โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ที่ราบพันโนเนีย

ดัชนี ที่ราบพันโนเนีย

แผนที่แสดงที่ราบพันโนเนีย ที่ราบพันโนเนีย (Pannonian Plain) เป็นที่ราบในยุโรปกลางที่เกิดขึ้นเมื่อทะเลพันโนเนียในสมัยไพลโอซีนเหือดแห้งลง ที่ราบแพนโนเนียเป็นธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงของระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย (Alpide belt) โดยมีแม่น้ำดานูบแบ่งที่ราบออกเป็นสองส่วน ที่ราบส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบฮังการีใหญ่ (Great Hungarian Plain) ทางตอนใต้และทางตะวันออก และที่ราบฮังการีน้อย (Little Hungarian Plain) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ.

5 ความสัมพันธ์: ยุโรปกลางสมัยไพลโอซีนธรณีสัณฐานวิทยาที่ราบแม่น้ำดานูบ

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: ที่ราบพันโนเนียและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: ที่ราบพันโนเนียและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีสัณฐานวิทยา

รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.

ใหม่!!: ที่ราบพันโนเนียและธรณีสัณฐานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบ

ูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกวางใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้นา แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้ ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว.

ใหม่!!: ที่ราบพันโนเนียและที่ราบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: ที่ราบพันโนเนียและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pannonian Plainที่ราบแพนโนเนียที่ราบแพนโนเนียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »