โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กาเตรีนาแห่งซีเอนา

ดัชนี กาเตรีนาแห่งซีเอนา

นักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา (Caterina da Siena) เป็นสมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม..

37 ความสัมพันธ์: ฟลอเรนซ์พระสันตะปาปาพระคาร์ดินัลพระนางมารีย์พรหมจารีพระเยซูการอธิษฐานในศาสนาคริสต์การประกาศเป็นนักบุญกุหลาบรัฐสันตะปาปาวันพุธรับเถ้าศาสนเภทตะวันตกสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 6สวรรค์สติกมาตาอาวีญงอาวีญงปาปาซีทวีปยุโรปคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิกคณะดอมินิกันซีเอนาปรัชญานรกนักบุญองค์อุปถัมภ์นักบุญดอมินิกนักปราชญ์แห่งคริสตจักรนิกายลูเทอแรนแองกลิคันแดนชำระแคว้นตอสคานาโรมโรมันคาทอลิกเทววิทยาศาสนาคริสต์เตเรซาแห่งอาบีลา

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การอธิษฐานในศาสนาคริสต์

มารีย์ชาวมักดาลากำลังอธิษฐาน วาดโดย Ary Scheffer (1795–1858). การอธิษฐาน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ การภาวนา (ศัพท์คาทอลิก) ในศาสนาคริสต์ (Christian prayer) หมายถึง ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งจิตปรารถนา ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและการอธิษฐานในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบ

กุหลาบ (rose) คือดอกไม้ในสกุล Rosa ในวงศ์ Rosaceae ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสันตะปาปา

รัฐสันตะปาปา (Papal States; Pontifical States; Stati Pontificii) หรือ รัฐคริสตจักร (State(s) of the Church; Stato Ecclesiastico; Stato della Chiesa; Stati della Chiesa') “รัฐสันตะปาปา” เป็นหนึ่งในรัฐทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 จนกระทั่งอิตาลีรวมตัวกันเป็นประเทศเดียวกันในปี ค.ศ. 1861 โดยการนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย (หลังจากนั้นรัฐพระสันตะปาปาก็ยังมีอยู่จนปี ค.ศ. 1870) รัฐสันตะปาปาเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของพระสันตะปาปา ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมบริเวณประเทศอิตาลีสมัยใหม่ที่รวมทั้งโรมันยา, มาร์เก, อุมเบรีย และลาซีโอ อำนาจในการปกครองนี้เรียกว่า อำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา (Temporal power) ที่ตรงข้ามกับอำนาจทางศาสนา “Papal States” มักจะเป็นคำที่นิยมมากกว่า ส่วน “Papal State” มักจะใช้กับนครรัฐวาติกันซึ่งเป็นอาณาบริเวณภายในตัวกรุงโรม นครรัฐวาติกันก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและรัฐสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

วันพุธรับเถ้า

รื่องหมายกางเขนที่ใช้เถ้า วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday) เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ โดยเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะมีระยะเวลา 46 วันก่อนวันปัสกา แต่ละปีวันที่จะเปลี่ยนไปเพราะยึดตามวันปัสกาเป็นหลัก ชื่อวันมาจากการที่บาทหลวงจะใช้นิ้วหัวแม่มือแตะเถ้าและทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของชาวคริสต์ หรืออาจจะโรยเถ้าบนศีรษะ ซึ่งสื่อความหมายถึงความสุภาพถ่อมตนต่อพระเจ้า สำนึกถึงความต้อยต่ำของตนเอง เนื่องจากในสมัยพระคัมภีร์เถ้าเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย ชาวคริสต์เกือบทุกนิกายจะมีพิธีนี้ ทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและวันพุธรับเถ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนเภทตะวันตก

''Habemus Papam'' ที่สภาคอนสแตนส์ ศาสนเภทตะวันตก (Western Schism) หรือ ศาสนเภทพระสันตะปาปา (Papal Schism) เป็นศาสนเภทภายในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งแต่ปี 1378 ถึง 1417 เกิดจากบุคคลสองคนอ้างตนว่าเป็นพระสันตะปาปาพร้อมกัน ความขัดแย้งทางเทววิทยานี้ถูกขับเคลื่อนด้วยการเมืองมากกว่าครั้งใด ๆ สุดท้ายความขัดแย้งก็จบลงด้วยการสังคายนาคอนสแตนส์ เรียกร้องให้พระสันตะปาปาสองพระองค์ปกครองศาสนจักรร่วมกัน.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและศาสนเภทตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

มเด็จพระสันตะปาปา บุญราศีปอลที่ 6 (Paulus PP.) ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1978 สืบต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ผู้เรียกประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง เมื่อได้รับตำแหน่งพระสันตะปาปาก็ทรงสืบสานงานการประชุมสังคายนานั้นต่อ ซึ่งมีผลให้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านคริสตศาสนสัมพันธ์กับนิกายโปรเตสแตนต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรื่อยมาจนปัจจุบัน ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 โดยทำงานที่สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 นี้เองได้แต่งตั้งพระองค์เป็นอัครมุขนายกแห่งมิลาน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภามุขนายกแห่งอิตาลีอีกด้วย ต่อมาในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล และได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาหลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้สิ้นพระชนม์ พระองค์เลือกใช้พระนามว่า เปาโล เพื่อสื่อถึงการเน้นพันธกิจทางด้านการประกาศข่าวดีเหมือนนักบุญเปาโลอัครทูต นอกจากนี้หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ยังคงสานงานการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนั้นต่อ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 (อังกฤษ: Pius II) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1458 ถึง ค.ศ. 1464 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1948 ปิอุสที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 (อังกฤษ: Gregory XI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1370 ถึง ค.ศ. 1378 กเรกอรีที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลีมูแซ็ง.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 6

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 6 (อังกฤษ: Urban VI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1378 ถึง ค.ศ. 1389 อเอร์บันที่ 6 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลจากเนเปิลส์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขี่ม้า.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สติกมาตา

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้รับ “แผลศักดิ์สิทธิ์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน แผลศักดิ์สิทธิ์ (Stigmata) คือเครื่องหมาย, แผล หรือความรู้สึกในบริเวณที่ตรงกับรอยแผลของพระเยซูเมื่อทรงถูกตรึงกางเขน คำว่า “แผลศักดิ์สิทธิ์” มาจากบรรทัดหนึ่งของข้อเขียนในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทียที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีรอยประทับตราของพระเยซูติดอยู่ที่กายของข้าพเจ้าแล้ว” “Stigmata” เป็นพหูพจน์ของคำภาษากรีก “στίγμα” (stígma) ซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย หรือ ตรา ซึ่งอาจจะใช้เป็นเครื่องหมายประทับความเป็นเจ้าของของสัตว์หรือทาส ผู้ที่มี “แผลศักดิ์สิทธิ์” เรียกว่า “ผู้มีแผลศักดิ์สิทธิ์” (stigmatic) สาเหตุของการเกิด “แผลศักดิ์สิทธิ์” ก็ต่างๆ กันแล้วแต่บุคคล ผู้ที่ได้รับมักจะเป็นสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก และส่วนใหญ่เป็นสตรีPoulain, A. (1912).

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและสติกมาตา · ดูเพิ่มเติม »

อาวีญง

อาวีญง (Avignon) เป็นเมืองหลัก (Chef-lieu) ของเขตจังหวัดโวกลูซ แคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโรน ประกอบด้วยประชากรทั้งหมด 94,787 คน (ณ ปีค.ศ. 2010) ในจำนวนนี้มีประมาณ 12,000 คนทีอาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่าของอาวีญง ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโวกลูซ อาวีญงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองแห่งพระสันตะปาปา" เนื่องจากในอดีตนั้นเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสันตะปาปา (รวมทั้งพระสันตะปาปาเท็จ) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1309 - ค.ศ. 1423 ในช่วงของการแตกแยกครั้งใหญ่ของคริสตจักร (Catholic Schism) นอกจากนี้อาวีญงยังเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในประเทศฝรั่งเศสที่ยังมีกำแพงเมืองเก่าที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และยังมีศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังพระสันตะปาปา สะพานอาวีญง ซึ่งยังอยู่ในสภาพดี ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 1995 ในนาม Historic Centre of Avignon: Papal Palace, Episcopal Ensemble and Avignon Bridge (Centre historique d’Avignon: Palais des papes, ensemble épiscopal et Pont d’Avignon).

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและอาวีญง · ดูเพิ่มเติม »

อาวีญงปาปาซี

พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง อาวีญงปาปาซี (Avignon Papacy) หรือ สมณสมัยอาวีญง คือช่วงเวลาที่พระสันตะปาปา 7 พระองค์ประทับ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทนการประทับที่กรุงโรมตามปกติ สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์พระสันตะปาปากับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ภายหลังจากความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 กับพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส และการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 ผู้สืบทอดตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 และดำรงสมณศักดิ์ได้เพียง 8 เดือน การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาให้อาร์ชบิชอปแบร์ทร็อง ชาวฝรั่งเศส ขึ้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและอาวีญงปาปาซี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก

ณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก (Third Order of St.), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2557 หรือคณะดอมินิกันชั้นสาม คือกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่เป็นสมาชิกคณะดอมินิกัน แต่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณอย่างสง่า (solemn vows) การเรียกว่าคณะชั้นสามนั้นเพื่อให้ต่างจากคณะของไฟรเออร์ซึ่งเป็นคณะชั้นหนึ่ง และคณะของนักพรตหญิงซึ่งเป็นคณะชั้นสอง ในปัจจุบันมีคณะดอมินิกันชั้นสามอยู่หลายคณะ กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคณะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอนา

มืองเซียนายามค่ำ เซียนา (Siena) อยู่ในแคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซียนา ในยุคกลางเซียนาเป็นเมืองคู่แข่งของฟลอเรนซ์ที่มีชื่อเสียงทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ใจกลางเมืองเก่าของเซียนาได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและนรก · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญองค์อุปถัมภ์

นักบุญโยเซฟ องค์อุปถัมภ์คริสตจักรสากล นักบุญองค์อุปถัมภ์ (patron saint) คือนักบุญบนสวรรค์ ซึ่งบางคริสตจักร เช่น อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก หรือออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ นับถือว่าเป็นผู้ที่ได้ใกล้ชิดพระยาห์เวห์และสามารถอ้อนวอนขอพรจากพระองค์เพื่อพระหรรษทานในสิ่งต่าง ๆ แก่คริสต์ศาสนิกชนบนโลก เช่น สถานที่ อาชีพ กลุ่มบุคคล เป็นต้น นักบุญต่าง ๆ มักได้รับยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ในดินแดนที่ท่านเกิดหรือปฏิบัติศาสนกิจ ในบางกรณีสถานที่นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับนักบุญขณะยังมีชีวิต แต่ได้เป็นที่ฝังศพหลังจากมรณกรรมก็ถือว่านักบุญนั้นเป็นองค์อุปถัมภ์เมืองนั้น ในลาตินอเมริกามีหลายเมืองตั้งชื่อตามนักบุญ โดยถือว่านักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนมาถึงเมืองตรงกับวันฉลองนักบุญใด ผู้ค้นพบก็จะตั้งชื่อเมืองตามชื่อนักบุญนั้น ทำให้นักบุญนั้นได้กลายเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์เมืองในเวลาต่อมา นักบุญองค์อุปถัมภ์วิชาชีพมาจากอาชีพที่นักบุญนั้นเคยทำขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเคยแสดงการอัศจรรย์ซึ่งเทียบเทียมได้กับอาชีพนั้น ๆ เช่น นักบุญเวโรนีกาผู้ถวายผ้าคลุมผมของตนให้พระเยซูใช้ซับพระพักตร์ระหว่างเดินทางไปตรึงกางเขน แล้วเกิดปาฏิหาริย์รอยพระพักตร์ปรากฏติดบนผ้าผืนนั้น คริสตจักรจึงยกย่องนักบุญเวโรนีกาเป็นองค์อุปถัมภ์การถ่ายภาพ นิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น เพรสไบทีเรียน ไม่ยอมรับการนับถือหรือให้ความสำคัญกับนักบุญ เพราะถือว่าเข้าข่ายการบูชาเทวรูป.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและนักบุญองค์อุปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดอมินิก

นักบุญดอมินิกแห่งออสมา (Saint Dominic of Osma; ค.ศ. 1170 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1221) นักบุญดอมินิกแห่งออสมา หรือ นักบุญดอมินิกแห่งกุซมัน เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้ก่อตั้งคณะดอมินิกัน เชื่อว่าเป็นบุคคลแรกที่นำสายประคำมาใช้ในการสวดภาวนาของชาวคาทอลิก และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักดาราศาสตร.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แดนชำระ

แดนชำระ (Purgatory) หรือไฟชำระ คือ สภาวะหรือขั้นตอนที่วิญญาณได้รับการชำระให้บริสุทธิ์หรือการลงโทษชั่วคราว เป็นที่เชื่อกันว่าดวงวิญญาณที่ตายขณะได้รับการปลดปล่อยจะได้ไปสวรรค์ นี่เป็นความคิดเชิงทฤษฎีที่มีพื้นฐานและได้รับการยอมรับในศาสนาคริสต์ยุคแรก ในขณะที่ในแนวคิดเชิงวรรณกรรม แดนชำระคือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ในความเชื่อและจินตนาการของคริสตชนสมัยกลาง แนวคิดเกี่ยวกับแดนชำระเชื่อมโยงกับคริสตจักรละตินในนิกายโรมันคาทอลิก (เป็นปรัชญาหลักในคริสตจักรที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือในทางพิธีกรรม ถึงแม้บ่อยครั้งจะไม่ได้ใช้ชื่อว่า "แดนชำระ" ก็ตาม) ชาวแองกลิคันแห่งแองโกลคาทอลิกมักถือตามนี้ จอห์น เวสลีย์ ผู้ก่อตั้งคณะเมทอดิสต์ เชื่อในสถานะกลางระหว่างความตายกับการพิพากษาครั้งสุดท้ายและเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะมี "การเติบโตอย่างต่อเนื่องของพระคุณ" ณ ที่แห่งนั้น คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อในความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนสภาวะของดวงวิญญาณผู้ที่ตายไปแล้วผ่านทางผู้อธิษฐานและการสวดอ้อนวอนอันศักดิ์สิทธิ์ และชาวออร์โธด็อกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะผู้บำเพ็ญตน หวังและภาวนาเพื่อฟื้นคืนความสัมพันธ์กับพระเจ้า อีกความเชื่อที่คล้ายกันคือเชื่อในโอกาสรอดครั้งสุดท้ายโดยชาวมอร์มอน ชาวยิวยังเชื่ออีกว่าเป็นไปได้ที่จะมีการชำระล้างหลังความตาย และยังใช้คำว่า "แดนชำระ" เพื่อสร้างความเข้าใจความหมายของคำว่า เกเฮนนา (ปลายทางของคนชั่วช้า-ในความหมายของชาวยิวและคริสเตียน) อย่างไรก็ตามความเชื่อเกี่ยวกับ "การชำระดวงวิญญาณ" อาจถูกปฏิเสธอย่างชัดเจนจากในประเพณีความเชื่ออื่น ๆ คำว่า purgatory ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาแอลโกล-นอร์แมน และภาษาฝรั่งเศสเก่า จากคำละตินว่า "purgatorium" ถูกใช้กันเป็นวงกว้างเพื่ออ้างถึงแนวคิดทางประวัติศาสตร์และแนวคิดสมัยใหม่ของ การทนทุกข์ทรมานสั้นๆ หลังความตายจากการสาปแช่งอันเป็นนิรันดร์ และถูกใช้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อหมายถึงสถานที่หรือสภาวะของความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดที่ไม่ยืนยาว.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและแดนชำระ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและแคว้นตอสคานา · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยาศาสนาคริสต์

ทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสต์เทววิทยา หรือศาสนศาสตร์ คือเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ใช้เหตุผลทางการวิจัยและการถกเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทดสอบ วิจารณ์ประเด็น ป้องกันและเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อศาสนาคริสต์ เพื่อเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับประเพณีหรือความเชื่อถืออื่น ๆ และเพื่อป้องกัน กล่าวโต้ต่อนักวิจารณ์ ช่วยในการปฏิรูปศาสนา มีความเข้าใจในคริสต์ศาสนาพอที่จะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นมาทำความเข้าใจในสถานะการณ์ปัจจุบันตามความจำเป็น, เทววิทยาศาสนาคริสต์เผยแพร่เข้ามาในวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมยุโรปก่อนสมัยใหม่ ความเกี่ยวพันกันระหว่างปรัชญาสองอย่างนี้ทำให้ผู้ต้องการทำความความเข้าใจในเทววิทยาศาสนาคริสต์จำเป็นต้องเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและเทววิทยาศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เตเรซาแห่งอาบีลา

นักบุญเตเรซาแห่งอาบีลา (Santa Teresa de Ávila, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีล.) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู (Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: กาเตรีนาแห่งซีเอนาและเตเรซาแห่งอาบีลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Catherine of Sienaนักบุญแคทเธอรินแห่งเซียนนาแคทเธอรินแห่งเซียนนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »