เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นางวิสาขา

ดัชนี นางวิสาขา

นางวิสาขา เป็นสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เป็นผู้สร้างวัดบุพพาราม เป็นผู้ริเริ่มถวายผ้าอาบน้ำฝน และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิก.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: พระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าปเสนทิโกศลวัดบุพพารามสมันตปาสาทิกาสาวกสาวัตถีสุมังคลวิลาสินีอังคะธัมมปทัฏฐกถาท้าวสุนิมมิตปรมัตถทีปนีนิมมานรดีโสดาบันเบญจกัลยาณีเอตทัคคะ

  2. เอตทัคคะ

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู นางวิสาขาและพระโคตมพุทธเจ้า

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ.

ดู นางวิสาขาและพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ดู นางวิสาขาและพระเจ้าปเสนทิโกศล

วัดบุพพาราม

วัดบุพพารามมหาวิหาร เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวัน ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวงเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องอาภรณ์งามวิจิตประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการมีค่ามากถึง 90 ล้านกหาปนะ และได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 3 คน คือ นางวิสาขา พระนางมัลลิกา และลูกเศรษฐี ณ พาราณาสี นางวิสาขานำมาสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี โดยมีพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นนวกัมมาธฏฐายี พระพุทธองค์เสด็จมาจำพรรษาที่วัดบุพพารามเป็นเวลา 6 พรรษ.

ดู นางวิสาขาและวัดบุพพาราม

สมันตปาสาทิกา

มันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกา คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน..

ดู นางวิสาขาและสมันตปาสาทิกา

สาวก

วก แปลว่า ผู้ฟัง คือผู้ฟังตามครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนหลักธรรม ใช้สำหรับบุรุษ ถ้าเป็นสตรีใช้ว่า สาวิกา สาวก ในคำวัดใช้หมายถึงผู้ฟังโอวาทนุสาสนี หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ ใช้เรียกทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่นใช้ว่า พระอรหันตสาวก พระสงฆ์สาวก ภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกาและใช้หมายถึงลูกศิษย์ของศาสดาอื่นๆ ด้วย เช่นวสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร สาวกของพราหมณ์พาวรี สาวก ในคำไทยใช้หมายรวมไปถึงลูกศิษย์ ลูกน้อง ผู้ติดตามนักบวชนักบุญผู้มีชื่อเสียงตลอดถึงผู้มีอำนาจ เช่นใช้ว.

ดู นางวิสาขาและสาวก

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ดู นางวิสาขาและสาวัตถี

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ดู นางวิสาขาและสุมังคลวิลาสินี

อังคะ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพอาณาจักรอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นอังคะ (अंग) เป็นหนึ่งในอาณาจักรในอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันคือระหว่างรัฐพิหารและรัฐเบงกอลตะวันตกและบางส่วนของประเทศบังกลาเทศ ในมหากาพย์มหาภารตะ แคว้นอังคะเป็นอาณาจักรที่ทุรโยธน์มอบให้กรรณะเพื่อแลกกับมิตรภาพและความจงรักภัคดีต่อฝ่ายเการ.

ดู นางวิสาขาและอังคะ

ธัมมปทัฏฐกถา

ัมมปทัฏฐกถา (ธมฺมปทฏฐกถา) เป็นอรรถกถาของธรรมบท หรือประมวลคาถา 423 คาถา ซึ่งปรากฏในขุททกนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก กล่าวกันว่าพระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์ชาวชมพูทวีป ซึ่งเดินทางไปแปลอรรถกถาในสิงหลทวีป (ศรีลังกา) ได้เรียบเรียงไว้จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี ปัจจุบันธัมมปทัฏฐกถาใช้เป็นคัมภีร์ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทย จึงเป็นคัมภีร์อรรถกถาที่ได้รับความนิยมศึกษามากที่สุดเล่มหนึ่ง.

ดู นางวิสาขาและธัมมปทัฏฐกถา

ท้าวสุนิมมิต

ท้าวสุนิมมิต เป็นจอมเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนิมมานรดีและเทพในชั้นนี้ทั้งหมด เทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป หมวดหมู่:เทวดา.

ดู นางวิสาขาและท้าวสุนิมมิต

ปรมัตถทีปนี

ปรมัตถทีปนี เป็นชื่อคัมภีร์อรรถกถาของหมวดขุททกนิกาย หมวดย่อยอุทาน-อิติวุตตกะ, วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ และเถรคาถา-เถรีคาถา ในพระสุตตันตปิฎก รจนาขึ้นโดยพระธัมมปาละหรือพระธรรมปาลเถระ หรือพระธรรมาบาล พระเถระชาวอินเดียโบราณ เป็นชาวเมืองกาญจีปุรัม ทางภาคใต้ของอินเดี.

ดู นางวิสาขาและปรมัตถทีปนี

นิมมานรดี

นิมมานรดี คือสวรรค์ชั้นที่ 5 ในฉกามาพจร มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเท.

ดู นางวิสาขาและนิมมานรดี

โสดาบัน

ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.

ดู นางวิสาขาและโสดาบัน

เบญจกัลยาณี

ญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ.

ดู นางวิสาขาและเบญจกัลยาณี

เอตทัคคะ

อตทัคคะ หมายถึง ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พระสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่น ๆ ในด้านนั้น ๆ และตำแหน่งเอตทัคคะแต่ละตำแหน่งทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวท่านเดียวเท่านั้น ในแต่ละพุทธบริษัทแต่ละฝ.

ดู นางวิสาขาและเอตทัคคะ

ดูเพิ่มเติม

เอตทัคคะ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิสาขา มิคารมาตาวิสาขามิคารมารดานางวิสาขา มหาอุบาสิกานางวิสาขา มิคารมาตานางวิสาขามหาอุบาสิกานางวิสาขามิคารมารดานางวิสาขามิคารมาตา