โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปริมาณเงิน

ดัชนี ปริมาณเงิน

ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริมาณเงิน (money supply sinv money stock) เป็นปริมาณรวมของสินทรัพย์การเงินที่มีอยู่ในเศรษฐกิจหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวิธีนิยาม "เงิน" หลายวิธี แต่วิธีมาตรฐานปกติรวมเงินตราที่หมุนเวียนในระบบ และเงินฝากกระแสรายวัน ปกติรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศหนึ่งบันทึกและจัดพิมพ์ข้อมูลปริมาณเงิน นักวิเคราะห์ภาครัฐและเอกชนเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมาช้านาน เนื่องจากเชื่อว่ากระทบต่อระดับราคา ภาวะเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนและวัฏจักรเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับราคาในอดีตสัมพันธ์กับทฤษฎีปริมาณเงิน (quantity theory of money) มีหลักฐานเชิงประจักษ์เข้มของความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างการเติบโตเงิน–อุปสงค์ (money–supply growth) และภาวะเงินเฟ้อราคาระยะยาว อย่างน้อยสำหรับการเพิ่มปริมาณเงินในเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ประเทศอย่างซิมบับเวซึ่งมีการเพิ่มปริมาณเงินอย่างรวดเร็วอย่างยิ่งมีราคาเพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างยิ่ง (ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด) จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับการพึ่งพานโยบายการเงินเป็นวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ.

5 ความสัมพันธ์: ภาวะเงินเฟ้อมิลตัน ฟรีดแมนธนาคารกลางประเทศซิมบับเวเศรษฐศาสตร์

ภาวะเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในปี 2550 ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการในระยะเวลาหนึ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งบวกและลบ ผลเสียที่เกี่ยวข้องกับภาวะเงินเฟ้อรวมถึงการเพิ่มของต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ใช้เงินและการทำให้ผู้บริโภคกักตุนสินค้าเนื่องจากประเมินว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต (หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว) ผลเชิงบวกของอัตราเงินเฟ้อมีดังนี้.

ใหม่!!: ปริมาณเงินและภาวะเงินเฟ้อ · ดูเพิ่มเติม »

มิลตัน ฟรีดแมน

มิลตัน ฟรีดแมน มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman; 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) เจ้าของประโยคที่โด่งดัง “โลกนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ” (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: ปริมาณเงินและมิลตัน ฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารกลาง

นาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1694 ธนาคารกลาง (central bank, reserve bank หรือ monetary authority) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการทางด้านการเงินของประเทศ ในประเทศไทยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ธนาคารกลางคือ ธนาคารแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ปริมาณเงินและธนาคารกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซิมบับเว

ซิมบับเว (Zimbabwe) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซิมบับเว (Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร.

ใหม่!!: ปริมาณเงินและประเทศซิมบับเว · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปริมาณเงินและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »