โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บิลเซิน

ดัชนี บิลเซิน

ลเซิน (Bilzen) เป็นเมืองและเทศบาลที่อยู่ในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ประมาณครึ่งทางระหว่างเมืองฮัสเซิลต์กับเมืองมาสทริชท์ บิลเซินมีประชากรกว่า 30,000 คนอาศัยอยู่ในทั้ง 13 เขตย่อย โดยประชากรเกือบ 1 ใน 3 อาศัยอยู่ที่ตัวเมือง บิลเซินมีทางหลวงยุโรปสาย E313 (แอนต์เวิร์ป-ฮัสเซิลต์-ลีแยฌ) ตัดผ่าน นอกจากนี้ยังมีคลองอัลเบิร์ตและทางรถไฟระหว่างฮัสเซิลต์กับลีแยฌผ่านด้วย เมืองที่อยู่รอบข้างบิลเซิน ได้แก่ ฮุเซิลต์ทางตะวันตก, ดีเปินเบกทางตะวันตกเฉียงเหนือ, ซือเตินดาลและเคงก์ทางเหนือ, ลานาเกินทางตะวันออก และรีมสต์ทางใต้ บิลเซินเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบิลเซินกับอีก 12 เขตย่อยขึ้นเป็นเมืองเมื่อปี ค.ศ. 1977.

19 ความสัมพันธ์: ชุมชนฟลามส์พ.ศ. 2520พ.ศ. 2557มาสทริชท์มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)รีมสต์ลานาเกินลีแยฌฮัสเซิลต์ฮุเซิลต์ดีเปินเบกซือเตินดาลประเทศเบลเยียมแอนต์เวิร์ปเวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเขตการปกครองของประเทศเบลเยียมเคงก์1 มกราคม

ชุมชนฟลามส์

ตพื้นที่ของชุมชนฟลามส์ ชุมชนฟลามส์ (Vlaamse Gemeenschap) ในทางการปกครองของเบลเยียม เป็นสถาบันชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ตามกฎหมายในขอบเขตพื้นที่ภาษาดัตช์ และเขตทวิภาษาในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ทั้งนี้ บทบาทของชุมชนฟลามส์ได้นำมารวมกับเขตฟลามส์ บริหารโดยสภาฟลามส์ในบรัสเซลส์ ชุมชนฟลามส์ยังมีความหมายในทางสังคมและวัฒนธรรม หมายถึงองค์กร สื่อ สังคม วัฒนธรรมของชาวฟลามส์ อีกนัยหนึ่งคือความเป็น"ชาติฟลามส์".

ใหม่!!: บิลเซินและชุมชนฟลามส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: บิลเซินและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: บิลเซินและพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

มาสทริชท์

มาสทริชท์ หรือ มาสตริคต์ (Maastricht) เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในจังหวัดลิมบูร์ก และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส ใกล้เขตแดนประเทศเบลเยียม เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว การที่อยู่ติดแนวเขตแดนทำให้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครองบ่อยครั้ง สเปนได้ยึดครองใน..

ใหม่!!: บิลเซินและมาสทริชท์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)

ลิมเบิร์ก (Limburg) เป็นมณฑลที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตฟลามส์ในประเทศเบลเยียม และอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเมิซ มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับจังหวัดนอร์ทบราแบนต์, ทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางใต้ติดต่อกับมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์และมณฑลแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม ลิมเบิร์กมีเมืองหลวงมณฑลคือฮัสเซิลต์ และมีพื้นที่ 2,414 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง (arrondissement) ประกอบด้วย 44 เทศบาล โดยเคงก์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และดีเปินเบกเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของมณฑล ทั้งสองเมืองนี้อยู่ใกล้ๆ กับฮัสเซิลต์ ลิมเบิร์ก เมน ฟาเดอร์ลันด์ (Limburg mijn Vaderland: ลิมเบิร์ก แผ่นดินพ่อของฉัน) คือเพลงประจำมณฑลลิมเบิร์กของทั้งประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ลิมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีคลองอัลเบิร์ตและแม่น้ำเดเมอร์พาดผ่าน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลมีเนินเขาเตี้ยๆ เป็นจำนวนมาก และในอดีตลิมเบิร์กเคยมีพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินอยู่มาก.

ใหม่!!: บิลเซินและมณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม) · ดูเพิ่มเติม »

รีมสต์

รีมสต์ (Riemst) เป็นเทศบาลทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลลิมเบิร์กในประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 16,000 คน ล้อมรอบไปด้วยโตงเงอเริน, ฮุเซิลต์, บิลเซิน และลานาเกิน ในมณฑลลิมเบิร์ก, บาซ็องฌ์ และอีสในมณฑลลีแยฌ และมาสทริชท์ในประเทศเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: บิลเซินและรีมสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลานาเกิน

ลานาเกิน (Lanaken) เป็นเทศบาลในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 25,000 คน ประมาณร้อยละ 20 ของประชากรมีสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ลานาเกินมีพื้นที่ติดกับชายแดนเนเธอร์แลนด์และตรงข้ามกับมาสทริชท์ โดยได้มีการเริ่มสร้างรางรถไฟระหว่างลานาเกินกับมาสทริชท์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และมีแผนที่จะสร้างต่อไปถึงฮัสเซิลต์ซึ่งมีแผนเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: บิลเซินและลานาเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège), ลึททิช (Lüttich), เลยก์ (Luik) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย ในอดีตที่ตั้งของลีแยฌเคยเป็นรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ" ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 980 แต่ได้ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1795 เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลีแยฌ (University of Liège: ULg) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1817 ประมาณครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลีแยฌเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งนำความเจริญมาสู่วัลโลเนีย แต่ต่อมาได้มีการลดความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็กลง ลีแยฌมีชื่อเล่นคือ La Cité Ardente (เมืองที่ร้อนแรง) โดยชื่อนี้มาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันโดย Henri Carton de Wiart ใน ค.ศ. 1904 ซึ่งในขณะนั้นชื่อนี้ยังไม่เคยถูกใช้.

ใหม่!!: บิลเซินและลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัสเซิลต์

ัสเซิลต์ (Hasselt) เป็นเมืองหลวงของมณฑลลิมเบิร์ก ในประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 75,000 คน ฮัสเซิลต์มีแม่น้ำเดเมอร์และคลองอัลเบิร์ตพาดผ่าน มีถนนสายหลักคือทางหลวงยุโรป E313 (แอนต์เวิร์ป-ฮัสเซิลต์-ลีแยฌ) และมีทางรถไฟที่เชื่อมต่อฮัสเซิลต์กับเคงก์, ลีแยฌ, แอนต์เวิร์ป และบรัสเซล.

ใหม่!!: บิลเซินและฮัสเซิลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮุเซิลต์

ซิลต์ (Hoeselt) เป็นเทศบาลในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 9,600 คน ภายในพื้นที่ 30.02 ตารางกิโลเมตร และความหนาแน่นประชากรเป็น 320 คนต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: บิลเซินและฮุเซิลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเปินเบก

ีเปินเบก (Diepenbeek) เป็นเทศบาลที่อยู่ในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับฮัสเซิลต์ และอยู่ระหว่างฮัสเซิลต์กับเคงก์ ดีเปินเบกเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตมหาวิทยาลัยฮัสเซิลต์และอุทยานวิทยาศาสตร์ลิมเบิร์ก ทางตอนเหนือของเมืองมีคลองอัลเบิร์ตผ่าน ส่วนทางใต้มีทางหลวงพิเศษสาย E313 (แอนต์เวิร์ป-ลีแยฌ) ในใจกลางเมืองมีถนนเก่าจากฮัสเซิลต์ถึงบิลเซินและมาสทริชท์ นอกจากนี้ดีเปินเบกยังมีสถานีรถไฟซึ่งอยู่ในทางรถไฟสายแอนต์เวิร์ป-ฮัสเซิลต์-ลีแ.

ใหม่!!: บิลเซินและดีเปินเบก · ดูเพิ่มเติม »

ซือเตินดาล

ซือเตินดาล (Zutendaal) เป็นเทศบาลในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 7,100 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเคงก์ และมีพื้นที่ติดต่อกับอัส, มาสเมเคอเลิน, ลานาเกิน และบิลเซิน โดยซือเตินดาลห่างจากฮัสเซิลต์ซึ่งเป็นเมืองหลวงจังหวัด 16 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนหนึ่งของซือเตินดาลเป็นเขตอุทยานแห่งชาติโฮเคอเกมเปิน.

ใหม่!!: บิลเซินและซือเตินดาล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: บิลเซินและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: บิลเซินและแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: บิลเซินและเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: บิลเซินและเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม นั้นมีลักษณะการปกครองโดยรัฐบาลกลาง (แบบสหพันธรัฐ) อันประกอบด้วย 3 ชุมชน (Community), 3 เขต (Region) และ 4 เขตภาษา (Language area) ซึ่งทั้งสามแบบนี้ประกอบรวมกันเป็นประเทศเบลเยียม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียมปี..

ใหม่!!: บิลเซินและเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เคงก์

งก์ (Genk) เป็นเมืองและเทศบาลที่ตั้งอยู่ในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับฮัสเซิลต์ เคงก์เป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของเขตฟลามส์ ตั้งอยู่ที่คลองอัลเบิร์ต มีประชากรประมาณ 64,000 คน โดยหนึ่งในสามของประชากรเป็นชาวต่างประเทศซึ่งมาจาก 85 ชาติ ส่วนใหญ่จากอิตาลี โปแลนด์ ยูเครน ตุรกี กรีก และโมร็อกโก ซึ่งชาวอิตาลีเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมประมาณ 10,000 คน เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของเบลเยียมและเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เคงก์เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลังจากการค้นพบถ่านหินเป็นปริมาณมากในปี ค.ศ. 1901 เคงก์ก็เป็นสถานที่ดึงดูดความสนใจจากทั้งผู้อพยพชาวเบลเยียมและชาวต่างประเทศจำนวนมาก จนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลลิมเบิร์กรองจากฮัสเซิลต์ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1966 เหมืองถ่านหินในเขตซวาร์ตแบร์คปิดลง เคงก์จึงได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับคลองอัลเบิร์ตและทางหลวงต่าง.

ใหม่!!: บิลเซินและเคงก์ · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: บิลเซินและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bilzenบิลเซน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »