โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์

ดัชนี บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์

ทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (De anatomische les van Dr.; The Anatomy Lesson of Dr.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์ในยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่เมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แร็มบรันต์เขียนภาพ "บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์" เสร็จในปี ค.ศ. 1632 นายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (Nicolaes Tulp) ในภาพกำลังอธิบายระบบกล้ามเนื้อของแขนแก่นักศึกษาแพทย์ ศพในภาพเป็นของอาชญากรอาริส กินต์ (Aris Kindt) ที่เสียชีวิตโดยการถูกลงโทษโดยการแขวนคอในเช้าวันเดียวกันด้วยข้อหาลักทรัพย์ ผู้สังเกตการณ์เป็นนายแพทย์ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจะปรากฏในภาพเขียน การชำแหละเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1632 สมาคมศัลยแพทย์แห่งอัมสเตอร์ดัมที่นายแพทย์ตึลป์เป็นผู้เชี่ยวชาญกายวิภาคศาสตร์ประจำเมืองอนุญาตให้ทำการชำแหละ (dissection) ได้เพียงปีละครั้ง และร่างที่ใช้ในการชำแหละต้องมาจากอาชญากรผู้ถูกสังหารเท่านั้น บทเรียนกายวิภาคศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัดกันในห้องบรรยายที่เป็นโรงละครจริง ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นนักศึกษา ผู้ร่วมวิชาชีพ และสาธารณชนที่ต้องจ่ายค่าเข้าชม ผู้ที่เข้ามาสังเกตการณ์จะแต่งตัวให้เหมาะสมอย่างการเข้าร่วมพิธีการของสังคม เชื่อกันว่านอกไปจากบุคคลที่อยู่ข้างหลังและบุคคลทางด้านซ้ายมาเพิ่มในภายหลัง บุคคลหนึ่งที่ขาดจากภาพนี้คือผู้เตรียมศพที่มีหน้าที่เตรียมร่างสำหรับการชำแหละ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญเช่นนายแพทย์ตึลป์จะไม่ทำหน้าที่ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ย่อย ๆ เช่นการชำแหละ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อื่น ฉะนั้นเราจึงไม่เห็นภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการชำแหละในภาพนี้ แต่จะมีภาพของตำรากายวิภาคศาสตร์เปิดอยู่ตรงมุมล่างขวาของภาพ ที่อาจจะเป็นตำรา "โครงสร้างของร่างกายมนุษย์" (De humani corporis fabrica) ที่พิมพ์ในปี..

16 ความสัมพันธ์: ชาวดัตช์พ.ศ. 2175กล้ามเนื้อกายวิภาคศาสตร์จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์จิตรกรรมสีน้ำมันจุดเกาะต้นประเทศเนเธอร์แลนด์ปลายแขนปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนแร็มบรันต์แอนเดรียส เวซาเลียสเอ็นเดอะเฮก16 มกราคม

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2175

ทธศักราช 2175 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และพ.ศ. 2175 · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์

ตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (Dutch Golden Age painting) คือช่วงระยะหนึ่งของประวัติศาสตร์จิตรกรรมของเนเธอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราว ค.ศ. 1584 มาจนถึง ค.ศ. 1702 เมื่อการค้าขาย, วิทยาศาสตร์ และศิลปะของเนเธอร์แลนด์เป็นทีเจริญถึงจุดสูงสุดและเลื่องลือไปทั่วโลก จิตรกรของสมัยนี้สร้างแบบฉบับการเขียนงานจิตรกรรม และ ทิ้งอิทธิพลงานที่เป็นอนุสรณ์ต่อนักเขียนภาพรุ่นต่อมาเป็นอันมาก.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

จุดเกาะต้น

กาะต้น (origin) ของกล้ามเนื้อเป็นจุดที่กล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกหรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ โครงสร้างที่จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อจะไม่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะปลาย (insertion) โดยทั่วไป จุดเกาะต้นมักจะอยู่ส่วนต้น (proximal) มากกว่าจุดเกาะปลาย แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะต้นเสมอไป.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และจุดเกาะต้น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (Lateral epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก โค้งเล็กน้อยทางด้านหน้า เป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อศอก และจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) และกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดนิ้วบางมัด ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มดอร์ซัล อีพิคอนไดล์ (dorsal epicondyle of the humerus).

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

แร็มบรันต์

แร็มบรันต์ 100px แร็มบรันต์ ฮาร์เมินส์โซน ฟัน ไรน์ (Rembrandt Harmenszoon van Rijn; 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2149 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2212) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรปและเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดรายหนึ่งของโลก ผลงานของแร็มบรันต์ทำให้เนเธอร์แลนด์รุ่งเรืองสุดขีดหรือที่เรียกว่ายุคทองในช่วงศตวรรษที่ 17 และเป็นผู้มีอำนาจทั้งด้านอิทธิพลการเมือง วิทยาศาสตร์ พาณิชย์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจิตรกรรม เขาเป็นบุตรคนที่ 9 ของครอบครัวเจ้าของโรงงานและหุ้นส่วนโรงสีลมในเมืองไลเดิน เนเธอร์แลนด์ พี่น้องของแร็มบรันต์ถูกฝึกหัดเป็นเจ้าของโรงงาน คนทำขนมปัง หรือช่างทำรองเท้า แต่พ่อแม่ส่งลูกคนเล็กสุดของพวกเขาตอนอายุเจ็ดขวบไปที่โรงเรียนประถมมัธยมศึกษาโปรเตสแตนต์ที่ซึ่งเขาเรียนภาษาละติน เมื่อเขาอายุ 14 ปี แร็มบรันต์ลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงของไลเดิน แต่เขาแทบจะไม่เรียนมากเพราะว่าในขณะเดียวกันเขาขอให้พ่อแม่ของเขาฝึกหัดเขาให้เป็นจิตรกร ความหวังของเขาได้รับการเติมเต็ม และเขากลายเป็นลูกศิษย์ของศิลปินท้องถิ่น ยาโกบ ฟัน สวาเนินบืร์ค (Jacob van Swanenburgh) ซึ่งเพิ่งกลับมาหลังจากการอยู่อาศัยที่ยาวนานในอิตาลี ระหว่างช่วงนี้เขาได้วาดฉากมากมายของแม่มดและนรก เขาสอนแร็มบรันต์ว่าถ่ายความรู้สึกของมนุษย์ลงในภาพอย่างไร ใช้แสงและความมืดเพื่อแบ่งแยกองค์ประกอบสำคัญจากสิ่งเล็กน้อยอย่างไร หลังจากเสร็จการฝึกหัดของเขา แร็มบรันต์ในวัยเยาว์ไปอัมสเตอร์ดัมเป็นครั้งแรก รับการสอนจากปีเตอร์ ลัสต์มัน เป็นไปได้ว่าแร็มบรันต์ใช้เวลาไม่เกินหกเดือนกับลัสต์มันก่อนกลับไปบ้านเดิมของเขาที่ไลเดิน แร็มบรันต์ฝึกงานครั้งแรกของเขา เขาใช้จ่ายร้อยกิลเดอร์ต่อปี ไม่รวมอาหารและที่พัก ต่อมาเขาควบคุมสตูดิโอขนาดใหญ่กับผู้ช่วยและเด็กฝึกงานประมาณ 50 คน พ่อของแร็มบรันต์เสียชีวิตในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และแร็มบรันต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนเดรียส เวซาเลียส

แอนเดรียส เวซาเลียส แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) (บรัสเซลส์, 31 ธันวาคม ค.ศ. 1514 - ซาคินธอส, 15 ตุลาคม ค.ศ. 1564) นักกายวิภาคศาสตร์ แพทย์ และผู้เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์ชื่อ “โครงสร้างของร่างกายมนุษย์” (De humani corporis fabrica) เวซาเลียสถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งกายวิภาคศาสตร์มนุษย์สมัยใหม่ เวซาเลียส (Vesalius) เป็นชื่อภาษาละตินของ อันเดรอัส ฟาน เวเซล (Andreas van Wesel) บางครั้งอาจเรียกชื่อของเขาว่า Andreas Vesal.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และแอนเดรียส เวซาเลียส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และเดอะเฮก · ดูเพิ่มเติม »

16 มกราคม

วันที่ 16 มกราคม เป็นวันเกิดของผมเอง.

ใหม่!!: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์และ16 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anatomy Lesson of Dr. Nicolaes TulpThe Anatomy Lesson of Dr. Nicolaes Tulpบทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ทุลพ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »