โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

ดัชนี ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

นนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้ว ในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว.

21 ความสัมพันธ์: บรรดาศักดิ์บรรดาศักดิ์ไทยกบฏกษัตริย์ภาษามคธภาษาสันสกฤตภาษาไทยมหาดเล็กระบบเจ้าขุนมูลนายราชทินนามสมุหพระกลาโหมสมุหนายกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสงครามอาณาจักรอยุธยาจตุสดมภ์ความตายประเทศกัมพูชาประเทศอินเดียประเทศไทยไพร่

บรรดาศักดิ์

รรดาศักดิ์ คือระดับชั้น หรือชั้นยศของขุนนาง ซึ่งมีในทุกๆ ประเทศ เพียงแต่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและบรรดาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

บรรดาศักดิ์ไทย

ในฐานันดรศักดิ์ไทย บรรดาศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของข้าราชการไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Title.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและบรรดาศักดิ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหาดเล็ก

มหาดเล็ก หมายถึง ข้าราชการในพระราชสำนัก โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า “......

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและมหาดเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

ราชทินนาม

ราชทินนาม คือ นาม หรือชื่อที่ได้รับพระราชทานซึ่งแสดงถึงตำแหน่ง หน้าที่ของขุนนางด้วย โดยราชทินนามนั้นจะอยู่ต่อท้าย บรรดาศักดิ์ไทย เช่น.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและราชทินนาม · ดูเพิ่มเติม »

สมุหพระกลาโหม

มุหพระกลาโหม เป็นลักษณะการปกครองแต่เดิม จนกระทั่งถึงสมัยพระเพทราชา ได้เปลี่ยนจากที่แต่เดิมสมุหพระกลาโหมควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ มาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน และได้ถูกยกเลิกไปคราวสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2435.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและสมุหพระกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

สมุหนายก

มุหนายก คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นเจ้ากรมมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพญาจักรีศรีองครักษ์" คู่กับสมุหกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เจ้ากรมกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพญามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทร์" หมวดหมู่:ขุนนางไทย หมวดหมู่:ยศศักดิ์ไทย ตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ โดยให้สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการฝ่ายทหารและพลเรือน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยตั้งกระทรวงขึ้นสิบสองกระทรวง มีเสนาบดีประจำทุกกระทรวง กรมมหาดไทยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงมหาดไทย สมุหนายกจึงถูกลดฐานะจากอัครมหาเสนาบดี ลงเป็นเสนาบดีเท่ากับเสนาบดีอื่น ๆ นับเป็นการสิ้นสุดตำแหน่ง สมุหนายก ในสมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองภายในราชธานี มีตำแหน่งเสนาบดีสำคัญสี่ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมือง หรือเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดี กรมนา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงปรับปรุงวิธีการปกครองส่วนกลาง โดยแบ่งขุนนางและไพร่พล ทั่วพระราชอาณาจักรออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โปรดให้ตั้งกรมมหาดไทย ขึ้นโดยมีสมุหนายก เป็นเจ้ากรม และเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน ในหัวเมืองต่าง ๆ ทุกเมือง รวมทั้งเสนาบดีจตุสมดภ์ด้วย ทรงตั้งกรมพระกลาโหม มีสมุหพระกลาโหม เป็นเจ้ากรม และหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหาร ในราชธานี และทุกหัวเมือง ทั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม มีฐานะเป็น อัครเสนาบดี และเป็นประธานในคณะลูกขุนฝ่ายทหารและพลเรือน ในยามศึกสงครามทั้งทหารและพลเรือน ต่างต้องทำหน้าที่ในการสู้รบป้องกันบ้านเมืองเช่นเดียวกัน ตำแหน่งสมุหนายก มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "เจ้าพญาจักรี" ศักดินา 10,000 มีตราพระราชสีห์ และตราจักร เป็นตราประจำตำแหน่ง เมื่อประชุมเสนาบดีทั้งหมด สมุหนายกจะเป็นประธานในการประชุม เพราะมีฐานะเป็นประมุขของเสนาบดี สมุหนายก มีหน้าที่ติดต่อกับประเทศราช ในนามของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีอำนาจปกครอง ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) มีการแบ่งหัวเมืองในราชอาณาจักร ออกเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ได้มีการโอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้แก่ เจ้าพระยาโกษาธิบดี เสนาบดีพระคลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้โอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ คืนให้สมุหกลาโหม ตั้งแต่หัวเมืองชายทะเลแปดเมือง รวมทั้งเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเดิมขึ้นกรมมหาดไทย รวมเป็นเก้าเมือง ให้เจ้าพระยาพระคลัง ปกครองโดยแบ่งหัวเมืองภาคใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลัง สิบเก้าเมือง ขึ้นกับสมุหนายก หนึ่งเมืองคือ เพชรบุรี รวมยี่สิบเมือง มาขึ้นกับสมุหกลาโหม ในปี..

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและสมุหนายก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

มเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จตุสดมภ์

ตุสดมภ์ (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่") เป็นคำที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีลักษณะเป็นแบบ "นายกรัฐมนตรี 2 คน" มากกว.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและจตุสดมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไพร่

ในสังคมไทยสมัยโบราณ ไพร่ หมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส หรือเจ้าขุนมูลนาย มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว มีศักดินา 10-25 ไร่ และต้องสังกัดมูลนาย จะโยกย้ายสังกัดไม่ได้ ไพร่ที่ขึ้นสังกัดหรือสักเลกแล้ว จะปรากฏเครื่องหมายสังกัดที่ข้อมือ หากสามัญชนผู้ใดไม่ได้สังกัดมูลนายจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ไพร่มีหน้าที่ในการถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเสีย "ส่วย" และถูกเกณฑ์ทหารในยามที่มีศึกสงคราม มีสองประเภทคือ ไพร่หลวง และ ไพร่สม ไพร่หลวง คือไพร่ที่สังกัดกรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานตามราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงานหรือที่เรียกว่า "ไพร่ส่วย" การส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงาน เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ" ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้มูลนายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มูลนายจะมีไพร่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ยศ ตำแหน่ง ศักดินา ไพร่สมต้องทำงานให้ราชสำนักปีละ 1 เดือน ส่วนเวลาที่เหลือรับใช้มูลนายหรือส่งเงินแทน เมื่อถึงยามสงครามทุกคนต้องเป็นทหารป้องกันอาณาจักร เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรจะขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา ระบบไพร่ดำรงอยู่จนกระทั่งถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ จนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการเลิกไพร่อย่างเป็นทางการ เมื่อมีการนำระบบภาษีอากร และระบบเกณฑ์ทหารสมัยใหม่มาใช้แทน.

ใหม่!!: ขุนนางกรุงศรีอยุธยาและไพร่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขุนนางไทยขุนนางไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »