โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกอินทรีปาปัว

ดัชนี นกอินทรีปาปัว

นกอินทรีปาปัว (Papuan eagle) หรือที่รู้จักในชื่ออินทรีฮาร์ปีปาปัว อินทรีนิวกินี และอินทรีกาปุล มีความยาว 75-90 เซนติเมตร ความยาวปีก 157 เมตร น้ำหนัก 1600-2400 กรัม เป็นนกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีขนสีน้ำตาลเทาและหงอนสั้น ปีกสามแถบ จะงอยปากที่ทรงพลัง ม่านตาใหญ่ หางกลมยาวและส่วนท้องสีขาว นกชนิดนี้มีขาไร้ขนที่ยาวและมีพลังด้วยกรงเล็บที่แหลมคม ลักษณะของเพศผู้และเมียใกล้เคียงกัน โดยตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย มันเป็นสมาชิกของสัตว์ที่มีวงศ์เดียวคือ Harpyopsis นกอินทรีปาปัวเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในป่าฝนเขตร้อนที่ไม่ถูกรบกวนของเกาะนิวกินี ซึ่งนกชนิดนี้กลายเป็นนักล่าหลักของเกาะ อาคารของมันประกอบด้วยสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง เช่น คอมมอนบรัชเทลพอสซั่ม หรือคาพูลในภาษาท้องถิ่น ซึ่งกลายเป็นอีกชื่อหนึ่งของมัน อย่างไรก็ตามมันก็เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ นก และงู นกอินทรีปาปัวเป็นหนึ่งในสี่ของกลุ่มนกอินทรีขนาดใหญ่ที่สุด สายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ นกอินทรีเครสทิดในทวีปอเมริกา นกอินทรีฮาร์ปีในทวีปอเมริกาใต้ นกอินทรีฟิลิปปินในประเทศฟิลิปปินส์ นกอินทรีปาปัวคือนกภูเขาโดยพื้นฐานซึ่งทำรังอยู่บนต้นไม้ป่าสูง แต่อาจจะถูกพบในระดับน้ำทะเลในบางพื้นที่ซึ่งป่ายังคงไม่ถูกรบกวน เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เล็กน้อย และการล่าเพื่อเอาขนของมันซึ่งใช้ในโอกาสงานพิธี นกอินทรีปาปัวจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และถูกขึ้นบัญชีบนภาคผนวกที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES).

17 ความสัมพันธ์: บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติวงศ์เหยี่ยวและอินทรีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอันดับเหยี่ยวอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ทวีปอเมริกาทวีปอเมริกาใต้คอมมอนบรัชเทลพอสซัมประเทศฟิลิปปินส์นกล่าเหยื่อนกอินทรีฟิลิปปินนกอินทรีฮาร์ปีเกาะนิวกินี

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

#D59D00nbspเสี่ยงต่ออันตราย ตามที่ระบุใน “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 2007” บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ บัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) บัญชีแดงที่เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่างๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่างๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” กำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การติดตามผลการอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่างๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่างๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คอมมอนบรัชเทลพอสซัม

อมมอนบรัชเทลพอสซัม (common brushtail possum, silver-gray brushtail possum; -มาจากภาษากรีกแปลว่า "ขนฟู" และภาษาละตินแปลว่า "จิ้งจอกน้อย" เดิมเคยใช้ชื่อสกุลว่า Phalangista) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง จัดว่าเป็นพอสซัมชนิดหนึ่ง มีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกับแมวบ้าน มีใบหูชี้แหลมขนาดใหญ่ หน้าแหลม ฟันมีลักษณะคล้ายกับฟันแทะ 4 ซี่ แต่ไม่มีความแหลมคม ขนมีความหนา ฟู และอ่อนนุ่มมาก และมีความหลากหลายของสี ตั้งแต่ สีน้ำตาลทอง, สีน้ำตาล จนถึงสีเทา ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1.2–4.5 กิโลกรัม ถือได้ว่าใหญ่กว่าตัวเมีย และมีสีเข้มกว่า ตัวเมียมีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ขาหน้ามีนิ้วที่มีเล็บที่มีความแหลมคมมากใช้สำหรับป่ายปีนต้นไม้ ตลอดจนหยิบจับอาหารเข้าปาก ส่วนเท้าหลัง มีนิ้วโป้งที่ไม่มีเล็บ และแยกออกจากอุ้งเท้าไปอยู่อีกข้าง ส่วนหางมีขนฟูเป็นพวงเหมือนแปรง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีความแข็งแรงมาก ใช้ในการยึดเกาะต้นไม้.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและคอมมอนบรัชเทลพอสซัม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

นกอินทรีฟิลิปปิน

นกอินทรีฟิลิปปิน (Philippine eagle) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อนกอินทรีกินลิง คือนกอินทรีชนิดหนึ่งในตระกูลสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น วงศ์เหยี่ยวและอินทรีในเขตป่าของฟิลิปปินส์ นกชนิดนี้มีสีน้ำตาลและขนนกสีขาว และมีหงอนที่ดกหนา โดยสัดส่วนทั่วไปวัดความยาวได้ 86-102 เซนติเมตร (2.82 ถึง 3.35 ฟุต) และมีน้ำหนัก 4.7-8.0 กิโลกรัม (10.4-17.6 ปอนด์) นกชนิดนี้ได้รับการพิจารณาว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกอินทรีที่ยังมีอยู่ในโลกในด้านความยาว แต่นกอินทรีทะเลชเตลเลอร์ (Steller's sea eagle) และนกอินทรีฮาร์ปี (harpy eagle) มีขนาดใหญ่กว่าในด้านน้ำหนักและความใหญ่โต ท่ามกลางนกที่มีพลังและความหายากที่สุดในโลก นกอินทรีฟิลิปปินได้รับการประกาศเป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในอันตรายเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยหลักจากการตัดไม้ทำลายไม้ในขอบเขตของมัน การล่านกอินทรีฟิลิปปินมีโทษภายในกฎหมายฟิลิปปินส์ โดยมีโทษจำคุก 12 ปี และค่าปรับสูง.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและนกอินทรีฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

นกอินทรีฮาร์ปี

นกอินทรีฮาร์ปี (Harpy Eagle) คือสายพันธุ์อินทรีที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา นกชนิดนี้เป็นที่รู้จักในฐานะอินทรีฮาร์ปีอเมริกา โดยแตกต่างจากอินทรีปาปัวซึ่งบางครั้งเป็นที่รู้จักในชื่ออินทรีฮาร์ปีนิวกินีหรืออินทรีฮาร์ปีปาปัว นกอินทรีฮาร์ปีเป็นนกล่าเหยื่อ ที่มีขนาดใหญ่และมีพลังมากที่สุดในทวีปอเมริกาและมีขนาดใหญ่ที่สุดท่ามกลางสายพันธุ์อินทรีที่ยังมีอยู่ในโลก โดยปกติแล้วอาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อนทางตอนใต้ ในระดับที่สูงกว่าชั้นของร่มไม้ (canopy layer) การทำลายที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติทำให้เห็นการสูญหายของนกชนิดนี้ในหลายๆ ส่วนของขอบเขตที่อยู่เดิมของมัน และเกือบที่จะถูกทำลายจนหมดสิ้นในทวีปอเมริกากลาง ในประเทศบราซิล นกอินทรีฮาร์ปียังเป็นที่รู้จักในฐานะเหยี่ยวหลวง (Royal-Hawk) และเป็นนกประจำชาติของประเทศปานามาอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและนกอินทรีฮาร์ปี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนิวกินี

นิวกินี (New Guinea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย เมื่อบริเวณที่ที่ปัจจุบันคือช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) จมลงในช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพื้นที่ส่วนตะวันตกของตัวเกาะเป็นดินแดนจังหวัดปาปัวและจังหวัดปาปัวตะวันตก (อดีตอีเรียนจายาตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะมีฐานะเป็นแผ่นดินใหญ่ของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ด้วยความสูง 4,884 เมตร ยอดเขาปุนจะก์จายา (Puncak Jaya) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ายอดเขาการ์สเตินส์ (Carstensz) ทำให้เกาะนิวกินีได้รับการจัดให้เป็นพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นิวกินี เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะนานาชาติ หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.

ใหม่!!: นกอินทรีปาปัวและเกาะนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นกอินทรีปาปวน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »