เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

ดัชนี นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา หรือ นกนางแอ่นเทียมคองโก (African River Martin) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของวงศ์ย่อยนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) เป็นนกขนาดกลาง มีขนสีดำ ตาสีแดง ปากอวบกว้างสีส้ม-แดง หางเหลี่ยม โครงสร้างต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นคือ มีเท้าและขาแข็งแรง มีการเสนอให้แยกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่พบในเอเชียที่เป็นนกสกุลเดียวกันออกเป็นอีกวงศ์ย่อย มีการกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำคองโกและสาขารวมถึงแม่น้ำอูบองชี (Ubangi) ด้วย มันทำรังในโพรงบนตลิ่งทราย มีการกระจายพันธุ์ในวงจำกัดแม้จะถูกจับไปเป็นอาหารโดยคนในพื้นที่ มันเป็นนกอพยพ ในฤดูหนาวจะอพยพไปที่ราบชายฝั่งทางใต้ของประเทศกาบองและสาธารณรัฐคองโก แต่นกหลายตัวก็ยังคงผสมพันธุ์วางไข่ในเขตหนาวเย็น นกนางแอ่นชนิดนี้บินจับแมลงกินเป็นอาหาร และเดินบนพื้นมากกว่าจะเกาะคอน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติจัดสถานะการอนุรักษ์เป็นยังไม่มีข้อมูล (DD) เพราะไม่มีข้อมูลของจำนวนประชากร.

สารบัญ

  1. 22 ความสัมพันธ์: การลอกคราบภาษากรีกมดวิวัฒนาการวงศ์นกตะขาบวงศ์นกนางนวลสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสาธารณรัฐคองโกสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกคองโกตัวอย่างต้นแบบแรกประเทศกาบองนกนางแอ่นนกนางแอ่นแม่น้ำนกแอ่นพงนกเกาะคอนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรแมลงแม่น้ำคองโก

การลอกคราบ

ักจั่นลอกคราบ ลอกคราบ หรือ สลัดขน (spelling differences.) เป็นศัพท์ทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับสัตว์บางสปีชีส์ - ecdysis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ลอกส่วนของร่างกายที่มักจะเป็นเปลือกนอก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ออกไป หรือเปลี่ยนส่วนที่ปกคลุมภายนอกเช่นขนใหม่ การลอกคราบหรือสลัดขนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของสัตว์ก็ได้ การลอกคราบ หรือ การสลัดขนเป็นการเปลี่ยนหนังหนังกำพร้า (Epidermis), ขนสัตว์ (pelage) หรือเปลือกนอกของร่างกายที่มีลักษณะอื่น ในบางสปีชีส์บางส่วนของร่างกายอาจจะถูกสลัดตามไปด้วยเช่นปีกของแมลงบางสปีชีส์ ตัวอย่างของการลอกคราบ หรือ การสลัดขนก็ได้แก่การสลัดขนของนก หรือ การสลัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัข หรือ หมาจิ้งจอก) หรือการลอกคราบของสัตว์เลื้อยคลาน หรือการเปลี่ยนทั่งร่างสัตว์ขาปล้อง.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและการลอกคราบ

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและภาษากรีก

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและมด

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและวิวัฒนาการ

วงศ์นกตะขาบ

นกตะขาบ หรือ นกขาบ (Roller) เป็นนกในวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) ซึ่งร่วมด้วยนกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae), นกจาบคา (Meropidae), นกเงือก (Bucerotidae) สำหรับนกตะขาบจัดอยู่ในวงศ์ Coraciidae นกตะขาบเป็นที่บินได้เก่งมาก ลำตัวอวบอ้วน หัวโต ปากหนาใหญ่ ลำตัวขนาดพอ ๆ กับอีกา ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีม่วงหรือน้ำเงินคล้ำ ชอบเกาะนิ่งตามที่โล่ง ๆ เช่น ทุ่งหญ้า, ทุ่งนา เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, กิ้งก่า และสัตว์เล็ก ๆ เมื่อพบจะบินออกไปจับอย่างรวดเร็ว ทั้งพุ่งลงไปที่พื้นดินและบินไล่จับกลางอากาศ ชอบบินร่อนฉวัดเฉวียนเสมอ ทำรังในโพรงไม้หรือชอกหิน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 17-20 วัน ลูกนกใช้เวลาประมาณ 30 วันอาศัยอยู่ในรัง โดยในบางชนิด เมื่อโตแล้วแยกออกไปสร้างรังต่างหาก ยังมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่ที่ให้กำเนิด เลี้ยงดูลูกนกที่เกิดใหม่ด้วย ดังนั้น ในรังบางครอกจะมีลูกนกที่เป็นเครือญาติกันเกิดพร้อม ๆ กัน แพร่กระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และยุโรป พบทั้งหมด 12 ชนิด ใน 2 สกุล สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชน.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและวงศ์นกตะขาบ

วงศ์นกนางนวล

นกนางนวล เป็นนกทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Laridae เป็นนกที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัวหรือปีก มีปากหนายาว และเท้าเป็นผังพืด เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามชายฝั่งทะเล และบางชนิดเข้ามาหากินในแหล่งน้ำจืดบ้าง เป็นนกที่ชาวทะเลหรือนักเดินเรือให้ความนับถือ โดยถือว่า หากได้พบนกนางนวลแล้วก็แสดงว่าอยู่ใกล้แผ่นดินมากเท่านั้น พบทั่วโลก 55 ชนิด ใน 11 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทยทั้งหมด 9 ชนิด โดยทุกชนิดถือเป็นนกอพยพหนีความหนาวจากซีกโลกทางเหนือ จะพบได้บ่อยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว โดยสามารถบินได้เร็วในระยะทาง 170-190 กิโลเมตร/ชั่วโมง และบินตามมากันเป็นฝูง ใช้เวลากกไข่นานราว 24 วัน ลูกนกใช้เวลา 3 เดือน จึงจะบินได้เหมือนพ่อแม่ สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอพยพของนกนางนวลในประเทศไทย คือ บางปู ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งที่ชมนกนางนวลอพยพได้ในทุกปี โดยแต่ละครั้งจะมีจำนวนนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว อนึ่ง นกในวงศ์นกนางนวล เดิมเคยถูกจัดเป็นวงศ์ใหญ่ เคยมีนกในวงศ์อื่นถูกจัดให้อยู่ร่วมวงศ์เดียวกัน ได้แก่ Rynchopidae (นกกรีดน้ำ) และSternidae (นกนางนวลแกลบ) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991).

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและวงศ์นกนางนวล

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสัตว์ปีก

สาธารณรัฐคองโก

รณรัฐคองโก (République du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก-บราซาวีล (Congo-Brazzaville) หรือ คองโก (Congo) (เป็นคนละประเทศกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐคองโก" เช่นกัน) เป็นอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกกลาง มีอาณาเขตจรดกาบอง แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แองโกลา และอ่าวกินี.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสาธารณรัฐคองโก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

คองโก

องโก อาจหมายถึง.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและคองโก

ตัวอย่างต้นแบบแรก

ตัวอย่างต้นแบบแรก ''Marocaster coronatus'' ตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) เป็นตัวแทนตัวอย่าง (หรือ ภาพวาด) ของสิ่งมีชีวิตเพียงตัวอย่างเดียว คัดเลือกมาจากตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะมาตรฐานของชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน ถือเป็นตัวอย่างต้นแบบที่มีความสำคัญที่สุด เช่น ตัวอย่างต้นแบบแรกของผีเสื้อ Lycaeides idas longinus ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หมวดหมู่:ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและตัวอย่างต้นแบบแรก

ประเทศกาบอง

กาบอง (Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและประเทศกาบอง

นกนางแอ่น

ำหรับนกที่มีขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ในวงศ์ Apodidae หรือ "นกแอ่น" ดูที่: นกแอ่น นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่นบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกนางแอ่น

นกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม (river martins) เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ เมื่อมีการค้นพบนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ (Gustav Hartlaub) คิดว่ามันเป็นนกตะขาบและผู้แต่งหลังจากนั้นก็จัดวางมันอยู่ในวงศ์ของตนเองหรืออยู่ในวงศ์นกแอ่นพง จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับนกในวงศ์นกนางแอ่น แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือมีขาและเท้าแข็งแรงและมีปากอวบ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าควรแยกมันออกเป็นวงศ์ย่อยต่างหาก นกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือสกุล Pseudochelidon เพราะทั้งสองมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ บรูก เสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรควรแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกามีการกระจายพันธุ์ในวงแคบในหลายพื้นที่แต่สถานะภาพที่แท้จริงยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค้นพบในปี..

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกนางแอ่นแม่น้ำ

นกแอ่นพง

นกแอ่นพง (Ashy woodswallow) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกนางแอ่น แต่ชอบอยู่ตามป่า เป็นนกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 18 ซม.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกแอ่นพง

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกเกาะคอน

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและแมลง

แม่น้ำคองโก

แม่น้ำคองโก บริเวณมาลูกู แม่น้ำคองโก (Congo River) หรือแม่น้ำซาอีร์ (Zaire River) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกกลางของแอฟริกา มีความยาวรวม 4,700 กม.

ดู นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและแม่น้ำคองโก