โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลีแยฌ

ดัชนี ลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège), ลึททิช (Lüttich), เลยก์ (Luik) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย ในอดีตที่ตั้งของลีแยฌเคยเป็นรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ" ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 980 แต่ได้ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1795 เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลีแยฌ (University of Liège: ULg) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1817 ประมาณครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลีแยฌเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งนำความเจริญมาสู่วัลโลเนีย แต่ต่อมาได้มีการลดความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็กลง ลีแยฌมีชื่อเล่นคือ La Cité Ardente (เมืองที่ร้อนแรง) โดยชื่อนี้มาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันโดย Henri Carton de Wiart ใน ค.ศ. 1904 ซึ่งในขณะนั้นชื่อนี้ยังไม่เคยถูกใช้.

37 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ชาร์เลอรัวพ.ศ. 1523พ.ศ. 2338พ.ศ. 2360พ.ศ. 2447พ.ศ. 2555พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์กรากุฟมาสทริชท์มณฑลลีแยฌรอตเทอร์ดามราชรัฐมุขนายกลีแยฌลีลวอลโกกราดสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1อาเคินจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คริสต์ศตวรรษที่ 20ตูรินซามาร์คันด์ประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีประเทศเนเธอร์แลนด์นครควิเบกน็องซีแม่น้ำเมิซแอนต์เวิร์ปโคโลญโปร์ตูเกนต์เวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเขตวัลลูนเปิลเซน1 มกราคม

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: ลีแยฌและบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอรัว

ร์เลอรัว (Charleroi) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ในมณฑลแอโน อยู่ทางใต้ของกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 50 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 203,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 500,000 คน นับเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับห้าของประเทศเบลเยียมรองจากบรัสเซลส์, แอนต์เวิร์ป, ลีแยฌ และเกนต์ และหากนับเฉพาะจำนวนประชากรในเขตเทศบาล ชาร์เลอรัวจะเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสามรองจากแอนต์เวิร์ปและเกนต์ ชาร์เลอรัวตั้งอยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่น้ำซ็องบร์ (Sambre) เดิมมีการประกอบอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่นการทำเหมืองถ่านหินและอุตสาหกรรมเหล็กกล้า จนได้รับชื่อเล่นว่า Pays Noir (ประเทศสีดำ) อย่างไรก็ตามโรงงานส่วนใหญ่ถูกปิดตัวลงตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 ภูมิทัศน์ของเมืองก็ยังคงมีบริเวณของเสียจากอาคารอุตสาหกรรมเก่าอยู่ทั่วไป ประวัติศาสตร์ของชาร์เลอรัวเริ่มต้นใน ค.ศ. 1666 ในสมัยที่สเปนมีอำนาจเหนือเนเธอร์แลนด์ ผู้สำเร็จราชการชาวสเปนได้เข้ามาเวนคืนพื้นที่จากชาวท้องถิ่นและสร้างป้อมปราการที่ริมแม่น้ำซ็องบร์ สะพานข้ามแม่น้ำถูกสร้างขึ้น ที่ดินถูกแจกจ่ายไปสู่ประชาชน และได้รับการตั้งชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าการ์โลสที่ 2 (Charles II) พระมหากษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น.

ใหม่!!: ลีแยฌและชาร์เลอรัว · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1523

ทธศักราช 1523 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลีแยฌและพ.ศ. 1523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลีแยฌและพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2360

ทธศักราช 2360 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลีแยฌและพ.ศ. 2360 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลีแยฌและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ลีแยฌและพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์

ระเจ้าวิลเลิมที่ 1 หรือ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ (Willem I der Nederlanden; William I of the Netherlands; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2315 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2386) เป็นเจ้าชายแห่งออเรนจ์ พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์พระองค์แรก และแกรนด์ดยุกลักเซมเบิร์ก พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2315 เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายวิลเลิมที่ 5 แห่งออเรนจ์ กับเจ้าหญิงวิลเฮ็ลมีนาแห่งปรัสเซีย พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ทรงครองราชย์เป็นเจ้าชายแห่งราชรัฐเนเธอร์แลนด์เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2356 หลังจากนั้น 2 ปี พระองค์ก็ได้ทรงก่อตั้งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ขึ้น ทำให้พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งแกรนด์ดยุกลักเซมเบิร์กอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากปกครองเนเธอร์แลนด์ได้ 25 ปีพระองค์ก็สละราชสมบัติแก่พระโอรส พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2386 ที่กรุงเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน ขณะทรงมีพระชนมายุได้ 71 พรรษา พระศพของพระองค์ได้รับการฝังไว้ที่วิหารนีวแกร์ก เมืองเดลฟท.

ใหม่!!: ลีแยฌและพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรากุฟ

กรากุฟ (Kraków) หรือ คราเคา (Krakow หรือ Cracow) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวเขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7The Municipality Of Kraków Press Office, 1996–2007, in participation with ACK Cyfronet of the AGH University of Science and Technology, กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ลีแยฌและกรากุฟ · ดูเพิ่มเติม »

มาสทริชท์

มาสทริชท์ หรือ มาสตริคต์ (Maastricht) เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในจังหวัดลิมบูร์ก และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส ใกล้เขตแดนประเทศเบลเยียม เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว การที่อยู่ติดแนวเขตแดนทำให้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครองบ่อยครั้ง สเปนได้ยึดครองใน..

ใหม่!!: ลีแยฌและมาสทริชท์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège) หรือ ลึททิช (Lüttich) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์, มณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศเยอรมนี, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์และมณฑลนามูร์ และทางใต้ติดต่อกับมณฑลลักเซมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและประเทศลักเซมเบิร์ก ประชากรส่วนใหญ่ของลีแยฌพูดภาษาฝรั่งเศส แต่ในบางเมืองทางตะวันออกของมณฑลใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก ลีแยฌมีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเมิซ ลีแยฌมีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 3,862 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 84 เทศบาล.

ใหม่!!: ลีแยฌและมณฑลลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

รอตเทอร์ดาม

รอตเทอร์ดาม สถานีรถและอาคารรูปลูกบาศก์ในเมืองรอตเทอร์ดาม ศูนย์กลางธุรกิจของเมืองรอตเทอร์ดาม รอตเทอร์ดาม (อังกฤษ, ดัตช์: Rotterdam) เป็นเมืองท่าหลัก และเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส (Maas River) รอตเทอร์ดามนับเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอีราสมุส (Erasmus University Rotterdam) ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherland Architecture institute - NAi) รอตเทอร์ดามมีลักษณะต่างจากเมืองอื่น ๆ ในเนเธอร์แลนด์คือเป็นเมืองที่มีสถาปัตยกรรมยุคใหม่ ในปี ค.ศ. 2007 ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็น "เมืองแห่งสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: ลีแยฌและรอตเทอร์ดาม · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ

ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ (Prince-Bishopric of Liège) เป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศเบลเยียมที่ปกครองโดยเจ้าชายบิชอปแห่งลีเยช (Prince-Bishop of Liège) ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ลีแยฌและราชรัฐมุขนายกลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

ลีล

ลีล (Lille) หรือ ไรเซิล เป็นเมืองหลวงของแคว้นนอร์-ปาดกาแล และเป็นเมืองบริหารของจังหวัดนอร์ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ลีลเป็นเมืองเอกของนครลีล (Lille Métropole) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสี่ของเมืองมหานคร รองจากปารีส ลียง และมาร์แซย์ ลีลตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเดิล ติดกับพรมแดนประเทศเบลเยียม ลีลที่ผนวกลอม (Lomme) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ลีแยฌและลีล · ดูเพิ่มเติม »

วอลโกกราด

มืองวอลโกกราด วอลโกกราด (Волгоград; Volgograd) เป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญและเมืองหลวงของมณฑลวอลโกกราด ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศรัสเซีย ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวอลกา เป็นเมืองท่าที่สำคัญบนฝั่งแม่น้ำ ผลิตเคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์อาหาร และเป็นสถานีไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญ เมืองมีประชากร 1,021,244 คน (ค.ศ. 2010) เดิมเป็นป้อมของชาวรัสเซียที่สร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: ลีแยฌและวอลโกกราด · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

หราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ หรือ ราชอาณาจักรสหเนเธอร์แลนด์ (Verenigd Koninkrijk der Nederlanden, Royaume-Uni des Pays-Bas, United Kingdom of the Netherlands หรือ Kingdom of the United Netherlands) (ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1830) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่หมายถึงรัฐใหม่ของยุโรปที่เกิดขึ้นจากจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ระหว่างการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์" ที่ประกอบด้วยอดีตสาธารณรัฐแห่งรัฐดัตช์ทั้งเจ็ดทางตอนเหนือ, อดีตเนเธอร์แลนด์ออสเตรียทางตอนใต้, และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอเป็นประมุขของราชอาณาจักรใหม่ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ล่มสลายลงระหว่างการปฏิวัติเบลเยียมในปี ค.ศ. 1830 สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ไม่ทรงยอมรับฐานะของเบลเยียมจนเมื่อทรงถูกกดดันโดยสนธิสัญญาลอนดอนในปี ค.ศ. 1839.

ใหม่!!: ลีแยฌและสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1

ณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (Première République) สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1792 โดยสภากงว็องซียงแห่งชาติ หลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ซึ่งในยุคนี้มีการเข่นฆ่าชีวิตผู้คนมากมายตามคำสั่งของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ประธานสภากงว็องซียงแห่งชาติ จึงทำให้ผู้คนเรียกยุคสมัยนั้นว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ก่อนที่รอแบ็สปีแยร์จะถูกประหารด้วยกิโยตีน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794 และในที่สุดสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ก็ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1804 จากการขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน.

ใหม่!!: ลีแยฌและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: ลีแยฌและอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ลีแยฌและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: ลีแยฌและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ตูริน

ตูริน (Turin) หรือ โตรีโน (Torino) เป็นเมืองหลักของแคว้นปีเยมอนเตในประเทศอิตาลี เป็นทั้งเมืองศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมและธุรกิจของภาคเหนือของอิตาลี ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโป มีประชากร 908,000 คน (ค.ศ. 2004) และ 2.2 ล้านคนเมื่อรวมปริมณฑล (สถิติองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) บริษัทผลิตรถยนต์เฟียตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่และบริษัทรถยนต์บางบริษัทก็เริ่มกิจการที่เมืองนี้ ฉะนั้นตูรินจึงมีชื่อเล่นว่าเป็นเมืองหลวงของการผลิตรถยนต์ในประเทศอิตาลี นอกจากนั้นตูรินยังเป็นเมืองหลวงเมืองแรกของสหรัฐอิตาลี.

ใหม่!!: ลีแยฌและตูริน · ดูเพิ่มเติม »

ซามาร์คันด์

ซามาร์คันด์ (سمرقند; อุซเบก: Самарқанд) เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน เป็นโอเอซิสซึ่งได้รับน้ำมาจากคลองที่ขุดมาจากแม่น้ำซารัฟชาน ชื่อเดิมของเมืองซามาร์คันด์ คือ เมืองมาระกันดะ เมื่อปี 329 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียเสด็จผ่านเมืองนี้เพื่อที่จะเดินทางไปอินเดีย จึงได้ยึดเอาไว้ ต่อจากนั้น พวกเติร์ก พวกอาหรับ และพวกเปอร์เซียก็เข้าปกครองเมืองนี้ต่อ ๆ กันมา เมืองซามาร์คันด์แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคกลาง และในปี พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) เจงกิสข่านแผ่อาณาจักรเข้าควบคุมเส้นทางสายไหม แล้วได้ยึดซามาร์คันด์ในปี พ.ศ. 1764 (ค.ศ. 1221) อีก 100 ปีต่อมา เมืองนี้ก็เหลือแต่ซาก ข่านติมูร์ เลงค์ เป็นผู้ทรงทำให้เมืองนี้เจริญขึ้น ติมุร์สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์สืบสายวงศ์จากซากะไตข่าน ราวปี พ.ศ. 1910 (ค.ศ. 1367) จักรวรรดิมองโกลเสื่อมลง ติมุร์มุ่งมั่นจะเป็นผู้นำความรุ่งโรจน์คืนสู่จักรวรรดิดังเดิม จึงนำทัพเข้ายัดดินแดนตั้งแต่ทะเลดำไปจรดลุ่มน้ำสินธุ บุกทำลายบ้านเมืองจนสิ้นซาก ฆ่าฟันผู้คนจนสิ้นเมือง แล้วนำกะโหลกมากองสร้างเป็นพีระมิด ติมุร์ไว้ชีวิตแต่พวกช่างฝีมือ ทั้ง จากอาเซอร์ไบจาน อิสฟาฮาน ชิราซ เดลี และดามัสกัส ช่างเหล่านี้ได้ถูกส่งมาเนรมิตซามาร์คันด์ให้กลายเป็นนครที่สวยงามอีกครั้ง มีสิ่งก่อสร้างรูปโดม ประดับประดาไปด้วยลวดลายโมเสกที่สวยงาม และได้สร้างสุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกอิสลาม สุเหร่าแห่งนี้ชื่อว่า บิบิ คะนุม เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 1942 (ค.ศ. 1399) ใช้เวลาก่อสร้างนาน 5 ปี ใช้ช่างฝีมือ 200 คน แรงงาน 500 คน ช้างอีก 95 เชือก ปัจจุบันยังคงโดดเด่นตระหง่านเหนือเมือง และที่หน้าสุเหร่ายังมีแท่นซึ่งเดิมวางคัมภีร์อัลกุรอานที่ใหญ่ถึง 2 เมตร พระเจ้าติมุร์สิ้นพระชนม์ในจีนเมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) พระศพฝังอยู่ที่สุสานในเมืองซามาร์คันด์ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอุลุค เบก ซามาร์คันด์ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและวิทยาการ พระองค์ทรงสร้างอาคารสองชั้นเพื่อใช้เป็นวิทยาลัยเทววิทยา ด้านหน้าอาคารประดับไปด้วยลวดลายที่งดงาม และยังทรงสร้างหอดูดาวที่มีเครื่องมือสังเกตการณ์ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น และ ในปี พ.ศ. 1992 (ค.ศ. 1449) พระเจ้าอุลุค เบก ถูกลอบปลงพระชนม์ หลังจากนั้นนครนี้ก็ได้เสือมถอยลงอย่างรวดเร็วพร้อมกับเส้นทางสายไหมได้ถูกปิดลง และในปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) นครนี้ก็ได้ถูกพวกโกลเดน ฮอร์ด มองโกลผู้ครอบดินแดนเหนือทะเลสาบแคสเปี่ยนจนไปถึงรัสเซีย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเคียฟ เข้ายึดครอบครอง และ ราวศตวรรติที่ 18 นครแห่งนี้จนเสื่อมและร้างผู้คนเป็นเวลา 50 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ตกเป็นดินแดนของรัสเซีย ซามาร์คันด์มีฐานะเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองนี้ มีการตัดเส้นทางรถไฟในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) และกลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าเกษตร ภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกแยกกลายเป็นส่วนหนึ่งประเทศอุซเบกิสถานปัจจุบันและก็ได้กลายเป็นเมืองมรดกโลก หมวดหมู่:เมืองในประเทศอุซเบกิสถาน หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศอุซเบกิสถาน หมวดหมู่:มรดกโลกทางวัฒนธรรม หมวดหมู่:ประเทศอุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: ลีแยฌและซามาร์คันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ลีแยฌและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ลีแยฌและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ลีแยฌและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นครควิเบก

วิวเมืองเคเบก จากแม่น้ำทางทิศใต้ ควิเบก (Québec, Quebec) หรือ เกแบ็ก (Québec) เป็นเมืองหลวงของรัฐควิเบก โดยควิเบกเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัฐรองมาจากมอนทรีออล ตัวเมืองอยู่ห่างจากมอนทรีออล 233 กิโลเมตร ตัวเมืองจะมีจุดที่เป็นเมืองเก่า (Vieux-Québec) ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยในส่วนเมืองเก่านี้เองได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก เมืองควิเบกมีประชากร 494,142 คน (สัมมโน 2549) ชื่อเมืองควิเบกมาจากคำในภาษาของอินเดียนแดงเผ่าอัลกอนควิน จากคำว่า Kébec หมายถึงจุดที่แม่น้ำแคบเข้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของเมืองควิเบกพอดี.

ใหม่!!: ลีแยฌและนครควิเบก · ดูเพิ่มเติม »

น็องซี

น็องซี น็องซี (Nancy,; Nanzig) เป็นเมืองและเทศบาลในแคว้นลอแรน ประเทศฝรั่งเศส น็องซีเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเมอร์เตมอแซล.

ใหม่!!: ลีแยฌและน็องซี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเมิซ

แม่น้ำเมิซ (Meuse) หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์เรียก แม่น้ำมาส (Maas) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดโอต-มาร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านประเทศเบลเยียมทางด้านตะวันออก แล้วไหลเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ไปรวมกับแม่น้ำวาลที่เมืองคอร์เกิม (Gorinchem) แล้วจึงไหลลงทะเลเหนือ รวมความยาว 925 กม.

ใหม่!!: ลีแยฌและแม่น้ำเมิซ · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: ลีแยฌและแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: ลีแยฌและโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

โปร์ตู

ปร์ตู (Porto) หรือ โอพอร์โต (Oporto) เป็นเมืองใหญ่อันดับสอง ของประเทศโปรตุเกส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโดรูทางตอนเหนือของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางเก่าแก่ของยุโรป นอกจากนี้โปร์ตูยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1996 ปัจจุบันเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียง อีกทั้งไวน์จากโปร์ตูเป็นที่รู้จักอย่างมาก คำว่า โปร์ตู ในภาษาโปรตุเกส หมายถึง ท่าเรือ มหาวิหารโปร์ตู.

ใหม่!!: ลีแยฌและโปร์ตู · ดูเพิ่มเติม »

เกนต์

มืองเกนต์ เกนต์ (Ghent เดิม Gaunt), เคนต์ (Gent) หรือ ก็อง (Gand) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟลานเดอร์ตะวันออกในบริเวณเฟลมมิชของประเทศเบลเยียม เดิมตัวเมืองเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานที่ปากแม่น้ำสเกลต์และแม่น้ำลูส ในยุคกลางเกนต์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดในตอนเหนือของยุโรป ในปัจจุบันเป็นเมืองท่าและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกนต์ เกนต์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสองของประเทศเบลเยียมโดยจำนวนประชากร บริเวณตัวเมืองและปริมณฑลมีเนื้อที่ 1,205 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรทั้งหมด 594,582 คน (1 มกราคม 2008) Definitions of metropolitan areas in Belgium.

ใหม่!!: ลีแยฌและเกนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ลีแยฌและเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ลีแยฌและเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: ลีแยฌและเขตวัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

เปิลเซน

ปิลเซน (Plzeň) เป็นเมืองหลวงของเขตเปิลเซนในประเทศเช็กเกีย และเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงปรากทางทิศตะวันตก 90 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีเบียร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือเบียร์พิลส์เนอร.

ใหม่!!: ลีแยฌและเปิลเซน · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ลีแยฌและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Liègeลีแยช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »