอล ความยาวเป็นการวัดในหนึ่งมิติ ในขณะที่พื้นที่เป็นการวัดในสองมิติ และปริมาตรเป็นการวัดในสามมิติ ในระบบการวัดส่วนใหญ่ หน่วยความยาวเป็นหน่วยวัดพื้นฐานสำหรับการนิยามหน่วยวัดอื่น.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและความยาว

ประเทศมอริเชียส

มอริเชียส (Mauritius) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมอริเชียส (Republic of Mauritius) คือประเทศที่เป็นเกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ ประมาณ 900 กิโลเมตร (560 ไมล์) และทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียประมาณ 3,943 กิโลเมตร (2,450 ไมล์) นอกจากตัวเกาะมอริเชียสแล้ว สาธารณรัฐมอริเชียสประกอบด้วยเกาะเซนต์แบรนดอน เกาะรอดรีกส์ และหมู่เกาะอากาเลกา มอริเชียสเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแมสการีน มีเกาะเรอูนียงของฝรั่งเศส ตั้งอยู่ห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร (125 ไมล์).

ดู ปลากระเบนปากแหลมและประเทศมอริเชียส

ประเทศมัลดีฟส์

มัลดีฟส์ (Maldives; ދިވެހިރާއްޖެ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives; ހިވެދި ގުޖޭއްރާ ޔާއްރިހޫމްޖު) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมากในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังก.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและประเทศมัลดีฟส์

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ดู ปลากระเบนปากแหลมและประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและประเทศไทย

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและปลากระดูกอ่อน

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและปลากระเบน

ปลากระเบนหางแส้

ปลากระเบนหางแส้ (Whip rays) เป็นชื่อสกุลของปลากระเบน ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Himantura (/ไฮ-แมน-ทู-รา/) ปลากระเบนในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ มีปลายจะงอยปากที่แหลมยาว ขอบของด้านหน้าเชิงมน ลำตัวแบนกลมคล้ายใบโพ กลางหลังมีผิวที่ขรุขะและเป็นหนาม ในบางตัวอาจมีตุ่มหนามเล็ก ๆ ไปจรดถึงโคนหางที่เป็นเงี่ยงพิษ 2 ชิ้น มีส่วนหางที่เรียวยาวมาก โดยจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 คู่ อยู่ด้านใต้ของลำตัวซึ่งเป็นสีขาว และสีจางกว่าด้านบนลำตัว ความยาวของลำตัววัดจากรูก้นถึงปลายจะงอยปากสั้นมากกว่าความกว้างลำตัว เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 28 ชนิด โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากระเบนราหู (H.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและปลากระเบนหางแส้

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ดู ปลากระเบนปากแหลมและปีเตอร์ เบลเกอร์

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและน้ำกร่อย

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและแอฟริกาตะวันออก

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.

ดู ปลากระเบนปากแหลมและเมตร

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Himantura imbricataปลากระเบนตุ๊กตา