โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)

ดัชนี ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)

ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา) มีนามเดิมว่า แก้ว อภัยวงศ์ (เกิด: 5 มกราคม พ.ศ. 2396 — ถึงแก่อนิจกรรม: 15 กันยายน พ.ศ. 2473) บุตรีของพระสุพรรณพิศาล (กอง อภัยวงศ์) บุตรชายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน อภัยวงศ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดพระตะบองคนแรก อนึ่งท้าวศรีสุนทรนาฏเป็นน้องสาวของเจ้าจอมมารดาเอี่ยมบุษบา พระชายาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (ซึ่งเจ้าจอมมารดาเอี่ยมบุษบาเป็นทวดในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ) ทั้งนี้ท้าวศรีสุนทรนาฏยังเป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6.

24 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)พระตะบองพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีกรุงเทพมหานครส.พลายน้อยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สยามจังหวัดพระตะบองจตุตถจุลจอมเกล้าทำเนียบรัฐบาลไทยทุติยจุลจอมเกล้าตติยจุลจอมเกล้าเล็ก บุนนาคเหรียญรัตนาภรณ์เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร

ระบาทสมเด็จพระนโรดม (ព្រះបាទនរោត្តម, พฺระบาทนโรตฺตม "พระบาทนโรดม") หรือ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ หรือ นักองค์ราชาวดี (អង្គ រាជាវតី, องคฺราชาวดี "องค์ราชาวดี") เสด็จพระราชสมภพเมี่อ15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2377 ที่อังกอร์โบเร (เสียมราฐ) และเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2447 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์) กษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อมาซึ่งทรงขึ้นครองราชย์เมี่อ..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ) (31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555)  พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดม สีหมุนี และดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา) ในท้ายสุด พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices) กล่าวคือ เป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย ทั้งนี้พระองค์เป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี ค.ศ. 1975–1976.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)

ระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนสุดท้าย กับ คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์ (อภัยภูเบศร) พระยาอภัยภูเบศร เป็นพระชนกในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ และเป็นขรัวตาของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)

มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) อดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) · ดูเพิ่มเติม »

พระตะบอง

ระตะบอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระตะบอง · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (15 เมษายน พ.ศ. 2448 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ บุตรีของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ พระองค์ได้ให้ประสูติการแก่พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แต่หลังจากประสูติพระเจ้าลูกเธอได้เพียงหนึ่งวัน พระราชสวามีได้สวรรคตลง พระองค์และพระธิดาจึงได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักรกว่า 20 ปี ภายหลังจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยโดยพำนักในวังรื่นฤดี เป็นการถาวรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ส.พลายน้อย

.พลายน้อย เป็นนามปากกาที่รู้จักกันดีและใช้อย่างแพร่หลายของ สมบัติ พลายน้อย เป็นนักเขียนสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคมไทยด้านต่าง ๆ ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ในปี พ.ศ. 2553 เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดประดู่ทรงธรรม มัธยมศึกษาที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และประกาศนียบัตรวิชาครูพิเศษประถม (พ.ป.) รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนสรรพากรและเปลี่ยนอาชีพไปรับราชการครูเป็นเวลา 5 ปี มีความสนใจในงานด้านการเขียนมาตั้งแต่ครั้งเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยได้สมัครเรียนวิชาการประพันธ์และการหนังสือพิมพ์ทางไปรษณีย์ของ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร จึงงานเริ่มเขียนอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาได้รับการชวนจาก อ.เปลื้อง มาทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ มีผลงานเขียน ประเภทบทความ บทละคร สารคดี และเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ได้จัดรายการวิทยุศึกษาไปพร้อม ๆ กันด้วย เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และเอกสารสิ่งพิมพ์ กองส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเป็นบรรณาธิการวารสารวัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ 2 ปี ได้ลาออกจากราชการ เพื่อเขียนหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว ถือเป็นนักเขียนที่มีความสามารถเขียนหนังสือได้หลายประเภท ปัจจุบันมีงานเขียนรวมเล่มแล้ว ประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนประเภทสารคดี นิทาน ชีวประวัติบุคคลสำคัญ สารานุกรม และปกิณกะอื่น ๆ จำนวนมาก อาทิ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์, พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย, สารคดีน่ารู้สารพัดนึก, เล่าเรื่องบางกอก, เล่าเรื่องพม่ารามัญ, สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางจงกล พลายน้อย มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 1 คน.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และส.พลายน้อย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และสยาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระตะบอง

ระตะบอง หรือ บัตฎ็อมบอง (បាត់ដំបង แปลว่า "ตะบองหาย") เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีเขตติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว และจันทบุรี ประเทศไทย พื้นที่นี้อดีตเคยเป็นจังหวัดพระตะบองในมณฑลบูรพาของสยาม.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และจังหวัดพระตะบอง · ดูเพิ่มเติม »

จตุตถจุลจอมเกล้า

ตุตถจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และจตุตถจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบรัฐบาลไทย

ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 44 ตารางว.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และทำเนียบรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทุติยจุลจอมเกล้า

ทุติยจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า ท.. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 250 สำรับ และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 100 สำรับ โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 18 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยเท่านั้น.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และทุติยจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ตติยจุลจอมเกล้า

วงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น'''ตติยจุลจอมเกล้า''' ฝ่ายหน้า ตติยจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า ต..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และตติยจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

เล็ก บุนนาค

ณเล็ก บุนนาค เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา) และเป็นพระมารดาในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเล็ก บุนนาค · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญรัตนาภรณ์

หรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งส่วนราชการและส่วนพระองค์ เดิมชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 เหรียญรัตนาภรณ์ มีลำดับชั้นทั้งหมด 5ชั้น มีหลักเกณฑ์ในการรับพระราชทานดังนี้ ชั้นที่ 1และ 2 มักจะพระราชทานให้ พระราชวงศ์, ขุนนางข้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิดและทรงสนิทสนมเป็นพิเศษ, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี ฯลฯ ชั้นที่ 3 และ 4 พระราชทานให้ ขุนนางช้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิด, ข้าราชบริพารที่ทรงสนิทสนม, พระอนุวงศ์และราชนิกุล ฯลฯ ชั้นที่ 5 พระราชทานให้ ผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งส่วนราชการหรือส่วนพระองค์, ผู้ที่สร้างชื่อเสียงคุณงามความดีให้กับประเทศ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยส่วนพระองค์ บุคคลที่มียศตำแหน่งตามที่ระบุอาจได้รับพระราชทานชั้นที่สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเหรียญรัตนาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

ลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก นายพลเสือป่า เจ้าพระยารามราฆพ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510) อดีตองคมนตรี อดีตสมุหราชองครักษ์ อดีตสมุหพระราชมนเทียร อดีตประธานกรรมการพระราชสำนัก อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ และ อดีตนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัม.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) (พ.ศ. 2371 - พ.ศ. 2431) มีนามเดิมว่า วร หรือ วอน เป็นบุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ (จาด) ท่านเริ่มรับราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และเป็นอุปทูตติดตามพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ราชทูต ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2403 ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก และเป็นราชทูต ไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. 2409 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม ศักดินา 10,000 เมื่อ พ.ศ. 2412 ท่านดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เป็นเวลา 19 ปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2431 บุคคลทั่วไปออกนามเรียกเป็นการสามัญว่า “เจ้าคุณทหาร” หรือ “เจ้าคุณกลาโหม” และชื่อเรียกนี้ก็กลายมาเป็นชื่อของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในเวลาต่อมา เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 65 คน โดยบุตรธิดาที่รับราชการในตำแหน่งสำคัญ เช่น.

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)

้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) หรือ พระยายมราช (แบน) เป็นแม่ทัพคนหนึ่งในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีพระบรมราชโองการสั่งยกทัพไปช่วยเขมรเพื่อป้องกันการรุกรานจากญวน โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสรยศเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งได้ขอตัวพระยายมราช (แบน) ไปด้วย ด้วยเป็นนายทหารฝีมือดี เมื่อเสด็จนำกองทัพไปถึงเมืองกัมพูชาแล้ว พระยาสรรค์ก่อกบฏขึ้นในกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบนำทัพกลับเพื่อจัดการกบฏ แต่ทางกัมพูชานี้ได้ทิ้งไว้ให้พระยายมราช (แบน) เป็นผู้ดูแล ไม่นานนัก เมื่อเสด็จมาถึงและได้ปราบดาภิเษกเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าแล้ว ส่วนพระยายมราช (แบน) ก็ติดราชการอยู่ที่เมืองกัมพูชาอยู่ ต่อมา นักองค์เอง เจ้านายฝ่ายเขมร ในเวลานั้นอายุเพียง ๕ ขวบ เป็นผู้มีสิทธิ์ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเขมร พระยายมราช (แบน) คิดว่าหากปล่อยไว้คงเกิดการฆ่าฟันขึ้นอีก จึงให้พระยาเขมรและขุนนางฝ่ายไทยคุมตัวนักองค์เองขึ้นมาทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าที่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็ได้ทรงรับนักองค์เองเป็นราชบุตรบุญธรรม แล้วมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เลื่อนยศของพระยายมราช (แบน) เป็น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ได้เป็นผู้ปกครองเขมร และถิอเป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์" และเมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตระกูลอภัยวงศ์ต่อว่า ได้ปกครองเมืองในประเทศกัมพูชาเรื่อยมา โดยมีเจ้าเมืองผู้ปกครองพระตะบองคนสุดท้าย คือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ตอนนั้นยังไม่มีนามสกุล โดยในช่วงกลางสมัยรัชกาล ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดประเทศกัมพูชา แล้วเรียกร้องให้ไทยคืนดินแดนที่ไทยได้มาจากกัมพูชาให้แก่กัมพูชาเสีย ซึ่งความจริง คือ ให้แก่ฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชา ในที่สุดไทยต้องยอมเสียพระตะบอง, เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส ทำให้คนไทยที่อยู่ที่นั่นจำนวนมาก ต้องเลือกว่าจะอยู่หรือจะกลับ ถ้าอยู่ก็ต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยอีกต่อไปแล้ว เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์จึงได้ตัดสินใจอพยพครอบครัว พาลูกเมีย ขนของด้วยเกวียนเป็นร้อย ๆ เล่ม ช้าง, ม้าอีกมากมาย เดินทางรอนแรมผ่านป่าทึบมาหลายวัน จากพระตะบองกลับประเทศไทย โดยเดินทางเข้าทางเมืองปราจีนบุรี จึงได้พักผู้คนบริวารและพาหนะที่นี่ ไม่ได้พาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะที่กรุงเทพฯไม่มีราชการอะไรที่จะต้องเข้าไป ทั้ง ๆ ที่ตัวท่านก็มีบ้านอยู่ที่กรุงเทพฯ แถวสะพานยศเส ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิม จากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์เห็นว่า ในการเสด็จครั้งนั้นไม่มีสถานที่เหมาะสมที่จะใช้ รับเสด็จ จึงได้สร้างตึกใหญ่ขึ้นภายในบริเวณหมู่เรือนที่พักของท่านขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มาในปี..

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

รื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao) สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ".

ใหม่!!: ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา)และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »