โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาโนเทคโนโลยี

ดัชนี นาโนเทคโนโลยี

ฟืองขนาดนาโน นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นาโนศาสตร์ (Nanoscience) คือ วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัสดุ อินทรีย์ อนินทรีย์ และรวมไปถึงสารชีวโมเลกุล ที่มีโครงสร้างสามมิติ ยาว กว้าง สูง ด้านใดด้านหนึ่งอยู่ระหว่าง 1-100 นาโนเมตร โดยวัสดุชนิดใดก็ตาม ถ้ามีมิติทั้งสามเล็กกว่า 100 นาโนเมตร วัสดุชนิดนั้นก็จะถูกเรียกว่า สาม-ดี วัสดุนาโน (3-D nanomaterial) ถ้ามีแค่ สอง หรือ หนึ่งมิติ ที่เล็กกว่า 100 นาโนเมตร ก็จะถูกเรียกว่าวัสดุ สอง-ดี (2-D) และ หนึ่ง-ดี (1-D) ตามลำดับ คุณสมบัติของวัสดุนาโนจะแตกต่างจากวัสดุขนาดใหญ่ (bulk materials) ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติ ทางฟิสิกส์ เคมี และชีวภาพ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้นถ้าพูดถึง นาโนศาสตร์ ก็จะเป็นการสร้างหรือศึกษาวัสดุที่มีโครงสร้างในระดับนาโนเมตร โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ จะได้วัสดุชนิดใหม่หรือรู้คุณสมบัติที่แตกต่าง และน่าสนใจ โดยคุณสมบัติเหล่านั้นจะถูกอธิบายด้วยทฤษีทางควอนตัม (quantum theory).

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2502การแพทย์นาโนภาษาอังกฤษระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาควัสดุผสมวัสดุนาโนวิศวกรรมวัสดุสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียอะตอมอาคารอนุมูลอิสระท่อนาโนคาร์บอนคอนกรีตประเทศอังกฤษนาโนมอเตอร์นาโนอิเล็กทรอนิกส์นาโนเซนเซอร์แบคทีเรียโรงงานนาโนไมโครเทคโนโลยีเมตรเทคโนโลยี

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและพ.ศ. 2502 · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์นาโน

การแพทย์นาโน หมายถึง การที่นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลายทางการแพทย์เป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยมาตั้งแต่เมื่อสิบปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มประเทศเอเชีย เช่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้เกิด เป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า “NANOMEDICINE” หมวดหมู่:นาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและการแพทย์นาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค

ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (Microelectromechanical Systems; MEMS) เป็นคำที่ใช้เรียกในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ส่วนประเทศในทวีปยุโรปจะเรียกว่า ระะบบจุลภาค (Microsystems) ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค คือ อุปกรณ์ที่มีขนาดอยู่ในช่วงระดับไมโครเมตร (10-6 เมตร หรือ หนึ่งส่วนหนึ่งล้านเมตร) และมิลลิเมตร (10-3 หรือ หนึ่งส่วนหนึ่งพันเมตร) หรือระหว่าง 1 ไมโครเมตร และ 1 มิลลิเมตร ซึ่งรวมส่วนประกอบทางวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมเครื่องกลเข้าไว้ด้วยกัน โดยอุปกรณ์อาจมีความสามารถในการรับรู้ คำนวณประมวลผล ตอบสนอง ควบคุม สื่อสาร และมีแหล่งพลังงานรวมอยู่ภายในตัวเอง.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุผสม

วัสดุผสม (composites) คือวัสดุที่ถูกสร้างขึ้นมาจากวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะงาน โดยไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การผสมกันของวัสดุเหล่านี้จะไม่เป็นเนื้อเดียวกันแต่จะแยกกันเป็นเฟสที่เห็นได้อย่างเด่นชัด เฟสแรกเรียกว่า เนื้อพื้น (matrix) ซึ่งจะอยู่ด้วยกันอย่างต่อเนื่องและล้อมรอบอีกเฟสซึ่งเรียกว่า เฟสที่กระจาย หรือ ตัวเสริมแรง (reinforcement) คุณสมบัติของวัสดุผสมที่ได้จะเป็นฟังชั่นหรือขึ้นกันกับคุณสมบัติและปริมาณของสารตั้งต้นเหล่านี้ และรูปทรงทางเรขาคณิตของเฟสที่กระจายตัว.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและวัสดุผสม · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุนาโน

วัสดุนาโน วัสดุนาโนเป็นวัสดุที่สามารถเป็นได้ทั้ง โลหะ เซรามิก พอลิเมอร์และคอมพอสิท ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยการดัดแปลงการจัดเรียงตัวของ อะตอมหรือโมเลกุลให้มีช่วงขนาด 0.1-100 นาโนเมตร ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ประมาณ 1 แสนเท่า สมบัติและพฤติกรรมต่างๆ ของวัสดุขนาดจิ๋วเหล่านี้ เช่น สมบัติการนำไฟฟ้า สมบัติเชิงกล และสมบัติทางแม่เหล็ก มีความแตกต่างจากวัสดุชนิดเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในระดับที่เรา คุ้นเคย วัสดุนาโนสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายกลุ่มตามการประยุกต์ใช้สอยที่สำคัญและ อยู่ในความนิยมประกอบด้ว.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและวัสดุนาโน · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมวัสดุ

วิศวกรรมวัสดุ (Material Engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัสดุศาสตร์ โดยเน้นที่การออกแบบวัสดุที่ใช้ในการผลิต, เทคนิคที่ใช้ในกระบวนการปรับปรุงสมบัติของวัสดุ, เทคนิคเชิงวิเคราะห์, ผลได้ผลเสียระหว่างค่าใช้จ่ายกับสมบัติของวัสดุเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม,กระบวนการขึ้นรูปของวัสดุชนิดต่างๆ, รวมถึงศึกษาการเสื่อมสภาพของวัสดุได้ วิศวกรรมวัสดุแบ่งวัสดุทางอุตสาหกรรมออกเป็น 5 ชนิดคือ กลุ่มโลหะ (Metal), กลุ่มพอลิเมอร์ (Polymer), กลุ่มเซรามิค (Ceramic), กลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ (Semiconductor) และ กลุ่มวัสดุผสม (Composite) ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วิศวกรรมวัสดุ) วัสดุศาสตร์หรือเกี่ยวข้องกับวัสดุ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและวิศวกรรมวัสดุ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. หรือ NSTDA) เป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่พัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นตามมาตร 11 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาต..

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ห้องสมุดมิลลิแกน สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค (California Institute of Technology ย่อว่า CalTech) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแพซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 1,000 คน และ ปริญญาโทเอก 1,000 คน สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียมีชื่อเสียงในด้านงานวิจัยหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน วิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอากาศยาน และวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีจำนวนผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากเป็นจำนวนหนึ่ง.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อาคาร

ูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคาร เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ ในรูปของโรง เรือน ร้าน หรือรูปแบบอย่างอื่นสำหรับใช้สอย แต่ในกฎหมายควบคุมอาคารได้รวม เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อ ป้ายและอื่นๆ ไว้ในนิยามคำว่าอาคารด้วยด้วยเหตุผลในการบังคับใช้ อาคารมักมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมมากกว่าหนึ่งอย่างและปกติจะตั้งอยู่บนพื้นดิน อาคารสามารถเป็นได้ตั้งแต่บ้านที่พักอาศัยที่มีโครงสร้างเรียบง่ายจนถึงตึกระฟ้า อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานที่มีโครงสร้างซับซ้อน ตลอดจนโรงซ่อมเครื่องบินที่มีช่วงเสามากกว่า 100 เมตร อาคารขนาดใหญ่สมัยใหม่จะมีส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้อาคารใช้งานได้เรียกว่าระบบอาคารนับตั้งแต่ระบบขนส่งภายในอาคารได้แก่ บันไดเลื่อน และ ลิฟต์ ไปจนถึงระบบไฟฟ้า ประปา ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ปกติ อาคาร จะถูกจัดไว้ในหมวดสิ่งก่อสร้างด้วยเหตุผลด้านการบังคับใช้.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและอาคาร · ดูเพิ่มเติม »

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อนาโนคาร์บอน

ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotubes) คือ วัสดุที่มีรูปทรงเป็นท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ผนังท่ออาจมีเพียงแค่ชั้นเดียว (Single-walled) หรือหลายชั้น (Multi-walled) ซึ่งประกอบขึ้นจากอะตอมของธาตุคาร์บอนเพียงธาตุเดียว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1991 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Sumio Iijima ปัจจุบันพบว่ามีสมบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ทำเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งในวัสดุคอมพอสิท ทำอิเล็กโทรดเพิ่มกำลังไฟและอายุการใช้งานในแบตเตอรี และตัวเก็บประจุ เป็นต้น ท่อนาโนคาร์บอนมีโครงสร้างและสมบัติหลากหลายซึ่งขึ้นกับวิธีที่ใช้ในการสังเคราะห.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและท่อนาโนคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นาโนมอเตอร์

นาโนมอเตอร์ คือ อุปกรณ์ขนาดโมเลกุล ที่สามารถแปลงพลังงาน ไปเป็นการเคลื่อนไหวและแรง ที่มีขนาดระดับพิโคนิวตัน การวิจัยเรื่องนาโนมอเตอร์นั้น เป็นการผสมผสานมอเตอร์จากโปรตีน ที่มีขนาดระดับโมเลกุล ซึ่งพบในเซลล์สิ่งมีชีวิต เข้ากับมอเตอร์ระดับโมเลกุล ที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์จำลอง โปรตีนที่ใช้ทำมอเตอร์ดังกล่าว จะสามารถขับเคลื่อน "สิ่งของ" ภายในอุปกรณ์ดังกล่าว ทำนองเดียวกับไคเนซินที่ขับเคลื่อนโมเลกุลต่างๆ ไปตามรอยของไมโครทิวบูลภายในเซลล์นั่นเอง การเริ่มและหยุดเคลื่อนไหวของมอเตอร์โปรตีนดังกล่าว จะอาศัยการกับเอทีพี (ATP) ในโครงสร้างระดับโมเลกุล ที่ไวต่อแสงยูวี (อัลตราไวโอเลต) และพัลส์เรืองแสงอัลตราไวโอเลตก็จะส่งพัลส์การเคลื่อนไหวออกมา หมวดหมู่:นาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและนาโนมอเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาโนอิเล็กทรอนิกส์

นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (nanoelectronics) คือสาขาหนึ่งของวิชาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขอบเขตความรู้ในระดับนาโน ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากการสร้างวงจรโดยใช้แนวทางอิเล็กทรอนิกส์เดิมกำลังถึงทางตัน ด้วยเหตุผลที่ว.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและนาโนอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

นาโนเซนเซอร์

นาโนเซนเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจวัดได้ในหลากหลายรูปแบบเช่น ตรวจของสะสมในร่างกาย ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด และจมูกอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ตรวจสอบกลิ่นที่มนุษย์ไม่อาจรับกลิ่นได้ หมวดหมู่:นาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและนาโนเซนเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรงงานนาโน

รงงานนาโน เป็น อุปกรณ์ ในความคิดของเอริค เดรซเลิอร์ (Eric Drexler) ที่จะสามารกำหนดทิศทางของปฏิกิริยาเคมี โดยการจัดตำแหน่งอย่างแม่นยำของโมเลกุลที่อยู่ในปฏิกิริยานั้น โมเลกุลชีววิทยาบางชนิด เช่น ไรโบโซม มีคุณสมบัติที่ตรงกับโรงงานนาโน โดยพฤติกรรมของไรโบโซมเป็นดังนี้ ไรโบโซมรับคำสั่่งจาก เอ็มอาร์เอ็นเอ และทำการประกอบลำดับของกรดอะมิโนเพื่อสร้างโมเลกุลของโปรตีนตามคำสั่งนั้น ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและโรงงานนาโน · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครเทคโนโลยี

มโครเทคโนโลยี (Micro Electro-Mechanical Systems-MEMS/Microsystems Technology -MST) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับที่ใหญ่กว่านาโนเทคโนโลยี ในทางทฤษฎีแล้ว ไมโครเทคโนโลยีต่างจากนาโนเทคโนโลยีเชิงโมเลกุล (molecular nanotechnology) ไมโครเทคโนโลยีมีประกอบด้วยชิ้นส่วนที่มีขนาดระหว่าง 1 ถึง 100 ไมโครเมตร (0.001 ถึง 0.1 มิลลิเมตร) โดยทั่วไปอุปกรณ์ไมโครเทคโนโลยีแล้วจะมีขนาดตั้งแต่ 20 ไมโครเมตร ถึงระดับ มิลลิเมตร และจะมีหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์อื่น ๆ และไมโครเซนเซอร์ ขนาดในระดับของไมโครเทคโนโลยี ทำให้บางครั้งทฤษฎีฟิสิกส์แบบเก่าไม่สามารถใช้ได้ เพราะว่าอัตราของพื้นผิวต่อปริมาตรที่มากของไมโครเทคโนโลยีทำให้ผลกระทบจากพื้นผิว เช่นไฟฟ้าสถิต และ ภาวะการเปียก (ความสามารถของของเหลวในการรักษาหน้าสัมผัสกับพื้นผิวของแข็ง) มีอิทธิพลเหนือ ผลกระทบจากปริมาตร เช่น แรงเฉื่อย หรือ thermal mass.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและไมโครเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: นาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nanotechnologyนาโนศาสตร์นาโนเทคเทคโนโลยีนาโน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »