โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามเขตหลัง

ดัชนี สงครามเขตหลัง

งครามเขตหลัง หรือ บินกลางคืน เป็นภาพยนตร์ที่จัดสร้างโดยกองภาพยนตร์ทหารอากาศ กองทัพอากาศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2486 โดยคำสั่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อปลอบขวัญ และปลุกใจคนไทยให้รักชาติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 ม.ม. ขาวดำ เสียงในฟิล์ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับฝูงบินรบของไทยที่มีหน้าที่บินสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตร ที่มาทิ้งระเบิดกรุงเทพ และธนบุรี การถ่ายทำภาพยนตร์เป็นไปอยางยากลำบาก เพราะขาดแคลนฟิล์ม กองภาพยนตร์ทหารอากาศต้องสั่งซื้อฟิล์มจากญี่ปุ่น และการทำถ่ายทำต้องหยุดชะงักลง เมื่อไม่มีฟิล์มจะใช้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีโอกาสได้ออกฉาย เนื่องจากฟิล์มต้นฉบับเสียหายไปทั้งหมดเมื่อโรงเก็บฟิล์มภาพยนตร์ ของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ถูกระเบิดไฟไหม้ก่อนสิ้นสุดสงครามไม่นาน พร้อมกับฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง บ้านไร่นาเรา และพระเจ้าช้างเผือก.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2486พระเจ้าช้างเผือกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลกรุงเทพกองทัพอากาศไทยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุลอำนวย กลัสนิมิธนบุรีทวี จุลละทรัพย์ทวี ณ บางช้างประเทศญี่ปุ่นแท้ ประกาศวุฒิสารแปลก พิบูลสงครามเครื่องบินทิ้งระเบิด

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าช้างเผือก

ระเจ้าช้างเผือก เป็นราชสมัญญานามของพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงครอบครองช้างเผือกไว้ประดับบารมี มีด้วยกันหลายพระองค์ ได้แก.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและพระเจ้าช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

ลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ (27 พฤศจิกายน 2453 - 5 กุมภาพันธ์ 2538) เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และเป็นพระอัยกา(ตา)ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับละครและภาพยนตร์ รวมทั้งทรงพระนิพนธ์เรื่องและคำร้องเพลงประกอบหลายเรื่อง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและกองทัพอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล

หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล (14 มกราคม พ.ศ. 2452 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) หรือ ท่านชายขาว ช่างภาพ ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมแสง ดิศกุล ณ อยุธยา เสกสมรสกับ หม่อมลดา ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุลอยู่ในวงการภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้กำกับภาพ ภาพยนตร์ รวมไทย ภาพยนตร์ปลุกระดมการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ของกรมสาธารณสุขและกรมรถไฟ กำกับภาพ ภาพยนตร์ กะเหรี่ยงไทรโยค (2478) ของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต ท่านเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ปรเมรุภาพยนตร์ เพื่อสร้างภาพยนตร์ สุภาพบุรุษเสือไทย ซึ่งอำนวยการสร้างโดยแท้ ประกาศวุฒิสาร โดยท่านเป็นผู้กำกับ และประสบความสำเร็จสูงสุดในปี..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล · ดูเพิ่มเติม »

อำนวย กลัสนิมิ

ใจเพชร (2506) ชโลมเลือด (2506) พันธุ์ลูกหม้อ (2507) สิงห์ล่าสิงห์ (2507) ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509) อำนวย กลัสนิมิ หรือ ครูเนรมิต (พ.ศ. 2458 − 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและอำนวย กลัสนิมิ · ดูเพิ่มเติม »

ธนบุรี

นบุรี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ทวี จุลละทรัพย์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2457 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตเสนาธิการทหารอากาศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เคยเป็นพระเอกภาพยนตร์ของ กองภาพยนตร์ทหารอากาศ เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและทวี จุลละทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวี ณ บางช้าง

ทวี ณ บางช้าง หรือ ครูมารุต (? - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย และนักแต่งเพลงไทย มีผลงานกำกับละครเวที ของคณะอัศวินการละคร และ คณะศิวารมย์ ร่วมกับ อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) เช่น เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ราชินีบอด ฯลฯ รวมทั้งกองภาพยนตร์ทหารอากาศ เป็นผู้แต่งคำร้องเพลงอมตะ รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในภาพยนตร์ ชั่วฟ้าดินสล.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและทวี ณ บางช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

แท้ ประกาศวุฒิสาร

แท้ ประกาศวุฒิสาร (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 -) ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ แห่งบริษัทภาพยนตร์ไทยไตรมิตร ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี..

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและแท้ ประกาศวุฒิสาร · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบินทิ้งระเบิด

รื่องบินทิ้งระเบิดบี-17 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินทิ้งระเบิด คือ อากาศยานทางการทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจการโจมตีเป้าหมายทางภาคพื้นดินและทางทะเล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้การปล่อยลูกระเบิดลงมาเพื่อทำลายเป้าหมาย ซึ่งระเบิดที่ถูกทิ้งลงมามีหลากหลายชนิด เช่น ระเบิดนาปาล์ม ระเบิดทำลายบังเกอร์ ระเบิดอัจฉริยะ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: สงครามเขตหลังและเครื่องบินทิ้งระเบิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บินกลางคืน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »