โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศรวันดา

ดัชนี ประเทศรวันดา

รวันดา (กิญญาร์วันดา, อังกฤษ และRwanda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐรวันดา (กิญญาร์วันดา: Republika y'u Rwanda; Republic of Rwanda; République du Rwanda) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่อยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลกส์ (Great Lakes) ทางตะวันออกของประเทศ รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ทางระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีประชากรร่วม ๆ 8 ล้านคน รวันดามีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น ดินแดนแห่งเขาพันลูก (Pays des Mille Collines เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือ Igihugu cy'Imisozi Igihumbi เป็นภาษากิญญาร์วันดา) รวันดายังถือเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในแอฟริกาส่วนภูมิภาค (ไม่นับเกาะเล็ก ๆ) เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประเทศรวันดาในระดับสากลคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซีในปี พ.ศ. 2537 (1994) ซึ่งส่งผลให้ประชากรเกือบล้านคนต้องเสียชีวิตไป เศรษฐกิจของรวันดาล้วนมาจากการเกษตรกรรม แต่เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ มิใช่เพื่อการค้า ในปัจจุบันที่ความหนาแน่นและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คุณภาพดินที่เสื่อมลงและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้รวันดาเป็นประเทศที่มีปัญหาร้ายแรงด้านการขาดสารอาหารของประชาชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงประสบกับปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง หมวดหมู่:ประเทศรวันดา ร หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2505 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเบลเยียม.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2505พ.ศ. 2537พอล คากาเมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษรวันดา นซีซาสาธารณรัฐสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทวีปแอฟริกาคิกาลีประเทศบุรุนดีประเทศยูกันดาประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเทศแทนซาเนียประเทศเบลเยียมเกษตรกรรมเอกราชเอดส์.rw1 กรกฎาคม

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและพ.ศ. 2537 · ดูเพิ่มเติม »

พอล คากาเม

พอล คากาเม (Paul Kagame; เกิด 23 ตุลาคม 1957) เป็นประธานาธิบดีแห่งรวันดาคนที่ 6 และคนปัจจุบัน เข้ารับตำแหน่งในปี 2000 หลังจากที่ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu ลาออก คากาเมนำกองกำลังกบฏหยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาในปี 1994 เขาถูกมองว่าเป็นผู้นำที่แท้จริงของรวันดาในขณะที่เขาเป็นรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ปี 1994 ถึงปี 2000 หมวดหมู่:ประธานาธิบดีรวันดา หมวดหมู่:ประเทศรวันดา.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและพอล คากาเม · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นการสังหารหมู่พันธุฆาตทุตซี (Tutsi) และฮูตู (Hutu) สายกลางในประเทศรวันดา โดยสมาชิกรัฐบาลฝ่ายข้างมากฮูตู ระหว่างสมัยประมาณ 100 วันตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2537 มีชาวรวันดาประมาณ 501,000–1,000,000 คนเสียชีวิต ซึ่งเป็น 70% ของชาวทุตซี และ 20% ของประชากรรวมของรวันดา สมาชิกอภิชนการเมืองแกนกลางที่เรียก อะคะซุ (akazu) วางแผนพันธุฆาตนี้ ซึ่งหลายคนนั่งตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาลแห่งชาติ ผู้ก่อการมาจากทหารในกองทัพรวันดา ตำรวจแห่งชาติ (ก็องดาร์เมอรี) ทหารอาสาสมัครที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งมีอินเตราฮัมเว (Interahamwe) และอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi) และประชากรพลเรือนฮูตู พันธุฆาตดังกล่าวเกิดในบริบทสงครามกลางเมืองรวันดา ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินซึ่งเริ่มในปี 2533 ระหว่างรัฐบาลที่มีฮูตูนำกับแนวร่วมรักประเทศชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front, RDF) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ลี้ภัยทุตซีซึ่งครอบครัวของพวกเขาหลบหนีไปประเทศยูกันดาให้หลังระลอกความรุนแรงต่อทุตซีของฮูตู การกดดันระหว่างประเทศต่อรัฐบาลที่มีฮูตูนำของจูเวนัล ไฮเบียรีมานา (Juvénal Habyarimana) ส่งผลให้มีการหยุดยิงในปี 2536 โดยแผนการนำข้อตกลงอารูชา (Arusha Accords) ไปปฏิบัติซึ่งจะสร้างรัฐบาลที่แบ่งอำนาจกับ RDF ความตกลงนี้ทำให้ฮูตูอนุรักษนิยมจำนวนมากไม่พอใจ ซึ่งมีสมาชิกอะคะซุด้วย ซึ่งมองว่าเป็นการยอมรับข้อเรียกร้องของศัตรู ในหมู่ประชากรฮูตูทั่วไป การทัพของ RDF ยังเร่งเร้าการสนับสนุนอุดมการณ์ที่เรียก "พลังฮูตู" ซึ่งพรรณา RDF ว่าเป็นกำลังต่างด้าวที่เจตนาฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ทุตซีและจับฮูตูเป็นทาส เป็นความเชื่อที่ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างสุดขั้ว วันที่ 6 เมษายน 2537 เครื่องบินที่บรรทุกไฮเบียรีมานา และประธานาธิบดีบุรุนดี ไซเปรียน ทายามิรา (Cyprien Ntaryamira) ถูกยิงตกระหว่างลงจอดสู่กรุงคิกาลี ทำให้ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิต การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มในวันต่อมา ทหาร ตำรวจและทหารอาสาสมัครประหารชีวิตผู้นำทุตซีและฮูตูสายกลางคนสำคัญอย่างรวดเร็ว แล้วตั้งจุดตรวจและสิ่งกีดขวางและใช้บัตรประจำตัวประชาชนชาวรวันดาเพื่อฆ่าทุตซีอย่างเป็นระบบ กำลังเหล่านี้เกณฑ์หรือกดดันพลเรือนฮูตูให้ติดอาวุธตนเองด้วยพร้า กระบอง วัตถุทื่อ และอาวุธอื่นเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ทำร้ายอวัยวะและฆ่าเพื่อนบ้านทุตซีของตนและทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของพวกเขา การละเมิดความตกลงสันติภาพทำให้ RDF เริ่มการบุกใหม่และยึดการควบคุมส่วนเหนือของประเทศอย่างรวดเร็วก่อนยึดกรุงคิกาลีในกลางเดือนกรกฎาคม ทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สิ้นสุด ระหว่างเหตุการณ์และผลลัพธ์ สหประชาชาติและประเทศอย่างสหรัฐ สหราชอาณาจักร และเบลเยียมถูกวิจารณ์ว่าอยู่เฉย ซึ่งรวมความล้มเหลวในการเสริมกำลังและอาณัติของทหารรักษาสันติภาพคณะผู้แทนช่วยเหลือแก่รวันดาของสหประชาชาติ (United Nations Assistance Mission for Rwanda, UNAMIR) ส่วนผู้สังเกตการณ์วิจารณ์รัฐบาลฝรั่งเศสโดยกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลที่ฮูตูนำหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มแล้ว พันธุฆาตนี้มีผลกระทบยาวนานล้ำลึกต่อประเทศรวันดาและประเทศเพื่อนบ้าน การใช้การข่มขืนกระทำชำเรายามสงครามอย่างแพร่หลายทำให้มีการติดเชื้อเอชไอวีพุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมเด็กทารกที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรามารดาที่ติดเชื้อใหม่ หลายครัวเรือนมีเด็กกำพร้าหรือหญิงหม้ายเป็นหัวหน้าครอบครัว การทำลายโครงสร้างพื้นฐานและการลดประชากรของประเทศอย่างรุนแรงทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต เป็นความท้าทายแก่รัฐบาลใหม่ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างเสถียรภาพ ชัยทางทหารของ RDF และการตั้งรัฐบาลที่ RDF ครอบงำทำให้ฮูตูหลายคนหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนตะวันออกของประเทศซาเอียร์ (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ที่ที่ฮูตูผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มรวมกลุ่มใหม่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนกับประเทศรวันดา รัฐบาลที่มี RDF นำประกาศความจำเป็นต่อป้องกันมิให้เกิดพันธุฆาตอีก จึงนำการบุกเข้าประเทศซาเอียร์ ได้แก่ สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง (2539–2540) และครั้งที่สอง (2542–2546) การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลรวันดากับศัตรูในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังดำเนินต่อผ่านทหารอาสาสมัครตัวแทนในภูมิภาคโกมา ซึ่งรวมการกบฏเอ็ม23 (2546–2556) ประชากรฮูตูและทุตซีรวันดาขนาดใหญ่ยังอาศัยแบบผู้ลี้ภัยทั่วภูมิภาค ปัจจุบัน ประเทศรวันดามีวันหยุดราชการสองวันเพื่อระลึกถึงพันธุฆาตดังกล่าว ช่วงรำลึกแห่งชาติเริ่มด้วยวันอนุสรณ์พันธุฆาตในวันที่ 7 เมษายนและสิ้นสุดด้วยวันปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม สัปดาห์ถัดจากวันที่ 7 เมษายนกำหนดให้เป็นสัปดาห์ไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สร้างศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อกำจัดความจำเป็นสำหรับศาลชำนัญพิเศษเฉพาะกิจเพื่อฟ้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาในเหตุพันธุฆาต อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงครามในอนาคต.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รวันดา นซีซา

ลงชาติรวันดามีชื่อว่า รวันดา นซีซา (กินยาร์วันดา: Rwanda Nziza) แปลว่า "รวันดาอันงามยิ่ง" เพลงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เพื่อใช้แทนเพลงชาติรวันดาเดิม ซึ่งมีชื่อว่า "รวันดา รวาคู" (กินยาร์วันดา: Rwanda rwacu แปลว่า "รวันดาของเรา") ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและรวันดา นซีซา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

คิกาลี

กาลี (Kigali) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศรวันดา มีประชากรเกือบ 1 ล้านคน (ค.ศ. 2009) ตั้งอยู่เกือบใจกลางของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเดินทาง เป็นเมืองหลวงของประเทศในปี..

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและคิกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบุรุนดี

รุนดี (ฝรั่งเศสและBurundi) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐบุรุนดี (Republika y'u Burundi; République du Burundi) หรือชื่อเดิมว่า อุรุนดี (Urundi) คือประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเกรตเลกส์ของแอฟริกา บุรุนดีมีพรมแดนทางเหนือจดประเทศรวันดา ทางใต้และตะวันออกจดประเทศแทนซาเนีย และทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บุรุนดีเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อย่างไรก็ดี ทางตะวันตกส่วนใหญ่ติดต่อกับทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) ชื่อบุรุนดีมาจากภาษากลุ่มบันตู ภาษาคิรุนดี นอกจากจะเป็นประเทศที่ห่างไกลทางภูมิศาสตร์ มีความกดดันทางประชากร และมีทรัพยากรเบาบางแล้ว บุรุนดีเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนและมีความขัดแย้งมากที่สุดในแอฟริกาและโลก ขนาดเล็กของบุรุนดี ต่างจากปัญหาใหญ่ที่มีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยพื้นที่ที่เป็นสิทธิ์ของชนกลุ่มน้อยทุตซี กับชนกลุ่มใหญ่ฮูตู.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและประเทศบุรุนดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดา

ูกันดา (Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้ว.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและประเทศยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ในปี 2551 มีทั้งหมด 45 ประเทศ การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย ประเทศที่มีชายฝั่งมีแนวโน้มที่จะร่ำรวยกว่าและมีประชากรมากกว่าประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ยังมีคำว่า ทะเลปิด หมายถึงทะเลที่ไม่ได้เชื่อมกับมหาสมุทร เช่น ทะเลแคสเปียน ซึ่งในบางครั้งมองเป็นทะเลสาบ นอกจากนี้ทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก และ ทะเลแดง มีช่องทางออกสู่ทะเลน้อ.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

.rw

.rw เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศรวันดา เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2539.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและ.rw · ดูเพิ่มเติม »

1 กรกฎาคม

วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันที่ 182 ของปี (วันที่ 183 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 183 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศรวันดาและ1 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rwandaรวันดาสาธารณรัฐรวันดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »