โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปราสาทบันทายศรี

ดัชนี ปราสาทบันทายศรี

ลักบนหน้าบันสลักของสถาปัตยกรรมขอม ปรากฏครั้งแรกที่ปราสาทบันทายศรีแห่งนี้ กลุ่มอาคารปราสาทบันทายศรี รูปสลักหินทรายสีชมพูรูปพญานาค ที่มีความคมชัดกว่ารูปสลักที่อื่นๆ ความละเอียดของงานแกะสลัก แผนผังปราสาท ปราสาทบันทายศรี (ប្រាសាទបន្ទាយស្រី ปราสาทบนฺทายศฺรี) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมราฐในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร.

19 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสพ.ศ. 1510พ.ศ. 1511พ.ศ. 2466พ.ศ. 2467พ.ศ. 2502พระศิวะพระอินทร์พนมเปญกระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)รัฐมนตรีศิวนาฏราชอัปสรอินโดจีนขอมประเทศกัมพูชาเสียมราฐ11 กรกฎาคม24 ธันวาคม

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1510

ทธศักราช 1510 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพ.ศ. 1510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1511

ทธศักราช 1511 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพ.ศ. 1511 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2466

ทธศักราช 2466 ตรงกั.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพ.ศ. 2466 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2467

ทธศักราช 2467 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1924 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพ.ศ. 2467 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพ.ศ. 2502 · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พนมเปญ

นมเปญ หรือ ภนุมปึญ (ភ្នំពេញ พนมเพ็ญ ออกเสียง:; Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 15.2 ล้านคน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและพนมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture) เป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและกระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี คือผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการและรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง ในอดีต รัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ศิวนาฏราช

ทวรูปศิวนาฏราช ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและศิวนาฏราช · ดูเพิ่มเติม »

อัปสร

ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ อัปสร (अप्सराः อปฺสราะ, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสะ; อจฺฉรา) ถือเป็นนางฟ้าจำพวกหนึ่ง แต่ไม่ใช่เทวี บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์ ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทพปกรณัมของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ ตามเทพปกรณัมฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมิวส์ของเทพปกรณัมกรีก นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและอัปสร · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขอม

อม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางใต้ของแคว้นสุโขทัย อาจจะหมายถึงพวก ละโว้ (หรือ ลพบุรี) เอกสารทางล้านนา เช่น จารึกและตำนานต่างๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา(ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็วๆ กลายเป็น “ขอม” พวกนี้ตัดผมเกรียน และนุ่งโจงกระเบน กินข้าวเจ้า ฯลฯ แคว้นละโว้มีชื่อในตำนาน และพงศาวดารว่า กัมโพช เลียนอย่างชื่อ กัมพูชา ของเขมร นับถือทั้งฮินดูและพุทธมหายาน อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ขอมเป็นพวกนับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ใครเข้ารีตเป็นฮินดู หรือพุทธมหายาน เป็นได้ชื่อว่า ขอม ทั้งหมด ขอมไม่ใช่ชื่อชนชาติ เพราะไม่มีชนชาติขอม แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ สยาม.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและขอม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

เสียมราฐ

ียมราฐ หรือ เสียมเรียบ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและเสียมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

11 กรกฎาคม

วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ 192 ของปี (วันที่ 193 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 173 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและ11 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 ธันวาคม

วันที่ 24 ธันวาคม เป็นวันที่ 358 ของปี (วันที่ 359 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 7 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายศรีและ24 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บันทายศรีปราสาท Banteay srei

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »