โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บรรดาศักดิ์

ดัชนี บรรดาศักดิ์

รรดาศักดิ์ คือระดับชั้น หรือชั้นยศของขุนนาง ซึ่งมีในทุกๆ ประเทศ เพียงแต่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น.

4 ความสัมพันธ์: บรรดาศักดิ์อังกฤษบรรดาศักดิ์ไทยฐานันดรศักดิ์ยุโรปขุนนางกรุงศรีอยุธยา

บรรดาศักดิ์อังกฤษ

รรดาศักดิ์อังกฤษ (Peerage of England) ประกอบด้วยบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานให้ในสมัยของราชอาณาจักรอังกฤษช่วงก่อนสมัยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งในปีนั้นเองบรรดาศักดิ์อังกฤษ และบรรดาศักดิ์สก็อตแลนด์ ได้ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันคือบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษประกอบไปด้วยบรรดาศักดิ์เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้.

ใหม่!!: บรรดาศักดิ์และบรรดาศักดิ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บรรดาศักดิ์ไทย

ในฐานันดรศักดิ์ไทย บรรดาศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของข้าราชการไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Title.

ใหม่!!: บรรดาศักดิ์และบรรดาศักดิ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์ยุโรป

รรดาศักดิ์ยุโรป หมายถึงระบบชั้นและชั้นยศของขุนนางในทวีปยุโรป ปัจจุบันยังปรากฏมากอยู่ในสหราชอาณาจักรและยังปรากฏในประเทศอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิบไตยด้วย เช่นเดนมาร์ก และ สวีเดน เป็นต้น ระบบขุนนางในยุโรปนี้เป็นระบบขุนนางสืบตระกูล ทายาทที่อาวุโสที่สุดจะได้ขึ้นสืบบรรดาศักดิ์ มีสิทธิและเกียรติฐานะเทียบเท่ากับเจ้าบรรดาศักดิ์เดิม ซึ่งแตกต่างกับระบบขุนนางในประเทศในเอเชีย ที่บรรดาศักดิ์ขุนนางจะเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่มีการสืบทอดไปยังรุ่นลูกหลาน.

ใหม่!!: บรรดาศักดิ์และฐานันดรศักดิ์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

นนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้ว ในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว.

ใหม่!!: บรรดาศักดิ์และขุนนางกรุงศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »