โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

ดัชนี ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

งชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา อดีตอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2501 - 2526) มีลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวตั้ง พื้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็นสามแถบตามแนวตั้ง เรียงเป็นแถบสีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า ตามลำดับจากด้านคันธง แต่ละแถบกว้างเท่ากัน ที่กลางแถบสีเหลืองนั้นมีภาพต้นปาล์มสีดำมีกิ่งก้านแผ่ออกไป 3 ด้าน หมายถึงดินแดน 3 ส่วนที่ประกอบเข้าเป็นอาณานิคมแห่งนี้ ได้แก่ แองกวิลลา เกาะเซนต์คริสโตเฟอร์ และเกาะเนวิส ธงดังกล่าวนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2526 ส่วนธงที่ใช้ในช่วงก่อนหน้า (พ.ศ. 2501 - 2510) ใช้ธงตามแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักรทั่วไป กล่าวคือ ธงเรือแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีภาพตราแผ่นดินของเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา ซึ่งตราแผ่นดินประจำดินแดนในกรอบวงกลมสีขาว ตรานี้มีลักษณะเป็นตราอาร์มรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสามส่วน โดยช่องซ้ายบนมีภาพกะลาสี (เป็นสัญลักษณ์แทนตัวคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส) ยืนบนหัวเรือเพื่อส่องกล้องสำรวจแผ่นดินใหม่ หมายถึงเกาะเซนต์คริสโตเฟอร์ (ปัจจุบันเรียกว่าเกาะเซนต์คิตส์) ที่ช่องขวาบนเป็นภาพสตรี 3 คนกำลังชำระกายในน้ำตก หมายถึงเกาะเนวิส ช่องกลางล่างเป็นภาพชาวประมงกับเรือแคนูบนชายหาด หมายถึงแองกวิลลา ที่ตอนบนของโล่มีภาพปลาโลมา 3 ตัวหันตัวตามแนวตั้งแหงนหน้าขึ้นด้านบน มีเกี้ยวรัดรอบตัวปลาโลมาทั้งสามนั้นรวมกัน.

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2510พ.ศ. 2526กะลาสีการประมงรูปวงกลมรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากสหราชอาณาจักรสีขาวสีน้ำเงินสีเหลืองสีเขียวหาดธงชาติธงชาติหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ดธงชาติแองกวิลลาธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิสดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสปาล์ม (แก้ความกำกวม)แองกวิลลาโลมาเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาเซนต์คิตส์

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

กะลาสี

กะลาสี หรือ กะลาสีเรือ มีความหมายกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง ลูกเรือ หรือสมาชิกที่มีหน้าที่ในเรือเดินสมุทร หรือเรือขนาดใหญ่ตามลำน้ำ ตั้งแต่ผู้บังคับเรือ จนถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างสุด ไม่ว่าจะเป็นเรือสินค้า เรือรบ หรือเรือโดยสาร โดยไม่รวมถึงผู้โดยสารหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเรือนั้น อย่างไรก็ตาม ความหมายระดับแคบ กะลาสีอาจหมายถึงทหารเรือหรือลูกเรือระดับล่างเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น กัปตัน ต้นหน ต้นกล เป็นต้น กะลาสี ยังเป็นตำแหน่งในหน่วยงานราชการ เช่น กรมศุลกากร มีตำแหน่ง "กะลาสี" ซึ่งมีอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับยาม และพนักงานประจำเรือ คือ 4,100 บาท (พ.ศ. 2548) คำว่า "กะลาสี" ในภาษาไทย มีที่มาจากศัพท์ในภาษามลายู ว่า "kelasi" ซึ่งภาษามลายูรับจากคำศัพท์ "ขะลาสิ" ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:การขนส่งทางน้ำ หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและกะลาสี · ดูเพิ่มเติม »

การประมง

การจับปลาของคนไทยที่แม่น้ำน่าน การประมง หมายถึงการจัดการของมนุษย์ด้านการจับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ การดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงเช่น น้ำมันปลา กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงปลาแซลมอนในอลาสก้า การทำประมงปลาคอดในเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์หรือการทำประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน การทำฟาร์มในน้ำ เช่นฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มหอย ฟาร์มหอยมุก การเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเล การเพาะปลูกสาหร่าย ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่างๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น ซึ้นเราสามารถเรียนรู้ได้ต่อนี้.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและการประมง · ดูเพิ่มเติม »

รูปวงกลม

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รูปวงกลม (อังกฤษ: circle) เป็นรูปร่างพื้นฐานอันหนึ่งในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปวงกลมเป็นโลกัส (locus) ของจุดทุกจุดบนระนาบที่มีระยะห่างคงตัวกับจุดที่กำหนดอีกจุดหนึ่ง ระยะห่างนั้นเรียกว่ารัศมี และจุดที่กำหนดเรียกว่าจุดศูนย์กลาง สามจุดใดๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถวาดรูปวงกลมผ่านทั้งสามจุดได้เพียงวงเดียว เส้นรอบวง คือเส้นรอบรูปของรูปวงกลม ส่วนโค้ง (arc) คือส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันของเส้นรอบวง คอร์ด (chord) คือส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองบรรจบอยู่บนเส้นรอบวง เส้นผ่านศูนย์กลาง คือคอร์ดที่ลากผ่านจุดศูนย์กลาง มีความยาวเป็นสองเท่าของรัศมี และเป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม รูปวงกลมเป็นเส้นโค้ง (curve) แบบปิดที่แบ่งระนาบออกเป็นพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในรูปวงกลมเรียกว่า จาน (disk) รูปวงกลมเป็นกรณีพิเศษของรูปวงรีที่มีโฟกัส (focus) อยู่ที่จุดเดียวกันนั่นคือจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้รูปวงกลมยังเป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของทรงกรวย เป็นต้น.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและรูปวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว

ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

หาด

Pomerania Beach ''(Darss)'' ชายหาดในอังกฤษ หาด หรือ ชายหาด คือที่ลาดลงไปในน้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางน้ำ โดยมากเป็นเนินทราย มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอยู่เสมอ (transient feature) จึงเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (dynamic environment).

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและหาด · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติ

งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน. ธงชาติประจำประเทศต่างๆ ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่างๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลายๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด

งชาติหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด เป็นธงสหพันธรัฐอาณานิคมของหมู่เกาะลีเวิร.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและธงชาติหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแองกวิลลา

งชาติแองกวิลลา เป็นธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่ด้านปลายธงมีภาพตราแผ่นดินของแองกวิลลา ซึ่งเป็นรูปโล่แบ่งพื้นเป็นสีขาวตอนบน สีฟ้าตอนล่าง มีรูปปลาโลมาสีส้ม 3 ตัวขดกันเป็นกงล้อ โดยปลาแต่ละตัวนั้นหันหน้าเข้าหากัน หมายถึง มิตรภาพ ปัญญา และความเข้มแข็ง รูปตราแผ่นดินดังกล่าวนี้มาจากธงชาติของแองกวิลลาในช่วงประกาศแยกตัวเป็นเอกราชในปี..

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและธงชาติแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิส

งชาติเซนต์คิตส์และเนวิส เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในมีแถบสีดำขอบสีเหลือง ภายในมีดาวห้าแฉกสีขาว 2 ดวง พาดผ่านจากมุมบนด้านปลายธงมายังมุมล่างด้านคันธง แบ่งพื้นธงออกเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูป รูปหนึ่งอยู่ด้านคันธง มีพื้นสีเขียว ส่วนอีกรูปอยู่ด้านปลายธง พื้นสีแดง ธงนี้เป็นที่ชนะเลิศในการประกวดออกแบบธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2526 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน สีที่ใช้ในธงนี้เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา ในธงนี้ สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช สีดำหมายถึงประชาชนในประเทศสืบเชื้อสายจากชนในทวีปแอฟริกา สีเหลืองคือแสงของดวงอาทิตย์ และดาวสีขาว 2 ดวง เป็นตัวแทนของความหวังและอิสร.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (Cristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (Cristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว "Christopher Columbus." Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (แก้ความกำกวม)

ปาล์ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและปาล์ม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา เป็นชื่ออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตั้งอยู่ในแถบทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยดินแดนของแองกวิลลาและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสในปัจจุบัน รัฐดังกล่าวนี้ต่อมาได้กลายเป็นมณฑลหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดิสในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) จนกระทั่งเมื่อสหพันธรัฐดังกล่าวได้ล้มเลิกลงในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาก็ได้เป็นประเทศอิสระ ซึ่งได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อรวมตัวเป็นสหภาพกับประเทศอื่นอยู่หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลา ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองด้านกิจการภายในอย่างเต็มที่จากสหราชอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 แองกวิลลาได้พยายามก่อกบฏเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจนสำเร็จแต่ก็เป็นประเทศเอกราชได้เพียงไม่นานนัก ถึงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) แองกวิลลาจึงแยกตัวจากเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาอย่างเป็นทางการโดยยังคงสถานะเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน ส่วนดินแดนที่เหลือภายหลังก็ได้รับเอกราชและสถาปนาเป็นประเทศเอกราชในชื่อเซนต์คิตส์และเนวิสเมื่อปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปอเมริกาเหนือ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เซนต์คิสต์และเนวิส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์แองกวิลลา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2526 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์คิตส์

กาะเซนต์คิตส์ (Saint Kitts) หรือ เกาะเซนต์คริสโตเฟอร์ (Saint Christopher Island) เป็นเกาะในเวสต์อินดีส์ ของประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ฝั่งตะวันตกของเกาะติดกับทะเลแคริบเบียน ส่วนชายฝั่งตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีเวิร์ด ในเลสเซอร์แอนทิลลีส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 2,100 กม.

ใหม่!!: ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาและเซนต์คิตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »