โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สเตปป์

ดัชนี สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

42 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนภูมิศาสตร์ภูมิอากาศมหาสมุทรอาร์กติกรัฐบริติชโคลัมเบียรัฐวอชิงตันรัฐแคลิฟอร์เนียละติจูดสหรัฐหญ้าอานาโตเลียทวีปยุโรปทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียทะเลทรายสะฮาราทะเลทรายธาร์ที่ราบพันโนเนียซาราโกซาซาเฮลประเทศยูเครนประเทศรัสเซียประเทศสเปนประเทศออสเตรเลียประเทศอุซเบกิสถานประเทศฮังการีประเทศคาซัคสถานประเทศตุรกีประเทศนิวซีแลนด์ประเทศแคนาดาประเทศเติร์กเมนิสถานปาตาโกเนียแคว้นปกครองตนเองซิซิลีไม้พุ่มไทกาเกาะใต้เอเชียกลางเอเชียใต้เทือกเขายูรัลเทือกเขาอัลไตเทียนชาน

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: สเตปป์และบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

ใหม่!!: สเตปป์และการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: สเตปป์และภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: สเตปป์และภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: สเตปป์และมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริติชโคลัมเบีย

รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.

ใหม่!!: สเตปป์และรัฐบริติชโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวอชิงตัน

รัฐวอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในวอชิงตันมีธุรกิจชั้นนำของโลกหลายบริษัทได้แก่ โบอิง (ปัจจุบันย้ายไปที่ รัฐอิลลินอยส์) ไมโครซอฟท์ แอมะซอน.คอม นินเทนโดอเมริกา และเศรษฐกิจอื่นได้แก่ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การทำเหมืองแร่ ป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ ถึงแม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐฯ อยู่ทางตะวันออกของประเทศ และไม่ได้อยู่ในรัฐวอชิงตัน ในภาพยนตร์เรื่อง Sleepless in seattle ก็สร้างในเมือง ซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน.

ใหม่!!: สเตปป์และรัฐวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: สเตปป์และรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: สเตปป์และละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สเตปป์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้า

หญ้า เป็นพืชล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล ในชั้น Liliopsida วงศ์ Poaceae หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.) หญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ธูปฤาษี มีพืชชนิดนี้ประมาณ 600 สกุล และมีประมาณ 10,000 ชนิด มีการประเมินกันว่าหญ้าเป็นพืชที่ปกคลุมผิวโลกกว่า 20% ของพืชทั้งหมดบนโลก พืชในวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจมนุษย์ รวมไปถึง ใช้เป็นสนามหญ้า, อาหารหลักที่ปลูกทั่วโลก, และไม้ไผ่ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างในเอเชีย แต่บางชนิดจัดเป็นวัชพืช ปัจจุบัน หญ้าเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่นหญ้ามิสแคนทัส และ หญ้ามิสแคนทัสช้าง พืชในวงศ์หญ้าที่เรารู้จักดี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ้ต ข้าวไรย์ ลูกเดือย หญ้าไรย์ อ้อย ไผ่ ตะไคร้ เป็นต้น.

ใหม่!!: สเตปป์และหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สเตปป์และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สเตปป์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: สเตปป์และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: สเตปป์และทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: สเตปป์และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: สเตปป์และทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายธาร์

ทะเลทรายธาร์ (ฮินดี:थर मरुस्थल, صحراےَ تھر.; Thar Desert) หรือเรียกอีกชื่อว่า ทะเลทรายเกรตอินเดียน (Great Indian Desert) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและปากีสถาน มีพื้นที่มากกว่า 200,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สเตปป์และทะเลทรายธาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบพันโนเนีย

แผนที่แสดงที่ราบพันโนเนีย ที่ราบพันโนเนีย (Pannonian Plain) เป็นที่ราบในยุโรปกลางที่เกิดขึ้นเมื่อทะเลพันโนเนียในสมัยไพลโอซีนเหือดแห้งลง ที่ราบแพนโนเนียเป็นธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงของระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย (Alpide belt) โดยมีแม่น้ำดานูบแบ่งที่ราบออกเป็นสองส่วน ที่ราบส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบฮังการีใหญ่ (Great Hungarian Plain) ทางตอนใต้และทางตะวันออก และที่ราบฮังการีน้อย (Little Hungarian Plain) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: สเตปป์และที่ราบพันโนเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาราโกซา

แม่น้ำเอโบรขณะไหลผ่านเมืองซาราโกซา ซาราโกซา (Zaragoza) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาราโกซาและแคว้นอารากอน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเอโบรและแควสาขาอูเอร์บาและกาเยโก ในหุบเขาตอนกลางของแคว้นซึ่งมีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ทะเลทราย ("โลสโมเนโกรส") ป่าหนาทึบ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทิวเขา ข้อมูลในปี ค.ศ. 2007 จากสภาเมืองซาราโกซา เมืองนี้มีประชากร 667,034 คนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งแคว้น ซาราโกซาตั้งอยู่ที่ความสูง 199 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางที่จะไปยังมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย บิลบาโอ และตูลูซ (ประเทศฝรั่งเศส) โดยเมืองทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ห่างจากซาราโกซาประมาณ 300 กิโลเมตร บริเวณเมืองนี้เคยเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อว่า ซัลดูบา (Salduba) เป็นชื่อในภาษาพิวนิกของกองทัพคาร์เทจซึ่งตั้งอยู่บนซากหมู่บ้านชาวเคลติเบเรียนเดิม จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมื่อกองทัพโรมันได้เข้ารุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย บริเวณนี้จึงตกอยู่ในการดูแลของกองรักษาด่านซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิออกุสตุส และกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า ไกซาเรากุสตา (Caesaraugusta) มีฐานะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับได้เข้ายึดเมืองนี้และตั้งชื่อใหม่ว่า ซารากุสตา (Saraqusta; سرقسطة) ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา (ราชวงศ์อุไมยัด) และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นเมืองอาหรับที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของคาบสมุทร จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซาราโกซาเป็นหนึ่งในกลุ่มราชอาณาจักรไตฟา (รัฐมุสลิมหลายสิบรัฐที่แตกออกมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรกอร์โดบา) และถูกชาวอาหรับอีกกลุ่มจากจักรวรรดิอัลโมราวิดเข้าครอบครอง ในที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวอารากอน (นับถือศาสนาคริสต์) ก็สามารถยึดเมืองนี้ได้จากพวกอัลโมราวิดและได้ตั้งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอารากอน ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียที่จะพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อม.

ใหม่!!: สเตปป์และซาราโกซา · ดูเพิ่มเติม »

ซาเฮล

ภาพแสดงบริเวณซาเฮล มีความยาวราว 1,000 กม. พาดระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลแดง ซาเฮล (Sahel) เป็นเขตรอยต่อ บริเวณกึ่งทะเลทราย บริเวณทะเลทรายสะฮารา แบ่งทวีปแอฟริกาเป็นเหนือและใต้ ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนทะเลแดง ซาเฮลเป็นภาษาอาหรับ มีความหมายว่า ชายหาด พื้นที่ของซาเฮลครอบคลุมตั้งแต่ (ไล่จากตะวันตกสู่ตะวันออก) ประเทศเซเนกัล, ทางใต้ของประเทศมอริเตเนีย, ประเทศมาลี, ประเทศบูร์กินาฟาโซ, ทางตอนใต้ของประเทศแอลจีเรีย, ประเทศไนเจอร์, ทางตอนเหนือของประเทศไนจีเรีย, ประเทศชาด, ทางตอนเหนือของประเทศแคเมอรูน, ประเทศซูดาน และประเทศเอริเทรีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปแอฟริกา.

ใหม่!!: สเตปป์และซาเฮล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุซเบกิสถาน

อุซเบกิสถาน (Uzbekistan; O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan; O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเติร์กเมนิสถาน

ติร์กเมนิสถาน (Türkmenistan) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน เติร์กเมนิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สเตปป์และประเทศเติร์กเมนิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ปาตาโกเนีย

แผนที่ในปี ค.ศ. 1775 ปาตาโกเนีย (Patagonia) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศอาร์เจนตินาและชิลี ประกอบด้วยบริเวณทางใต้ของเทือกเขาแอนดีส ไปถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และส่วนตะวันออกของเทือกเขา ไปถึงหุบเขาตามแม่น้ำโคโลราโด ไปทางใต้จนถึงเมืองการ์เมนเดปาตาโกเนส บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนทางตะวันตกรวมถึงเมืองบัลดีเบียไปจนถึงกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก คำว่า ปาตาโกเนีย มาจากคำว่า ปาตากอน (patagón)Antonio Pigafetta, Relazione del primo viaggio intorno al mondo, 1524: "Il capitano generale nominò questi popoli Patagoni." The original word would probably be in Magellan's native Portuguese (patagão) or the Spanish of his men (patagón).

ใหม่!!: สเตปป์และปาตาโกเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: สเตปป์และแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

ไม้พุ่ม

ต้นไม้กวาด ไม้ดอกที่ออกดอกเต็มต้นในฤดูใบไม้ผลิในเขตอบอุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้พุ่ม บางครั้งเรียก ไม้กอ เป็นคำเทคนิคที่ใช้ในสาขาวิชาพืชสวนมากกว่าสาขาพฤกษศาสตร์ที่เข้มงวดที่หมายไปถึงประเภทของไม้มีแก่นที่สัณบานแตกต่างไปจากไม้ต้นเนื่องจากการมีหลายลำต้นแตกขยายเป็นพุ่มและเตี้ย ปกติจะเตี้ยกว่า 5-6 เมตร มีต้นไม้หลายชนิดที่จะจำแนกเป็นไม้พุ่มก็ได้หรือไม้ต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการขึ้นของมัน รวมทั้งการตัดแต่งโดยจงใจของมนุษย์ ต้นเฟื่องฟ้าที่จำแนกเป็นไม้พุ่ม บางครั้งและบางพันธุ์ตามสัณฐานธรรมชาติอาจจำแนกเป็นไม้เลื้อยได้เช่นกัน และยังสามารถตัดแต่งต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กเป็นไม้ประดับได้ด้วย ชุมชนพืชที่ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมอยู่กันเป็นหมู่ เรียกว่า ละเมาะ ถ้ามีมาก เรียกป่าละเมาะ บริเวณไม้พุ่มที่ปลูกรวมเป็นที่เฉพาะไว้ในอุทยานหรือสวนเพื่อการจัดแสดงเรียกว่าสวนไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มถูกตัดแต่งด้วยการขริบเป็น "ไม้ตัด" มันจะแตกกิ่งก้านและมีใบเล็กลงทำให้พุ่มใบแน่นขึ้น ไม้พุ่มหลายชนิดตอบสนองได้รวดเร็วต่อการตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านและใบใหม่ "การตัดแต่งหนัก" คือตัดถึงตอ จะทำให้ไม้พุ่มแตกกิ่งใหม่ที่ยาว ไม้พุ่มบางชนิดตอบสนองต่อการตัดแต่งพิเศษเพื่อแสดงลักษณะโครงสร้างที่สวนงามได้ดี ไม้พุ่มที่ใช้ในงานทำสวนทั่วไปมักเป็นประเภทไม้ใบกว้าง แต่ที่เป็นไม้ใบรูปเข็มก็มี โดยเฉพาะในประเทศเขตอบอุ่น เช่น สนเขาขนาดเล็ก ไม้พุ่มมีทั้งที่เป็นไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใ.

ใหม่!!: สเตปป์และไม้พุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ไทกา

ไทกา (taiga; тайга́) หรือป่าเขตหนาว (boreal forest) หรือป่าหิมะ (snow forest) เป็นชีวนิเวศซึ่งมีลักษณะเป็นป่าสนเขาที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยต้นไพน์ สพรูสและลาตช์ ไทกาเป็นชีวนิเวศบนดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในทวีปอเมริกา ไทกากินพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคนาดาและรัฐอะแลสกาในแผ่นดิน ตลอดจนจุดเหนือสุดของสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีป (รัฐมินนิโซตาตอนเหนือผ่านคาบสมุทรอัปเปอร์ของรัฐมิชิแกนและอัปสเตดนิวยอร์กถึงรัฐนิวอิงแลนด์ตอนเหนือ) ซึ่งเรียก นอร์ทวูดส์ ในยูเรเซีย ไทกากินพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ส่วนมาก พื้นที่ราบและชายฝั่งบางส่วนของไอซ์แลนด์ พื้นที่กว้างใหญ่ของประเทศรัสเซียตั้งแต่คารีเลียทางตะวันตกถึงมหาสมุทรแปซิฟิก (ซึ่งรวมไซบีเรียไปมาก) และบางพื้นที่ของประเทศคาซัคสถานตอนเหนือ มองโกเลียตอนเหนือ และประเทศญี่ปุ่นตอนเหนือ (บนเกาะฮกไกโด) ทว่า ไม้ต้นสามสปีชีส์หลัก ระยะเวลาของฤดูเติบโตและอุณหภูมิฤดูร้อนแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ไทกาทวีปอเมริกาเหนือส่วนใหญ่เป็นสพรูส ไทกาสแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ประกอบด้วยสพรูส ไพน์และเบิร์ชผสมกัน ไทการัสเซียมีสพรูส ไพน์และลาตช์ขึ้นอยู่กับภูมิภาค ขณะที่ไทกาไซบีเรียตะวันออกเป็นป่าลาตช์ขนาดใหญ่ หมวดหมู่:ไทกาและป่าเขตหนาว หมวดหมู่:ชีวนิเวศบนดิน หมวดหมู่:ป่า หมวดหมู่:การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน.

ใหม่!!: สเตปป์และไทกา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะใต้

กาะใต้ หรือ เซาท์ไอแลนด์ (South Island) เป็นเกาะในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งใน 2 เกาะใหญ่ของประเทศ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในประเทศ แบ่งกับเกาะเหนือโดยช่องแคบคุก มีพื้นที่ 151,215 ตร.กม.

ใหม่!!: สเตปป์และเกาะใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: สเตปป์และเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: สเตปป์และเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขายูรัล

เทือกเขายูรัล เทือกเขายูรัล (Ural Mountains; Ура́льские го́ры; Урал тауҙары) เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องในแนวทิศเหนือ-ใต้ในประเทศรัสเซียและประเทศคาซัคสถาน เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย เทือกเขายูรัลเป็นเทือกเขาที่ประกอบด้วยหินยุคเก่า ซึ่งผ่านกระบวนการกัดกร่อนและการพังทลายมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเนินหินเขาเตี้ย มีความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยูรัล ยูรัล ยูรัล ยูรัล.

ใหม่!!: สเตปป์และเทือกเขายูรัล · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาอัลไต

อดเขาเบลูชา แห่งเทือกเขาอัลไต เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) แม่น้ำอ็อบ (Ob) และแม่น้ำเยนิเซ (Yenisei) ด้วย ส่วนปลายทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาสายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อย ๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกด "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh), อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai) เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง.

ใหม่!!: สเตปป์และเทือกเขาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

เทียนชาน

ทียนชาน (Tian Shan หรือ Tien Shan) เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง ยอดที่สูงที่สุดคือ เจงิชโชกูซู ชื่อท้องถิ่นของเทือกเขานี้ได้แก่: 天山 (ภาษาจีน), Хан Тәңірі (ภาษาคาซัค; Khan Tengri; ตรงตัว "Empyrean God"/"Heavenly Mountains"), Теңир-Тоо (ภาษาคีร์กีซ; Tengir-Too; ตรงตัว "Heavenly Mountains"/"เทือกเขาสวรรค์"/"Mountains of Tengri"), Тэнгэр уул (ภาษามองโกเลีย; "Tenger Uul";"Heavenly Mountains") และ تەڭرى تاغ (ภาษาอุยกูร์; Tengri Tagh หรือ Tangritah) ภาพเทือกเขาเทียนชานในอวกาศเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 กับทะเลสาบอือซึกในคีร์กีซสถานทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: สเตปป์และเทียนชาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SteppeSteppesพื้นที่กึ่งทะเลทรายทุ่งสเตปป์ทุ่งหญ้าสเตปป์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »