โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บริเวณคริสต์ศาสนพิธี

ดัชนี บริเวณคริสต์ศาสนพิธี

ริเวณทางขวาของแขนกางเขน (สีเทา) คือบริเวณพิธี บริเวณคริสต์ศาสนพิธี (Chancel) คือบริเวณรอบแท่นบูชาเอกในบริเวณมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานซึ่งอาจจะเป็นปลายสุดของมุขโค้งด้านสกัด หลังจากการการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1215 ก็ได้มีข้อกำหนดออกมาข้อหนึ่งที่ว่านักบวชจะต้องกระทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณที่ได้รับพิทักษ์จากการก่อกวนจากบริเวณสำหรับศาสนิกชนผู้เข้าร่วมพิธี ฉะนั้นบริเวณพิธีของนักบวชในสมัยโบราณจึงถูกกันออกจากบริเวณของฆราวาสด้วยฉาก ความแตกต่างของสองบริเวณนี้กำหนดไว้ในคริสต์ศาสนกฎบัตร ที่ว่าการก่อสร้างและการบำรุงรักษาบริเวณพิธีเป็นหน้าที่ของนักบวช และการก่อสร้างและการบำรุงรักษาบริเวณทางเดินกลางและทางเดินข้างเป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้เป็นฆราวาสของวัด ฉะนั้นบางครั้งจึงทำให้บริเวณพิธีและบริเวณฆราวาสก็จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในด้านการตกแต่งและสภาพของบริเวณ นอกไปจากแท่นบูชาแล้วบริเวณพิธีก็มักจะเป็นที่ตั้งของโต๊ะพิธี (credence table) และที่นั่งของนักบวชระดับต่างๆ ของวัดและในวัดอังกลิคันและเมธอดิสต์ก็อาจจะรวมทั้งบริเวณร้องเพลงสวดด้วย ในบางวัดบริเวณนี้ก็อาจจะมีแท่นเทศน์และแท่นอ่าน แต่บางครั้งทั้งสองอย่างนี้ก็อาจจะตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นของฆราวาส บริเวณพิธีมักจะยกขึ้นสูงกว่าบริเวณที่เป็นของฆราวาส และอาจจะแยกออกไปด้วยฉากกางเขน, ราว หรือบริเวณโล่ง ในวัดบางวัดผู้เข้าร่วมพิธีก็อาจจะนั่งรอบสามด้านของบริเวณพิธีเป็นครึ่งวงกลมก็ได้ คำว่า “chancel” มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แผลงมาจากภาษาลาติน “cancelli” ที่แปลว่าฉากโปร่ง (lattice) ที่หมายถึงฉากกางเขน.

11 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดช่องทางเดินพ.ศ. 1758กฎหมายศาสนจักรมุขโค้งด้านสกัดผังอาสนวิหารฉากกางเขนแท่นบูชาแท่นเทศน์โบสถ์คริสต์

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและช่องทางเดิน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1758

ทธศักราช 1758 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและพ.ศ. 1758 · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและฉากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

แท่นเทศน์

แท่นเทศน์มานูเอลินที่คอนเวนโตเดกริสโต (Convento de Cristo) โทมาร์ ประเทศโปรตุเกส แท่นเทศน์ (pulpit) มาจากภาษาละติน “Pulpitum” ที่แปลว่า “รั่งร้าน” หรือ “แท่น” หรือ “เวที” เป็นแท่นที่ยกสูงจากพื้นที่บาทหลวงหรือศาสนาจารย์ใช้ทั้งภายในหรือภายนอกโบสถ์คริสต์ ในบางโบสถ์จะมีที่ตั้งสำหรับปาฐกสองที่ ตามปกติแล้วผู้อยู่ทางซ้ายของผู้เข้าร่วมพิธีจะเป็น “แท่นเทศน์” เพราะการที่แท่นเทศน์มักใช้ในการอ่านจากพระวรสาร ด้านนี้ของโบสถ์จึงเรียกว่าด้านพระวรสาร (gospel side) ทางด้านขวาจะมี “แท่นอ่าน” (lectern) ที่มาจากภาษาละติน “lectus” ที่แปลว่า “อ่าน” เพราะเป็นที่สำหรับการอ่านเป็นส่วนใหญ่ที่มักจะใช้โดยฆราวาสในการอ่านบทสอนจากคัมภีร์ (ยกเว้นบทสอนจากพระวรสาร) เป็นที่นำผู้เข้าร่วมพิธีในการสวดมนต์ หรือเป็นที่ใช้ประกาศ เพราะด้านนี้ของคริสต์ศาสนสถานเป็นด้านที่ใช้อ่านบทจดหมาย (epistle lesson) ด้านนี้บางครั้งจึงเรียกว่าด้าน “บทจดหมาย” ในบางโบสถ์แท่นอ่านซึ่งเป็นที่อ่านบทจดหมาย (Epistle) ก็อยู่ทางขวาและแท่นเทศน์อยู่ทางซ้.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและแท่นเทศน์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: บริเวณคริสต์ศาสนพิธีและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ChancelChancelsบริเวณพิธี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »